“กระทรวง อว.”ควง”กองทุน ววน.”เดินหน้า บุกงาน ITB Berlin 2025 ชูนวัตกรรม บูมท่องเที่ยวไทยให้ปังโลก

“กระทรวง อว.”ควง”กองทุน ววน.”เดินหน้า บุกงาน ITB Berlin 2025 ชูนวัตกรรม บูมท่องเที่ยวไทยให้ปังโลก

“กระทรวง อว.”ควง”กองทุน ววน.”เดินหน้า

บุกงาน ITB Berlin 2025

ชูนวัตกรรม บูมท่องเที่ยวไทยให้ปังโลก

– “กระทรวง อว. กองทุน ววน. ยกทัพนวัตกรรมไทยบุก ITB Berlin 2025 จับมือเอกชน ปั้นท่องเที่ยวไทยให้ปังบนเวทีโลก!”

 – “ไทยโกอินเตอร์! กระทรวง อว. กองทุน ววน. ผสานพลังวิจัย – นวัตกรรม ดันอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยสู่สากลที่ ITB Berlin

 2025”

– “ITB Berlin 2025 จับตา! นวัตกรรมท่องเที่ยวไทย กระทรวง อว. กองทุน ววน. ผนึกเอกชน โชว์ศักยภาพไทยสู่สายตาโลก”

– “กระทรวง อว. กองทุน ววน. นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ร่วมงาน ITB Berlin 2025 ชู ววน. ผนึกกำลังนักวิจัย ภาคเอกชน หนุนท่องเที่ยวไทยสู่เวทีโลก”

กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วยกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) เตรียมพร้อมประกาศศักยภาพการท่องเที่ยวไทยอย่างยั่งยืนในเวทีโลก ด้วยการจับมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) คณะผู้วิจัย และเครือข่ายพันธมิตร เข้าร่วมงาน ITB Berlin 2025 มหกรรมท่องเที่ยวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เพื่อร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยผ่านการนำวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) มายกระดับขีดความสามารถของภาคธุรกิจร่วมกับภาครัฐ โดยมีเป้าหมายหลักคือการนำเสนอแนวคิด “การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์” (Carbon Neutral Tourism) และแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการเป็นจุดหมายปลายทางที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ผ่านผลงานวิจัยของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการเเข่งขันของประเทศ (บพข.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์

ศ.ดร.ปังปอนด์ รักอำนวยกิจ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านสังคมศาสตร์ คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) เผยว่า การพัฒนา Sustainable Tourism อย่างเป็นระบบ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาควิชาการ ภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อให้เกิดการนำองค์ความรู้และนวัตกรรมมาใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง งานวิจัยเป็นกุญแจสำคัญในการกำหนดมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติที่สามารถนำไปใช้ได้จริง ในมิติของกองทุน ววน. มีบทบาทสำคัญในการทำงานจากความต้องการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านการท่องเที่ยว เพื่อตอบโจทย์ความต้องการจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ผู้ประกอบการ และชุมชน เพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่ช่วยยกระดับการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการส่งเสริมภาคการท่องเที่ยวที่เป็นภาคอุตสาหกรรมและบริการที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจถึงร้อยละ 17 ของ GDP ทั้งนี้เป้าหมายสำคัญไม่ใช่เพียงการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเท่านั้น แต่ต้องเป็นการเติบโตที่สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ลดความเหลื่อมล้ำ และกระจายโอกาสอย่างทั่วถึง เพื่อให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติและแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน การเดินหน้าสู่การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนจึงเป็นหัวใจสำคัญ ที่จะทำให้ “การท่องเที่ยวไทย” ไม่เพียงโดดเด่นในระดับภูมิภาค แต่ยังสามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชน ลดความยากจนและความเหลื่อมล้ำ รวมถึงเป็นต้นแบบของการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืนในระดับสากล

ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวว่า การบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการ ทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ เป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ยั่งยืน งานวิจัยและนวัตกรรมจะช่วยสร้างมาตรฐาน Carbon Neutral Tourism และ Net Zero Tourism ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันสำคัญให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางของ Sustainable Tourism ในภูมิภาคเอเชีย และสามารถแข่งขันในระดับสากลได้อย่างมั่นคง ทั้งนี้ นักวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการเเข่งขันของประเทศ (บพข.) ภายใต้กองทุน ววน. ได้มีการขับเคลื่อนและผลักดันให้เกิดความร่วมมือระดับนานาชาติผ่าน MOU กับองค์กรชั้นนำ อาทิ Adventure Travel and Trade Association (ATTA) พัฒนาแพ็กเกจท่องเที่ยวเชิงผจญภัยที่สอดคล้องกับแนวทาง Carbon Neutral Tourism, EXO Foundation เสริมศักยภาพผู้ประกอบการไทยด้านการบริหารจัดการธุรกิจท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับมาตรฐานคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์, Planeterra ยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community-Based Tourism: CBT), The Travel Foundation แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้าน Marine Tourism & Coastal Sustainability

“โดยจากการเข้าร่วมครั้งนี้ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ประกอบการ กลุ่มสมาคม TEATA ทีมวิชาการ และคณะจากกระทรวงการท่องเที่ยวฯ โดยประเด็นสำคัญที่ถูกหยิบยกขึ้นมา คือ แนวทางการขับเคลื่อนการท่องเที่ยว วิถีใหม่แบบ Carbon Neutral Tourism ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยเฉพาะประเด็นเรื่องความเหลื่อมล้ำทางสังคม ซึ่งการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวที่ลดคาร์บอน ไม่เพียงช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังสามารถสร้างโอกาสให้กับชุมชนและกลุ่มคนที่ยังขาดโอกาสทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การผลักดันให้แนวทางนี้เกิดขึ้นได้จริง ยังต้องการการสนับสนุนจาก กองทุน ววน. รวมถึงเครือข่ายความร่วมมือในระดับนานาชาติ เพื่อให้สามารถพัฒนาระบบนิเวศทางการท่องเที่ยวที่สมดุลและยั่งยืน”

หนึ่งในไฮไลท์สำคัญของการหนุนเสริมงานวิจัยด้วย ววน. ในงาน ITB Berlin 2025 คือ การเสวนา “Thailand TOGETHER Net Zero การขับเคลื่อนการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศไทย” ซึ่งเป็นเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ และองค์กรระดับนานาชาติ เพื่อพัฒนา Carbon Neutral & Net Zero Tourism ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม การเสวนาครั้งนี้มีนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจากภาคส่วนต่างๆ ของประเทศไทย ได้แก่ รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ยีมิน มหาวิทยาลัยรามคำแหง ดร.ปาริชาติ สุนทรารักษ์ สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย นายนิพันธ์พงษ์ ชวนชื่น Asian Ecotourism Network: AEN และ Mr.Richard Peter Coordinator of Thailand THGETHER Net Zero ร่วมพูดคุยและแบ่งปันแนวทางปฏิบัติ ทั้งนี้ในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ให้ยั่งยืนของประเทศไทย จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน (โดยเฉพาะ SMEs และชุมชน) ภาควิชาการ และองค์กรในระดับภูมิภาคและนานาชาติ โดยมีเป้าหมายในการสร้างมาตรฐานที่วัดผลได้ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และส่งเสริม Zero-Waste Travel เพื่อให้ประเทศไทยเป็น Net Zero Tourism Destination ที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

