ECC : โอกาสและความหวังของ คสช.

ECC : โอกาสและความหวังของ คสช.

ECC : โอกาสและความหวังของ คสช.

 

โครงการขนาดยักษ์ สมัยรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เกิดในภาคตะวันออก ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 (2525-2529) ด้วยการทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาลสร้าง “อีสเทิร์นซีบอร์ด” หรือ โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก (Eastern Seaboard Development Program : ESB)    

ผลจากการเกิดขึ้นของ ESB ทำให้พื้นที่เป้าหมายมากถึงกว่า 8 ล้านไร่ ครอบคลุมเขตแหลมฉบัง จ.ชลบุรี, มาบตาพุด จ.ระยอง และพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมของ จ.ฉะเชิงเทรา ได้รับอานิสงส์การโครงการขนาดยั กษ์ไปเต็มๆ 

แม้ว่ารัฐบาลชุดต่อๆ มา จะไม่ได้ให้น้ำหนักความสำคัญอะไรกับโครงการเมื่อ 35 ปีก่อนมากนัก ทว่าพื้นที่ในโครงการ ESB อันเป็นเขตอุตสาหกรรมขนาดหนักและการส่งออก ระดับ “พระเอกตัวจริง”  ก็เติบโตอย่างกล้าแกร่งและเข้มแข็ง สร้างตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจระดับประเทศอย่างต่อเนื่อง

แต่ตอนนี้ทุกอย่างกำลังเปลี่ยนไป รัฐบาล คสช. ภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กำลังเดินหน้าสร้างภาคต่อของ ESB ด้วยโครงการ ECC (Eastern Economic Corridor) หรือ โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ด้วยประมาณที่สูงถึง 1.5 ล้านล้านบาท ตลอดช่วง 5 ปีนับจากนี้

กล่าวกันว่า… ECC จะเป็น “ไฮไลต์”  ที่จะช่วยต่อท่อลมหายใจให้กับเศรษฐกิจไทยทั้งระบบ นั่นเพราะ “ทำเลที่ตั้ง” ของพื้นที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ แถมยังเชื่อมต่อกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งงานและวัตถุดิบ รวมไปถึงการติดกับอ่าวไทย ซึ่งเป็นช่องทางเข้าออกสำคัญในการส่งสินค้าทางทะเล

ขยายความให้เห็นภาพชัดๆ เริ่มจากพื้นที่เมืองหลวงไปยังภาคตะวันออก ที่นอกจากจะมีเส้นทางหลักทั้ง ถ.สุขุมวิท สายบางนา-ตราด, ทางด่วนลอยฟ้าบางนา-ชลบุรี และเส้นทางมอเตอร์เวย์ ยังจะมีเส้นทางด่วนต่อเนื่องไปยัง จ.ระยอง แต่สำคัญกว่านั้น น่าจะเป็นโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบินหลักของไทย นั่นคือ…“ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ -อู่ตะเภา”

ขณะที่เส้นทางจากภาคอีสานถึงตะวันออก ต่อเชื่อมจาก จ.นครราชสีมา ซึ่งถูกคาดหมายว่าจะได้รั บการยกระดับให้เป็น “เมืองหลวงแห่งที่ 2” กลายๆ เนื่องด้วยขนาดพื้นที่ที่กว้างขวาง จำนวนประชากรที่มีมากเป็นอันดับสองรองจากกรุงเทพฯ และเป็นจุดเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูง ทั้งจากเส้นทาง “จีน-ลาว-ไทย” ผ่านมาทาง จ.หนองคาย เชื่อมต่อออกไปอีกถึง 3 จุดในอนาคตอันใกล้ นั่นคือ…เส้นทางนครราชสีมา-กรุงเทพฯ เส้นทางนครราชสีมา-เชียงใหม่ และเส้นทางนครราชสีมา-ชลบุรี

โดยเฉพาะเส้นหลัง จะยิ่งต่อเติมเสริมความแข็งแกร่งให้กับภาคตะวันออก และโครงการ ECC  ยิ่งขึ้น

ขณะที่แนวทางการพัฒนาภายในพื้นที่ภาคตะวันออกเอง หลายโครงการก็รุดหน้าไปไกลมาก ไม่ว่าจะเป็นการขยายถนน การสร้างเส้นทางสายใหม่ๆ การวางโครงการระบบสาธารณูปโภคต่างๆ และที่น่าสนใจมากที่สุด คงไม่พ้นโครงการยกระดับ “สนามบินนานาชาติแห่งที่ 3” หรือ อู่ตะเภา ที่จะทำให้นักท่องเที่ยว ทั้งจากภาคอื่นๆ ของประเทศ และจากต่างประเทศ สามารถ “บินตรง” สู่ภาคตะวันออก ได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องผ่านกรุงเทพฯ เช่นที่เป็นอยู่

