การอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลกำลังทำลายโลก!

การอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลกำลังทำลายโลก!

การอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลกำลังทำลายโลก!

มนูญ ศิริวรรณ

…………………………………………………………………

          คำพูดประโยคข้างต้นไม่ใช่คำพูดของผมแต่เป็นคำพูดของเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (U.N.) นาย แอนโตนิโอ กูเตอเรส ที่ได้กล่าวปราศรัยต่อที่ประชุมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (climate change) ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคมที่ผ่านมา

            นายกูเตอเรสได้กล่าวต่อที่ประชุมซึ่งมีทั้งนักการเมืองและนักธุรกิจที่มาประชุมร่วมกันว่า การอุดหนุนที่ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลก็คือการช่วยทำลายโลก และเป็นวิธีการที่เลวร้ายในการล้างผลาญเงินของผู้เสียภาษี

            เขายังบอกว่าการปล่อยมลภาวะนั้นสมควรที่จะถูกเก็บภาษี และการอุดหนุนราคาน้ำมัน ก๊าซ และถ่านหินนั้นควรยุติลงได้แล้ว โดยคนจำนวนมากยังคงคิดว่าการอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลนั้นเป็นวิธีที่จะช่วยให้สภาพความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น แต่นั่นเป็นความคิดที่ผิดโดยสิ้นเชิง

            เขาบอกว่าการทำเช่นนั้นก็คือการใช้เงินของผู้เสียภาษี ซึ่งก็คือเงินของเรานั่นเอง ในการส่งเสริมให้เกิดพายุเฮอริเคน ความแห้งแล้งที่ขยายตัวออกไป ทำให้ธารน้ำแข็งละลาย (melt glaciers) ปะการังฟอกขาว หรือในภาพรวมคือการทำลายโลกนั่นเอง

            ตามข้อมูลของทบวงพลังงานสากล (International Energy Agency-IEA) โลกใช้เงินอุดหนุนการบริโภคพลังงานฟอสซิลในปีค.ศ. 2017 สูงถึง 300,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (9.6 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากปีค.ศ. 2016 ที่ใช้ 270,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (8.6 ล้านล้านบาท)

            เขาเชื่อว่าผู้เสียภาษีพอใจที่จะเห็นเงินก้อนนี้คืนกลับไปหาเขามากกว่าที่จะถูกนำไปใช้ในการทำลายดาวเคราะห์ดวงนี้

            คำปราศรัยของกูเตอเรสสอดคล้องกับผลของการศึกษาขององค์กรการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund-IMF) ที่เคยระบุว่า การอุดหนุนราคาพลังงานนั้นรังแต่จะเพิ่มความเหลื่อมล้ำให้สูงขึ้น เพราะเงินที่ใช้ในการอุดหนุนนั้นจะไปสู่คนรวยมากกว่าคนจน เนื่องจากคนรวยใช้พลังงานมากกว่าคนจน เพราะคนรวยมีรถคันใหญ่ กินน้ำมันมากกว่า และมีรถยนต์หลายคัน ใช้ในการเดินทางมากกว่า ในขณะที่คนจนไม่มีรถยนต์ใช้ ใช้แต่บริการขนส่งสาธารณะ หรือมีรถยนต์ ก็เป็นรถคันเล็กๆ กินน้ำมันน้อย

            หรือการอุดหนุนราคาก๊าซและไฟฟ้า คนรวยก็ได้รับประโยชน์มากกว่า เพราะใช้ทั้งก๊าซและไฟฟ้ามากกว่าคนจน ดังนั้นรัฐจึงควรหลีกเลี่ยงการอุดหนุนราคาพลังงานแบบหน้ากระดาน (across the board) และอุดหนุนเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยเท่านั้น

            แต่ถ้านำเอาแนวคิดของเลขาธิการองค์การสหประชาชาติมาใช้ รัฐก็ต้องเลิกอุดหนุนราคาพลังงานฟอสซิลโดยสิ้นเชิง แล้วหันมาส่งเสริมให้คนใช้พลังงานทดแทนให้มากขึ้น แต่ก็ต้องหาทางลดต้นทุนในการผลิตพลังงานทดแทนลงด้วย ให้สามารถแข่งขันกับพลังงานฟอสซิลได้ในระยะยาว

          ไม่ใช่เอาแต่เก็บเงินจากผู้ใช้พลังงานฟอสซิลมาอุดหนุนพลังงานทดแทน จนกลายเป็นเตี้ยอุ้มค่อมอย่างทุกวันนี้

 

You may also like

“มนพร”สุดปลื้ม! สนามบินแม่ฮ่องสอน-เลย-น่านนคร คว้ารางวัล”EIA Monitoring Awards 2024″

“มนพร”สุ