การแบ่งปัน การเสียสละ การให้

การแบ่งปัน การเสียสละ การให้

 

 

การแบ่งปัน การเสียสละ การให้

ถือเป็นหลักหนึ่งในการอยู่ร่วมกัน

 

ช่วงนี้หลายคนเดินทางไปทำบุญกันหลายวัด รับกันหลายซองไม่ใช่ซองอะไรแต่เป็นซองกฐินสามัคคี มีทั้งในประเทศและต่างประเทศ การทอดกฐินนั้นจะดำเนินการได้เพียง 30 วัน หลังวันออกพรรษา เลยช่วงนี้ไปแล้วก็จะเป็นการทอดผ้าป่าสามัคคี หลายวัดมีพุทธศาสนิกชนจองเพื่อเป็นเจ้าภาพในการทอดกฐินสามัคคีกันเต็มที่ ปีนี้ส่วนตัวก็รับมานับซองไม่ถูกเช่นกันมีทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ ต่างประเทศอย่างประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิดของพุทธศาสนายังมีเลย

            ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งพูดไว้น่าสนใจมากวันที่ได้รับซองทอดกฐินสามัคคี ประจำปี 23560 ณ วัดป่าพุทธคยา เมืองคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย เมื่อวันอาทิตย์ที่ 8  ตุลาคม ที่ผ่านมาบอกว่า คุณไพ ฝากบอกบุญทุกคนนะ บอกเขาว่าไม่ต้องกังวลทำเท่าที่ทำได้ จะทำเท่าไหร่ก็ได้ บุญให้ทำด้วยใจ ใส่เท่าไหร่ก็ได้อย่าให้ตัวเองเดือดร้อน   แต่อย่าปฏิเสธการทำบุญ อันนี้โดยส่วนตัวแล้วเห็นด้วยอย่างยิ่งเลยว่า การทำบุญนั้นสำคัญจริงๆ สำคัญอย่างไร สำคัญต้องที่เราได้ฝึกตนเองให้เป็นผู้เสียสละ ฝึกการให้  เพราะการทำบุญคือการให้ การแบ่งปันในส่วนที่ตนเองมี แล้วแบ่งปันให้คนอื่น ถือว่าเป็นการฝึกการบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเต็มทีด้วย นอกจากบริหารทรัพยากรแล้วสิ่งที่สำคัญคือ การบริหารจิตใจให้มีการแบ่งปัน ฝึกการให้ ฝึกการเสียสละ ฝึกการจัดสรร หลายท่านเคยกล่าวว่าค่อยให้ ค่อยแบ่งปันตอนรวย จริงๆ แล้วรวยหรือจนก็สามารถแบ่งปันได้หมดอยู่ที่เราจะแบ่งปันอะไรมากกว่า โดยส่วนตัวจัดการแบ่งปัน การทำบุญหรือการเสียสละไว้ 3 ประเด็นใหญ่ที่ทุกคนสามารถทำหรือดำเนินการได้ไม่ว่าคุณจะรวยหรือจน 

            การทำบุญนั้นจริงๆ เราทุกคนสามารถทำได้ โดยส่วนตัวแล้วแบ่งการการทำบุญออกเป็น 3 ประเภทด้วยกันคือ

  1.  ทำด้วยใจ คือมีจิตใจที่เป็นกุศลธรรม คือไม่ริษยา ไม่ติฉินนินทา กล่าวง่ายๆ   ก็คือมีจิตที่คิดเป็นบวก ไม่กล่าวร้ายหรือใส่ร้ายใคร ซึ่งถ้าใครทำอย่างนี้ได้ก็ถือว่าได้เข้าถึงหลักธรรมแล้วหนึ่งข้อ ไม่ใช่เข้าวัดกลับมาแล้วผิดศีลข้อ 4  หรือไม่ก็ผิดทั้งแต่อยู่ในวัดแล้ววิจารณ์แม้กระทั่งพระสงฆ์องคเจ้าหรือแม้กระทั่งญาติโยมที่เข้าวัดด้วยกัน การทำด้วยใจนี้ไม่ต้องลงทุนอะไรเลยเพียงแต่เราต้องมีจิตใจที่ดีเป็นกุศลธรรมว่างๆ ซึ่งต้องผ่านการฝึก ฝึกวันละนิดสะสมไว้สักวันก็จะได้เอง
  2.  ทำด้วยแรงกาย อันนี้ก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพราะทุกคนเกิดมาก็มีแรงงานติดตัวมาทั้งแต่เกิดแล้วแม้แต่คนพิการก็มีแรง อันนี้ถือว่าทุกวัดหรือองค์กรการกุศลยังขาดมาก อย่าว่าแต่วัดเลยแม้แต่มีงานที่ไหนๆ ก็ขาดผู้ช่วยงานกวาด เช็ด ถู   ได้มีโอกาสไปวัดอยู่เป็นเนื่องๆ เห็นทุกครั้งงานที่ขาดมากๆ คือเวลาเสร็จกิจในวัดหลังจากพระฉันเพลเสร็จก็ไม่มีใครช่วยล้างจากเก็บกวาด มีแต่คนมาทำบุญใส่ปัจจัยลงตู้ หรือถวายของพระเสร็จก็กลับ แต่ขาดแรงงานเล็กน้อยๆ  ตรงนี้ก็ถือว่าเป็นการทำบุญเช่นกัน แต่เป็นการทำบุญด้วยแรงงานที่เรามีติดตัวกันมาทุกคนและทุกคนก็สามารถทำได้    
  3. ทำด้วยปัจจัย อันนี้บางคนมีมาก บางคนมีน้อย แล้วแต่ใครจะสมัครใจที่จะทำนุบำรุงพระศาสนา  

ทั้ง 3 แบบนี้ คือการแบ่งปัน การให้ การเสียสละ ฝึกการบริหารจิตใจของตนเอง หรือจะเรียกว่าเป็นการรักษาไว้ซึ่งพระศาสนาก็ได้ ไม่ใช่เฉพาะในช่วงที่ออกพรรษาเท่านั้นทุกคนสามารถทำได้ตลอดเวลา แล้วแต่ใครจะสะดวกดูให้เหมาะสมกับตัวเองก็แล้วกัน

            ส่วนตัวได้มีโอกาสเดินทางไปทำบุญมาหลายวัด นอกนั้นจะฝากซองไป วัดที่น่าสนใจและสถาปัตยกรรมสวยงามมากๆ หลายท่านอาจไปมาแล้ว หลายท่านอยากไป ท่านใดที่ไปจังหวัดเชียงใหม่แนะนำให้ไปเที่ยวเยี่ยมชมแหล่งที่เป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามนี้ได้อยู่ที่วัดเด่นสะหลีศรีเมืองแกน หรือวัดเด่น ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ใครแวะไปเชียงใหม่อย่าลืมไปเยี่ยมชมสถาปัตยกรรมที่บอกเรื่องราวในตำนานทางพุทธศาสนา และฝึกความร่มเย็นในจิตใจดูกันนะ 

You may also like

แมงดีแห่งกะลาแลนด์ 2