ก.แรงงาน ร่วมประชุมใหญ่ การแข่งขันฝีมือแรงงานเอเชีย ไทยพร้อมส่ง 10 สาขา

ก.แรงงาน ร่วมประชุมใหญ่ การแข่งขันฝีมือแรงงานเอเชีย ไทยพร้อมส่ง 10 สาขา

ก.แรงงาน ร่วมประชุมใหญ่

การแข่งขันฝีมือแรงงานเอเชีย ไทยพร้อมส่ง 10 สาขา

    รมว.สุชาติ ชมกลิ่น ส่งรักษาการอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงานร่วมประชุมสมัชชาใหญ่แข่งขันฝีมือแรงงานระดับเอเชีย ไทยพร้อมส่งเยาวชนแข่งขันครั้งแรก 10 สาขา

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้นางสาวบุปผา เรืองสุด รองปลัดกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เข้าร่วมประชุมสมัชชาใหญ่องค์การการแข่งขันฝีมือแรงงานเอเชีย ครั้งที่ 6 (WorldSkills Asia 6th General Assembly Incheon 2023) ระหว่างวันที่ 8-10 มีนาคม 2566 ณ เมืองอินชอน สาธารณรัฐเกาหลี โดยมีผู้แทนจากประเทศสมาชิกจำนวน 18 ประเทศ ในเขตเศรษฐกิจเข้าร่วมการประชุม เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เกาหลี ญี่ปุ่น อุซเบกิสถาน บังคลาเทศ มาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ ติมอร์-เลสเต้ ไต้หวัน มองโกเลีย อาเซอร์ไบจาน ซาอุดีอาระเบีย มัลดีฟส์ คูเวต อิหร่าน อาร์มาเนีย และภูฏาน

นางสาวบุปผา เรืองสุด เปิดเผยว่า องค์การการแข่งขันฝีมือแรงงานเอเชีย(WorldSkills Asia) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่ไม่แสวงหากำไร ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2560 เพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนาทักษะฝีมือ ส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาชีพ และต้องการยกระดับความสามารถในการพัฒนาฝีมือแรงงานในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาทักษะฝีมือที่สำคัญของโลก โดยดำเนินกิจกรรมใน 4 ด้าน ได้แก่   

  1. จัดการแข่งขันฝีมือแรงงานเอเชีย กำหนดจัดขึ้นทุก 2 ปี
  2. การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ
  3. การจัดการเรียนการสอนและฝึกอบรม
  4. การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยมีสำนักเลขาธิการตั้งอยู่ ณ กรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 26 ประเทศ  ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกในปี 2564  เป็นลำดับที่ 25

นางสาวบุปผา เรืองสุด กล่าวต่อไปว่า การประชุมในครั้งนี้มีการพิจารณานโยบายและแผนการดำเนินการจัดการแข่งขันฝีมือแรงงานเอเชีย ครั้งที่ 2 ปี 2566 (WorldSkills Asia 2023) ระหว่างวันที่ 24 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2566 ณ กรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์  แข่งขันทั้งหมด จำนวน 22 สาขา ได้แก่  1.สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ 2.สาขาเทคโนโลยีระบบไฟฟ้าภายในอาคาร 3.สาขางานเชื่อม 4.สาขาการก่ออิฐ 5.สาขาการเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์ 6.สาขาเว็บดีไซน์ 7.สาขากราฟิกดีไซน์  8.สาขาเทคโนโลยียานยนต์  9.สาขาเทคโนโลยีระบบทำความเย็น 10.สาขาการปูกระเบื้อง 11.สาขาการซ่อมสีรถยนต์ 12.สาขาการแต่งผม 13.สาขาแฟชั่นเทคโนโลยี 14.สาขาหุ่นยนต์เคลื่อนที่  15.สาขาอิเล็กทรอนิกส์ 16.สาขาการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วย 17.สาขาความงามบำบัด 18.สาขาการควบคุมอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) 19.สาขาบริการโรงแรม  20.สาขาการจัดการเทคโนโลยีเครือข่าย 21.สาขาการวาดและตกแต่ง และ 22.สาขาการฉาบปูนและผนังเบา ในส่วนของประเทศไทยนั้น เบื้องต้นมีความพร้อมจะร่วมแข่งขันในสนามนี้จำนวน 10 สาขา ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เยาวชนไทยจะเข้าร่วมการแข่งขันดังกล่าว

นอกจากนี้ ผู้แทนจากประเทศไทย คือ นางสาวพรรวี นาคพิพัฒน์ ผู้แทนเทคนิคของประเทศไทย ยังได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งรองประธานด้านการแข่งขัน เป็นการสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยและได้รับการยอมรับในเวทีระดับโลก การประชุมครั้งนี้ได้รับรองสมาชิกใหม่ ได้แก่ ราชอาณาจักรภูฏาน เป็นสมาชิกลำดับที่ 26 รวมถึงรับฟังการนำเสนอของไต้หวันในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสมัชชาใหญ่ ครั้งที่ 8 ในปี 2567 และการเป็นเจ้าภาพจัดงานแข่งขันฝีมือแรงงานเอเชีย ครั้งที่ 3 ในปี 2568 ระหว่างวันที่ 20 – 28 พฤศจิกายน 2568 อีกด้วย

You may also like

แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ไทย

ยอดขายขอ