การแกัไขรัฐธรรมนูญไม่ใช้ "มธุรสวาจา" มันก็ยื้ดเยื้อยุ่งเหยิงเป็นธรรมดา??
นายจักรยาน
ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2560 จะสำเร็จหรือไม่นั้น เคยมีผู้กล่าวไว้ว่าจะต้องใช้ "มธุรสวาจา" ระหว่างกันระหว่างกลุ่มผู้ต้องการแก้ไขกับกลุ่มที่คัดค้่านการแก้ไข
ซึ่งอันเป็นความเห็นต่างอันสวยงามของ "ประชาธิปไตย" ที่แต่ละกลุ่มรวมทั้ง "ม็อบ" ที่ออกมาเย้ว ๆ อ้างอิงคำว่า "ประชาธิปไตย"ตลอดเวลา
โดยเฉพาะเสียงของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่ในรัฐธรมนูญฉบับที่ใช้อยู่ในขณะนี้ได้ระบุมว่าจะต้องมีเสียงของ ส.ว. 1 ใน 3 คือ 84 เสียงขึ้นไปเห็นควรด้วย จึงแก้ไขได้!!
ช่วงก่อนที่ญัตติการแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ร่วมกันระหว่าง ส.ส.กับ ส.ว. ประชาชนทุกคนคงได้ฟังได้รับรู้มาว่่ามีกลุ่มที่ต้องการแก้ไขใจจะขาดโจมตีเหยียดหยามเสียดสี ส.ว. ด้วยถ้อยคำดุเดือด ไม่มีคำไหนที่เป็น "มธุรสวาจา" เลย
และในที่ประชุมรัฐสภา ส.ส.ฝ่ายค้านบางพรรคก็กล่าวถ้อยคำที่ไม่ระรื่นรูหูต่อบรรดา ส.ว.ที่ร่วมประชุมด้วย ไม่มี "มธุรสวาจา" ที่ขอความร่วมมือในการช่วยกันแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีปัญหาให้เป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่มีปัญหา
ดูเหมือนว่าการถกแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ราบรื่น กลายเป็นเวทีให้ "ฝ่ายค้าน" รุมด่า ส.ว.กันสนุกสนานปาก ซึ่งมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า "ฝ่ายค้าน" ไม่จริงใจในการแก้รัฐธรรมนูญ แต่จริงใจในการผรุสวาทวาจาด่า "ส.ว."มากกว่า??
ด้วยเหตุฉะนี้ผู้สันทัดกรณีเรื่องยุ่ง ๆ ทางการเมืองฟังคำอภิปรายในรัฐสภา 2 วันยังไม่จบดี ก็ฟังธงในใจเอาไว้ว่า คงไม่มีเสียง ส.ว. ครบ 84 เสียงให้ญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ผ่านแน่!!
แต่การเมืองก็คือ "เกม" ที่ต้องเล่นชักคะเย่อกันระหว่าง ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลและ ส.ว.ส่วนใหญ่ กับ ส.ส.ฝ่ายค้าน ซึ่งวิปรัฐบาลและวิป ส.ว. จับมือกันเล่นเกม
ผลปรากฏว่า "เกมแก้ไขรัฐธรรมนูญ" ของฝ่ายรัฐบาลกับ ส.ว.ชนะ "ฝ่ายค้าน" ซึ่งก็เป็นไปตามกติกาของเกมประชาธิปไตยในเวทีรัฐสภา!!
โดยให้ตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.)วิสามัญขึ้นมาศึกษาญัตติการแก้ไขรัฐธรรมนูญภายใน 30 วันก่อนรับหลักการ แต่ "ฝ่ายค้าน" บอยคอตไม่ส่งใครเข้ามาร่วมเป็น กมธ. วิสามัญ ฯ สอดคล้องกับเสียงวิเคราะห์ว่า "ฝ่ายค้าน" ไม่จริงใจการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ทว่า "เกมรัฐธรรมนูญ" ครั้งนี้ "ม็อบ" เอาแต่รุมถล่มรัฐบาลและ ส.ว. แต่ไม่ "ด่า" พรรคฝ่ายค้านที่เล่นเกมพลาด ทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องยื้อเวลาออกไปอีก 30 วัน!!
สำหรับ "เกม" ของวิปรัฐบาลและวิป ส.ว. มีการยกเหตุผลพอฟังขึ้นว่าการตั้ง กมธ.วิสามัญ ฯ ขึ้นมา เพื่อไม่ต้องการให้ญัตติการแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องตกไป เพราะแนวโน้ม ส.ว.ที่่ถูกเยาะเย้ยแดกดันศักดิ์ศรีคงยกมือไม่ถึง 84 เสียงแน่
ถ้าญัตติแกัไขรัฐธรรมนูญตกไป ก็จะมีการโหมไฟการเมืองให้รุนแรงขึ้นมาได้ เพียงแค่ชะลอให้อีก 30 วันเพื่อศึกษาดี ๆ ว่าสมควรแกัไขรัฐธรรมนูญด้วยวิธีไหน??
