คนมีหนี้คือคนมีเครดิต เครดิตจะดีขึ้นอีกนิดถ้ามีประกันด้วย

คนมีหนี้คือคนมีเครดิต เครดิตจะดีขึ้นอีกนิดถ้ามีประกันด้วย

คนมีหนี้คือคนมีเครดิต

เครดิตจะดีขึ้นอีกนิดถ้ามีประกันด้วย

                ว่ากันว่าคนมีหนี้คือคนมีเครดิต แต่ยุคที่อะไรอะไรก็เกิดขึ้นได้อย่างไม่คาดคิดเครดิตที่ดีคงต้องมีความคุ้มครองวงเงินด้วย หลายคนคงไม่ทราบว่ามีประโยชน์มากมายจากการมีประกันคุ้มครองสินเชื่อ ประกันที่คนส่วนใหญ่มักจะมองข้าม แม้ว่าเบี้ยจะถูกมากและปลดภาระความกังวลใจให้คุณและคนที่คุณรักได้ “เจนสวัสดี” ขอเผยเคล็ดไม่ลับที่จะช่วยคุณ เรามาทำความรู้จักประโยชน์ดีๆ จากประกันตัวนี้กัน

ภาระทางการเงิน หรือ “หนี้” มีอะไรบ้าง

                หนี้สินที่เรามีอยู่ในปัจจุบันมีหลากหลายประเภท อาทิ  หนี้บ้าน หนี้รถยนต์ หนี้รถจักรยานยนต์ หนี้บัตรเครดิต หนี้บัตรกดเงินสด หนี้ผ่อนชำระสินค้า สินเชื่อส่วนบุคคล หนี้นอกระบบ เงินที่ยืมจากคนรู้จัก ฯลฯ ซึ่งก็มีทั้งหนี้ที่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันและไม่ต้องมีหลักประกัน ขึ้นอยู่ประเภทของหนี้สินและและเงื่อนไขที่กำหนดของเจ้าหนี้ ได้แก่ ธนาคาร สถาบันการเงิน บริษัทสินเชื่อ บริษัทบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด บริษัทลิสซิ่งเช่าซื้อ เจ้าหนี้นอกระบบ หรือผู้ให้ยืมเงิน เช่น ญาติ เพื่อน และคนใกล้ชิด เป็นต้น

4 เหตุผลของคนเป็น “หนี้” มีอะไร และต้องรับมือแบบไหนบ้าง

                1.ต้องการได้ของมาใช้ก่อน ผ่อนทีหลัง ทั้งสิ่งของที่จำเป็นและไม่จำเป็น หนี้ที่จะตามมาก็คือหนี้บัตรเครดิต หรือหนี้ผ่อนเงินสด ทั้งที่มีดอกเบี้ย หรือไม่มีดอกเบี้ยก็ตาม วิธีการบริหารจัดการหนี้แบบนี้อาจเริ่มตั้งแต่ การสร้างกฎกติกาให้ตัวเองว่าในแต่ละเดือนสามารถใช้บัตรเครดิตได้เท่าไหร่ และประเมินความสามารถในการใช้หนี้ของตัวเอง เมื่อเป็นหนี้แล้วก็ควรชำระเงินให้ครบตามสัดส่วนและทันกำหนดเวลา เพื่อจะได้ไม่ต้องรับภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นในระยะยาว รวมไปถึงค่าธรรมเนียมการผิดนัดชำระที่ตามมาด้วย

                2.เป็นหนี้เพื่อครอบครัว ต้องการสร้างความมั่นคงและคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับตัวเองและคนที่รัก ส่วนใหญ่เป็นการซื้อของชิ้นใหญ่ หรือทรัพย์สินที่มีมูลค่า เช่น บ้าน คอนโด รถยนต์ ผ่านสถาบันการเงิน หนี้ประเภทนี้มีระยะเวลาการผ่อนชำระที่แน่นอนและสามารถเห็นยอดหนี้รวมดอกเบี้ยที่ต้องชำระล่วงหน้า อีกทั้งก่อนที่สถาบันการเงินจะปล่อยให้กู้นั้นจะมีการประเมินปัจจัยด้านต่างๆของผู้กู้ก่อนที่จะอนุมัติวงเงิน อย่างไรก็ตามอย่าลืมเอาภาระที่ไม่อยู่ในระบบ อย่างค่าใช้จ่ายส่วนตัว และค่าใช้จ่ายอื่นๆมาประเมินตัวเองด้วยว่าเมื่อบวกค่าใช้จ่ายต่างๆเข้าไปแล้ว มีความสามารถที่จะผ่อนชำระทรัพย์สินนั้นไปได้ตลอดรอดฝั่งหรือไม่ มิเช่นนั้น ก็อาจจะเกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากการผิดนัดชำระ หรืออาจถูกยึดทรัพย์สินนั้นได้

                3.รายได้ไม่พอกับรายจ่าย หรือเกิดเหตุฉุกเฉินต้องใช้เงินด่วน สำหรับบางครอบครัวอาจมีรายได้น้อยแบบใช้เดือนชนเดือน ชักหน้าไม่ถึงหลัง เพราะรายรับไม่พอกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น หรือในบางโอกาสที่จำเป็นต้องใช้เงินก้อนแต่เงินสำรองไม่มี ไม่ว่าจะเป็น ค่าเทอม ค่ารักษาพยาบาล หรือสิ่งของเครื่องใช้ในบ้านที่จำเป็น ยิ่งโดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจขาลงที่หลายคนไม่สามารถหารายได้เหมือนเดิม จึงเกิดการกู้หนี้ยืมสินทั้งจากคนรอบข้าง การขอสินเชื่อจากธนาคาร หรือจำนำทรัพย์สิน ซึ่งควรเลือกแหล่งเงินกู้ที่มีดอกเบี้ยน้อยที่สุด เชื่อถือได้ และมีระยะเวลาการชำระเงินที่เหมาะสมกับกำลังในการผ่อนชำระ แหล่งเงินกู้ที่ควรหลีกเลี่ยงก็คือหนี้นอกระบบที่มักมีดอกเบี้ยสูง