ไม่เพียงแค่นั้น พื้นที่ทะเลอ่าวไทย ยังได้รับการยกระดับและพัฒนาให้เป็น “เส้นทางการสัญจรสายใหม่” ระหว่างภาคตะวันออก กับตอนล่างของภาคกลาง หรือจะพูดให้เห็นภาพชัด ก็คือ ตอนบนของพื้นที่ภาคใต้ ตั้งแต่เขต จ.เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งอนาคต เส้นทางสายนี้…อาจไปได้ไกลกว่านั้น จนถึงหมู่เกาะแห่งการท่องเที่ยวสำคัญๆ ของภาคใต้ อย่าง เกาะสมุย และเกาะอื่นๆ

 

ครอบคลุมครบทั้งทางถนน ทางราง ทางอากาศ และทางน้ำ

อย่างไรก็ดี การลงทุนรอบใหม่นี้ อาจแตกต่างไปจากเมื่อ 35 ปี เนื่องเพราะความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีเป็นสำคัญนั่นเอง เพราะ ECC ถูกคาดหวังให้เป็นพื้นที่รองรับอุตสาหกรรมใหม่ที่ใช้เทคโนโลยี ระดับสูง อันเป็นการความหวังใหม่ของไทยในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและดึงดูดการลงทุน ท่ามกลางความกังวลในหลายเรื่อง ทั้งความต่อเนื่อง ความพร้อม และสิ่งแวดล้อม

เหตุที่ รัฐบาล คสช. คาดหวังทั้งในเชิงเศรษฐกิจและการลงทุน รวมถึงด้านภาพลักษณ์กับ ECC สังเกตได้จากตลอดช่วงเวลาเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา เรามักจะได้เห็นและได้ยินคำ ECC ผ่านการเร่งประชาสัมพันธ์รูปแบบต่างๆ มากมาย ไม่เพียงแค่นั้น ในทุกๆ เวทีที่ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ เดินทางไปถึงไหน เขาก็มักจะพูดถึงแต่ ECC ตลอดเวลา

เรียกได้ว่า ECC คือ “เดิมพัน” สำคัญและสุดท้ายของ รัฐบาล คสช.กันแล้ว

สำหรับ ECC นี้ ครอบคลุม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ 5 กลุ่มอุตสาหกรรมเดิม คือ 1.อุตสาหกรรมยานยนต์ โดยการสนับสนุนการพัฒนาเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า 2.อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ โดยการผลิตระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในยานยนต์ อุปกรณ์โทรคมนาคม รวมถึงการออกแบบที่อยู่อาศัยอัจฉริยะ ซึ่งเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 3.การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพระดับสูง ผ่านการใช้เทคโนโลยีการ เกษตรขั้นสูงที่มีการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยและการลงทุนทางเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์

4.อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร โดยการวิจัยและผลิตอาหารเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่ใช้ โปรตีนทางเลือก เช่น โปรตีนเกษตร และ 5.อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยจัดระเบียบและส่งเสริมกิจกรรมหลาก หลายตามสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ สนับสนุนธุรกิจการฟื้นฟู ทางการแพทย์และศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพ ส่งเสริมศูนย์การแสดงสินค้าและนิทรรศการระดับนานาชาติ

และอีก 5 กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ ประกอบด้วย 1.อุตสาหกรรมการผลิตหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรมและชีวิตประจำวัน เช่น หุ่นยนต์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อาทิ การดำน้ำและการแพทย์ 2.อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ เน้นการพัฒนาศูนย์ซ่อมอากาศยานและฝึกอบรม ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางทางการบินของเอเชีย 3.อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร ให้มีโรงพยาบาลที่ทันสมัย การลงทุนในการผลิตยา อุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงการรักษาโรคทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ต/สมาร์ทโฟน

4.อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ โดยตั้งเป้าใช้จุดแข็งด้านการเกษตรใหญ่ที่สุดในอาเซียน พัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ เช่น ใช้ไบโอพลาสติกในการหีบห่อเพื่อการส่งออก และ5.อุตสาหกรรมดิจิทัล เช่น E-commerce, Digital Content, Data Center, Cloud Computing

ไม่ว่า ECC หรือ โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกจะเข้าใกล้ความสำเร็จเช่นที่ รัฐบาล คสช.ตั้งเป้า หมายไว้หรือไม่? กระนั้น ราคาที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ ก็ขยับตัวไป “ดักรอ” ปรากฏการณ์ECC ที่กำลังดึงดูดเม็ดเงินจำนวนมหาศาลถึง 1.5 ล้านล้านบาทในช่วง 5 ปีนับจากนี้กันไปแล้ว

You may also like

“รอยัล เกทเวย์”เปิดตัว”โอเกะ-โอเกะ” จับมือ“โลตัส”บุกตลาดน้ำอัดลม No Sugar

“รอยัล เ