แต่ก็มีกลุ่มที่่ไม่พอใจทั้ง ส.ส.ฝ่ายค้านและม็อบประโคมโฆษณาว่าเดือนตุลาคม 2563 จะเป็นปีตุลาอาถรรมพณ์อีกแน่ เพราะจะมีประชาชนผู้ที่ไม่เห็นด้วยจะออกมาประท้วงมากกว่า 14 ตุลาคม 2516!!
ซึ่งจะเป็นจริงตามคำโม้หรือไม่ ก็คงต้องรอให้ถึงวันชุมนุมของม็อบ!!
อ๊ะ อ๊ะ จะเป็นผลสะเทือนที่พรรคแกนนำฝ่ายค้านพ่ายเกมแก้รัฐธรรมนูญในรัฐสภาหรือเปล่าก็ไม่ทราบได้ ทำให้ "เสี่ยสมพงษ์ อมรวิวัฒน์" หัวหน้าพรรคเพื่อไทยลาออก และ "คุณหญิงหน่อย" สุดารัตน์ เกรายุพันธ์ บ๋ายบายจากตำแหน่งประธานยุทธศาสตร์พรรค
แกนนำพรรคเพื่อไทยหลายคนออกมาประสานเสียงว่า พรรคเพื่อไทยไม่ได้แพแตก แต่เป็นการจัดแพใหม่ให้เข้มแข็งกว่าเดิม ก็ว่ากันไปตามสบายคงไม่มีใครว่าอะไร นอกจากวิเคราะห์เจาะลึกกันหลายแง่หลายมุมว่าเกิดจากปัญหาอะไร
หรือเป็นคำสั่งจากคนแดนไกลเจ้าของพรรคเพื่อไทยตัวจริงที่ต้องปรับทัพใหม่ ให้เป็นแกนนำ"ฝ่ายค้าน" ไม่ให้เสียศักดิ์ศรีของแกนนำ ไม่ใช่เป็นแกนตามพรรคฝ่ายค้านบางพรรค
สำหรับหัวหน้าพรรคเพื่อไทยที่จะได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ของพรรคจะเป็น "คนเก่าหน้าเดิม" หรืฮ "คนใหม่แต่หน้าเก่า" วันนี้อาจยังไม่ชัด อีกไม่นานเกินรอก็คงจะชัดว่าใครจะมาเป็นหัวหน้า
แต่ที่แน่ ๆ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจาก "คนแดนไกล" ล้านเปอร์เซ็นต์!!
ในช่วงปิดสมัยประชุมตลอดทั้งเดือนตุลาคม 2563 กมธ.วิสามัญศึกษาญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญใช้เวลา 30 วันพอดีในการที่จะตกลงว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูย (ส.ส.ร.) หรือแก้ไขทีละมาตราที่มีปัญหา!!
เปิดประชุมสภา ฯ เดือนพฤศจิกายน 2563 ก็จะนำมติของ กมธ.วิสามัญศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภาเป็นวาระแรกที่ไม่สามายื้อต่อไปได้อีก
เรา ๆ ท่าน ๆ ก็ต้องติดตามดูว่ามติเห็นชอบของ กมธ.วิสามัญ ฯ จะทำให้มีการปลุกระดมของ "ม็อบ" และ "ฝ่ายค้าน" อีกหรือไม่??
เมื่อ "รัฐธรรมนูญปี 60" ได้มีการล็อกกุญแจให้การแก้ไขยากเย็นแสนเข็ญ จึงเป็นธรรมดาที่การเดินหน้าแกไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้ก็ต้องมีความยากไปด้่วยเช่นกันอย่างนี้แหละท่านที่เคารพ
ที่สำคัญก็คือ "ประชาขน" คนทั้งประเทศจะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ตามที่ท่านผู้ทรงเกียรติ ส.ส.และ ส.ว.ได้ออกแบบมา
เนื่องจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญปี 2560 ได้ขีดเส้นใต้ว่าต้องทำ "ประชามติ" ว่าเห็นควรหรือไม่ ถ้าประชาชนมีมติออกมาแล้วทุกฝ่ายต้องยอมรับในเสียงของประชาชนตามกฎกติกาของประชาธิปไตย
ถ้าฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับเสียงประชามติ ออกมาหาเรื่องปลุกระดมให้วุ่นวายอีกก็มิใช่ "ประชาธิปไตย" ที่้พวกตนประกาศอยู่ทุกลมหายใจ
ถ้าไม่เคารพเสียงประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เขาเรียกว่า "ประชาธิปกู" นะจะบอกให้!!
Social Links