                4.อยากได้เงินไปต่อยอดสร้างอาชีพ หรือลงทุนทำธุรกิจ การลงทุนด้านการศึกษาวิชาชีพ หรือการทำธุรกิจทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้เงินทุน แต่จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับขนาดธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น ค่าเช่า ค่าอุปกรณ์ ค่าจ้างพนักงาน ค่าต้นทุนการผลิตต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่าผู้กู้ย่อมจะต้องมีการวางแผนการดำเนินธุรกิจก่อนที่จะยื่นกู้สินเชื่อเพื่อธุรกิจจากธนาคาร หรืออาจจะเป็นธุรกิจเล็กๆ อย่างร้านขายของหรือขายอาหารที่ต้องการเงินทุนเพื่อซื้ออุปกรณ์เพิ่ม ซึ่งเป็นเงินทุนที่ก้อนไม่ใหญ่มากนัก ก็อาจจะพิจารณาแหล่งเงินทุนอย่างการขอสินเชื่อจากธนาคารที่ใช้สินทรัพย์ค้ำประกันได้ โดยควรดูเงื่อนไขดอกเบี้ยและระยะเวลาการชำระหนี้ให้สอดคล้องกับระยะเวลาการทำธุรกิจและยอดขายที่จะเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน 

                นอกจากที่จะเรียนรู้วิธีการบริหารจัดการหนี้สินแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่หลายคนมักมองข้ามก็คือการทำประกัน ที่สามารถช่วยบริหารความเสี่ยงและช่วยจัดการปัญหาภาระหนี้สินได้เป็นอย่างดี

ข้อดีของประกันที่ช่วยจัดการภาระหนี้

                ประโยชน์หลักของการทำประกัน คือการสร้างหลักประกันให้ผู้กู้และคนในครอบครัว เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน ภาระหนี้สินนั้นยังไปต่อได้ ยกตัวอย่างเช่น หนี้ที่เกิดจากการซื้อบ้าน คอนโด รถยนต์ หากผู้กู้ทำประกันคุ้มครองสินเชื่อแล้วต่อมาเสียชีวิต ทำให้ไม่สามารถส่งค่างวดต่อได้ บริษัทประกันภัยจะเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนของหนี้คงค้างให้กับธนาคาร โดยที่ทรัพย์สินนั้นยังคงเป็นของครอบครัว

                หรือกรณีการกู้สินเชื่อที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เช่น บ้าน รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เพื่อนำเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนในครัวเรือน ค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน หรือเป็นทุนประกอบอาชีพ หากวันใดที่ผู้กู้เสียชีวิต หรือประสบอุบัติเหตุจนพิการไม่สามารถประกอบอาชีพได้ บริษัทประกันภัยจะเป็นผู้รับผิดชอบชำระหนี้คงค้างให้กับธนาคาร หรือ สถาบันการเงินที่ให้บริการสินเชื่อ โดยที่ทรัพย์สิน หรือหลักทรัพย์ที่ใช้ค้ำประกันจะกลับมาเป็นของครอบครัว นอกจากนี้ อาจยังมีเงินส่วนต่างคงเหลือ ภายหลังหักค่างวดที่ค้างชำระแล้วมอบให้กับทายาทอีกด้วย

                อย่างเช่น ประกันชีวิตแบบคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ (สวัสดิ์คุ้มครอง) สำหรับลูกค้าสินเชื่อศรีสวัสดิ์ ที่มีวงเงินคุ้มครองการเสียชีวิตจากการเจ็บป่วย หรืออุบัติเหตุ รวมไปถึงการสูญเสียอวัยวะและสูญเสียสายตาเนื่องจากอุบัติเหตุ หากเกิดกรณีดังกล่าวในช่วงเวลาที่อยู่ระหว่างการผ่อนชำระหนี้ บริษัทประกันภัยจะเข้ามาเป็นผู้รับภาระจ่ายหนี้สินค้างชำระให้กับบริษัทสินเชื่อก่อน เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับครอบครัว และมอบเงินส่วนที่เหลือให้กับครอบครัวของผู้เอาประกันภัย(ผู้กู้)ต่อไป นอกจากนี้ เพื่อเป็นการวางแผนให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ผู้กู้อาจพิจารณาความคุ้มครองค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดฝันเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เช่น ค่ารักษาพยาบาล เพิ่มเติมได้อีกกับแผนประกันอุบัติเหตุ (สวัสดิ์คุ้มค่า) ที่นอกจากจะมีวงเงินคุ้มครองชีวิตและทุพพลภาพถาวรแล้ว หากต้องเข้าโรงพยาบาลก็ยังมีค่ารักษาให้ ซึ่งจะไม่กระทบรายได้หรือเงินเก็บในส่วนอื่น

                เมื่อรู้เช่นนี้แล้วก่อนที่จะตัดสินใจสร้างหนี้ ควรเริ่มต้นด้วยการพิจารณาถึงความจำเป็น คำนวณภาระหนี้สินและความสามารถในการชำระหนี้  เลือกประเภทเจ้าหนี้ที่เหมาะสม รวมถึงการวางแผนบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้ภาระทางการเงินนี้เป็นหนี้ที่เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

You may also like

ราคาคาร์บอนเครดิตกับปัญหา การพัฒนาตลาดคาร์บอนในประเทศไทย

ด้วยรูปแ