กรุงศรีคาดเงินบาทซื้อขายในกรอบ 34.20-35.00 ลุ้นเงินเฟ้อสหรัฐฯ ติดตามดิจิทัล วอลเล็ต

กรุงศรีคาดเงินบาทซื้อขายในกรอบ 34.20-35.00 ลุ้นเงินเฟ้อสหรัฐฯ ติดตามดิจิทัล วอลเล็ต

กรุงศรีคาดเงินบาทซื้อขายในกรอบ 34.20-35.00

ลุ้นเงินเฟ้อสหรัฐฯ ติดตามดิจิทัล วอลเล็ต

กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ประเมินเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 34.20-35.00 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับในสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทปิดอ่อนค่าที่ 34.65 บาท/ดอลลาร์ หลังซื้อขายในช่วง 34.11-34.66 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่เงินดอลลาร์แข็งค่าเทียบกับทุกสกุลเงินสำคัญในสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินแตะจุดสูงสุดรอบ 3 สัปดาห์ ขณะที่นักลงทุนขายสินทรัพย์เสี่ยงทำกำไร โดยตลาดเริ่มไม่แน่ใจว่าการคาดการณ์เกี่ยวกับการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)ถึง 6 ครั้งในปีนี้สมเหตุสมผลหรือไม่หลังข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญหลายรายการออกมาสดใสเกินคาด ทั้งนี้ รายงานการประชุมเฟดวันที่ 12-13 ธันวาคม แสดงให้เห็นว่าเฟดเชื่อมั่นว่าอัตราเงินเฟ้ออยู่ภายใต้การควบคุม และเจ้าหน้าที่เฟดกังวลว่านโยบายที่ตึงตัวมากเกินไปอาจจะสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจ อีกทั้งเจ้าหน้าที่เฟดบางรายพร้อมที่จะหารือกันเรื่องเงื่อนไขสำหรับการยุติมาตรการปรับลดขนาดงบดุล (Quantitative Tightening) ซึ่งส่งผลให้ขนาดงบดุลโดยรวมของเฟดหดตัวลงรวมกันกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ นอกจากนี้ ตลาดวิตกว่าความขัดแย้งในตะวันออกกลางอาจจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทย 2,088 ล้านบาท แต่ซื้อพันธบัตรสุทธิ 12,352 ล้านบาท

สำหรับภาพรวมในสัปดาห์นี้ กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ กรุงศรี เผยว่า ตลาดจะติดตามข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐฯเพื่อประเมินทิศทางดอกเบี้ยเฟดต่อไป อนึ่ง แม้การจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้น 216,000 ตำแหน่งซึ่งแข็งแกร่งเกินคาด แต่มีการทบทวนตัวเลขเดือนพฤศจิกายนและตุลาคมลงรวม 71,000 ตำแหน่ง ขณะที่อัตราการว่างงานที่ลดลงเป็น 3.7% ส่วนหนึ่งสะท้อนการที่ผู้คนเลิกหางานและออกจากตลาดแรงงานไป อีกทั้งข้อมูลภาคบริการย่ำแย่กว่าคาด ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรและค่าเงินผันผวนสูง ในภาพรวม เราคาดว่านักลงทุนกำลังอยู่ในช่วงปรับสถานะหลังเทขายดอลลาร์อย่างหนักในช่วงปลายปีที่ผ่านมา

ส่วนปัจจัยในประเทศ ตลาดจะให้ความสนใจกับแนวทางการดำเนินโครงการ Digital Wallet ทางด้านดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือนธันวาคมของไทยลดลง 0.83% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เงินเฟ้อติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่สามและเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 34 เดือน โดยมีสาเหตุหลักมาจากมาตรการภาครัฐ ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานซึ่งไม่รวมอาหารสดและพลังงานเพิ่มขึ้น 0.58% ทั้งนี้ ในปี 66 เงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้น 1.23% ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้น 1.27% กระทรวงพาณิชย์คาดว่าเงินเฟ้อทั่วไปเดือนมกราคมมีโอกาสติดลบต่อเนื่อง

 

 

You may also like

ราคาคาร์บอนเครดิตกับปัญหา การพัฒนาตลาดคาร์บอนในประเทศไทย

ด้วยรูปแ