ด้าน ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สกสว. และผู้ทรงคุณวุฒิ บพข. กล่าวว่า ปีนี้ กองทุน ววน. และ สกสว. ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อน Soft Power ไทย ผ่านแนวทาง Carbon Neutral towards Net Zero Tourism ซึ่งเป็นหัวใจของการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน และตอบโจทย์นักท่องเที่ยวรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการเดินทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดย บพข. มีการสนับสนุนการวิจัยที่มุ่งเน้นการบูรณาการความร่วมมือกับภาคเอกชน ผู้ประกอบการ เพื่อนำ Soft power ไทย ทั้งกลุ่มอาหาร/สุราพื้นบ้าน การแสดง/ดนตรี/แฟชั่น/ผ้า/ศิลปะการต่อสู้มวยไทย รวมทั้งการจัดงานเทศกาล มาผสมผสานเป็นประสบการณ์การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถเสนอขายได้จริง นับเป็นการสร้างคุณค่า และมูลค่าทางเศรษฐกิจ อาทิ การจัดทำ Gastronomy Tourism: ยกระดับอาหารไทยให้เป็นประสบการณ์การท่องเที่ยวที่สะท้อนเอกลักษณ์ท้องถิ่นและความยั่งยืน, Tourism for All: นำนวัตกรรมสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสร้างโปรแกรมท่องเที่ยวรองรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ เพื่อรองรับการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล, Rail Tourism ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยรถไฟ เพื่อสนับสนุนการเดินทางคาร์บอนต่ำด้วยการขนส่งสาธารณะและเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและมรดกทางธรรมชาติในแต่ละภูมิภาค ได้แก่

ภาคเหนือ: เชียงใหม่ – ลำพูน – ลำปาง – แพร่ – อุตรดิตถ์ – พิษณุโลก เชื่อมโยงหมู่บ้านวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์

ภาคอีสาน ประกอบด้วยอีสานเหนือและอีสานใต้ ได้แก่ ขอนแก่น – อุดรธานี – หนองคาย เชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและอาหารท้องถิ่นของลุ่มแม่น้ำโขง และอีกเส้นทาง ได้แก่ สุรินทร์ – ศรีสะเกษ – อุบลราชธานี เน้นเส้นทางวิถีชีวิตชุมชนและมรดกทางวัฒนธรรม

ภาคใต้: เส้นทาง Truly South เชื่อมอ่าวไทยสู่ทะเลอันดามัน รองรับนักเดินทางที่ต้องการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากการเดินทางทางอากาศ

โดย ภายหลังจากจบงาน ITB Berlin 2025 นักวิจัยภายใต้กองทุน ววน. โดย สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (TEATA) นำทีมโดย คุณวสุมน เนตรกิจเจริญ จะดำเนินกลยุทธ์ Nation to Nation โดยทำงานร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศ เพื่อนำองค์ความรู้จากการวิจัยและนวัตกกรรมด้านการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้น ไปใช้ประโยชน์ในการขยายตลาด MICE (Meetings, Incentives, Conferences, and Exhibitions) เป็นโอกาสสำคัญในการเชื่อมโยงภาคการท่องเที่ยวไทยเข้ากับมาตรฐานระดับสากล ผ่านการใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) เป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับ MICE & SPORT ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ยังมีนักวิชาการและภาคเอกชนที่บูรณาการการทำงานเพื่อพัฒนาระเบียบวิธีการเชิงเทคนิคในการขับเคลื่อน Carbon Neutral Tourism สู่ Net Zero Tourism โดย รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ยีมิน คุณนิพัทธ์พงษ์ ชวนชื่น และ Mr. Peter Richards เป็นต้น

กองทุน ววน. เชื่อมั่นว่า อนาคตของการท่องเที่ยวไทยจะต้องเติบโตควบคู่ไปกับ ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล  โดยมีวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) เป็นกุญแจสำคัญในการยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวประเทศไทยบรรลุเป้าหมายในการเป็นจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวที่โดดเด่นและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ของ “Amazing Thailand Grand Tourism & Sports Year 2025” ภายใต้แนวคิด Sustainable Thailand Soft Power

You may also like

เติมเต็มสร้างสีสันชีวิตความเป็นอยู่  เลือกใช้ ..พลังงานสะอาด ในงานมหกรรม มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 46

เติมเต็ม