จับตาการถกเถียงญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ 7 ฉบับ อะไรจะเกิดขึ้น??
นายจักรยาน
สถานการณฺ์การเมืองไทย ณ เวลานี้ยังเป็นเรื่องราวของ "ม็อบ 3 นิ้ว" กับ "แก้ไขรัฐธรรมนูญ" ที่เชื่อมโยงกดดันให้ "ลุงตู่" พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี "ลาออก" ให้ได้ตามความต้องการของประชาชนฝ่าย "ม็อบ"
ซึ่งก็มีประชาชนฝ่ายเชียร์ "ลุงตู่" ให้อยู่ต่อไปตามความเห็นที่แตกต่างกันคนละมุมมองกฎกติกาประชาธิปไตย
ไม่ใช่เรื่องของ "รัฐธรรมนูญปี 2560" มีปัญหายุ่งอีรุงตุงนังแต่ประการใด??
อ๊ะ อ๊ะ ถ้าจะบอกว่า "รัฐธรรมนูญปี 2560" เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่เป็นปัญหาก็คงไม่ใช่ เพราะ "รัฐธรรมนูญ" หลายฉบัยที่กำเนิดขึ้นมาภายหลังมีการปฏิวัติรัฐประการมักจะมี "ปัญหา" แทบทั้งสิ้น
เมื่อมีปัญหาอะไรเอ่ยที่ต้องมี "ม็อบ" ออกมาเย้วๆ เบิ้ม ๆ ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมที่ไม่ละเมิดกฎหมายที่รัฐธรรมนูญได้ระบุไว้
แต่ "ม็อบ" ทุกม็อบทางการเมืองที่อุบัติขึ้นไม่เคยมี "ม็อบ" ไหนที่ไม่ละเมิดกฎหมายและละเมิดสิทธิผู้อื้่น เพราะแทบทุกม็อบในปัจจุบันนี้และในอดีตที่ผ่าน ๆ มาอ้างแต่สิทธิเสรีภาพอย่างเดียว โดยไม่เอ่ยอ้างถึงที่ได้กระทำละเมิดกฎกติกาของบ้านเมือง
ที่สำคัญมักจะอ้าง "ประชาชน" โดยไม่เคยขออนุญาตประชาชนทุกหมู่่เหล่าทุกวัยทุกเพศรวมทั้งเพศทางเลือกทั้งประเทศ เพราะฉะนั้นด้วยเหตุฉะนี้ "ประชาชน"ที่ "ม็อบ" ชอบตอกย้ำเสมอ ๆ จึงเป็น "ประชาชน" ที่นิยมชอบ "ม็อบ"เท่านั้น
ถ้าจะพูดเหมาเป็น "ประชาชน" ทั้งหมดของประเทศ ก็เป็นการบิดเบือนความจริง??
ดังเช่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ 7 ฉบับที่ "ท่านชวน หลีกภัย" ประธานรัฐสภา ได้บรรจุระเบียบวาระให้ถกอภิปรายกันระหว่างวันที่ 17-18 พฤศจิกายน 2563 ว่าจะเห็นชอบรับญํตติทั้ง 7 ฉบับมาพิจารณารวมกัน
ความจริงของกระแสเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2560 ไม่ใช่เป็นเรื่องของประชาชนทั่้งประเทศ เพราะมีบางส่วนคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้ทำอะไรให้ประชาชนคนส่วนใหญ่เดือดร้อน
ดังนั้นเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ 7 ฉบับที่ซีกรัฐบาล ขั้วฝ่ายค้าน รวมทั้ง ไอลอว์ ที่ประชาชนร่วมลงชื่อเสนอเข้ามาแก้ไข ก็มิใช่ว่า ส.ส.บางส่วน และ ส.ว.บางฝ่ายเออออเห็นด้วยทั้ง 7 ฉบับ อันเป็นความจริงที่ไม่อาจบิดเบี้ยวได้
เนื่องจากมีข่าวปูดออกมาอย่างที่ได้รับรู้ไปอย่างกว้างขวางทั่วราชอาณาจักรว่า มี ส.ส.และ ส.ว.ส่วนหนึ่งร่วมกันลงชื่อเพื่อยื่นศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยตีความว่าการเสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญทุกฉบับขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่??
เพราะตามญํตติแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ย่อมขัดรัฐธรรมนูญตามที่ศาลรัฐธรรมนูญได้เคยวินิจฉับแล้วในอดีตว่าการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งหมดเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
ถ้าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ต้องแก้ไขเป็นรายมาตรการตามที่รัฐธรรมนูญได้เขียนไว้ในหมวดเรื่องของการแก้ไชรัฐธรรมนูญ!!
วันนี้ไม่มีใครเดาได้ว่าที่ประชุมรัฐสภาร่วมกันระหว่าง ส.ส. กับ ส.ว. จะเห็นชอบญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 7 ฉบับ หรือให้ผ่านเพียงไม่กี่ฉบับ หลังจากจบสิ้นการอภิปรายแสดงความคิดเห็นกันในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 เรา ๆ ท่าน ๆ ก็จะได้รู้กัน!!
ทว่ามีกระแสเรียกร้องของนักการเมือง กลุ่มการเมือง และบรรดาอาจารย์นักวิชาการให้ที่ประชุมรัฐสภารับญํตติแก้ไขรัฐธรรมนูญทั่้ง 7 ฉบับอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน จะได้ไม่เกิดปํญหาตามมา
ส่วนเรื่องการส่งเรื่องยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญ "ตึความ" ว่าการตั้ง ส.ส.ร.เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่เป็นการขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น ก็มีเสียงของบางฝ่ายไม่เห็นด้วยที่จะทำให้เรื่องสั้นกลายเป็นเรื่องยาว
มีข่าววงในแลบออกมาในวงนอกว่า "ลุงตู่" ไม่ประสงค์ที่จะให้มีการยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความให้มากความ อยากให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา
ก็ไม่รู้ว่า ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล และ ส.ส.ที่ "ลุงตู่" แต่งตั้งเข้ามาด้วยมือตัวเองจะฟังคำของ "ลุงตู่"หรือไม่??
ดังนั้นการยื่น "ตีความ" การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ให้ ส.ส.ร.ยกร่างใหม่ทั้งฉบับว่าขัดรัฐธรรมนูญฉบับคุณสมชาย (คสข.)จะเกิดขึ้นหรือไม่ โปรดติดตามชมกันอย่าได้กะพริบตา!!
ที่แน่ ๆ พระราชบัญญัติออกเสียงประชามติจะต้องเกิดขึ้นแน่ ๆ ต่อคิวจากการผ่านญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญเรียบร้อยโรงเรียนสภาไปเรียบร้อยแล้ว
เพราะว่าตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญปี 2560 ได้ระบุว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วจะต้องทำประชามติถามความเห็นขอบจากประชาชนทั้งประเทศว่าเห็นควรด้วยหรือไม่ตามที่ได้มีการแก้ไข
เพื่อให้ "รัฐธรรมนูญ" ที่่ได้ยกร่างใหม่หรือแก้ไขใหม่ต้องให้ประชาชนตัวจริงเสียงจริงเข้ามามีส่วนร่วมแสดงความต้องการให้ตนเอง!!
กูรูทางการเมืองวิเคราะห์เจาะลึกมาว่า มติของประชาชนส่วนใหญ่จะเห็นชอบกับ "รัฐธรรมนูญ" ที่ได้แก้ไขเป็นฉบับใหม่ แม้ว่าจะมีเสียงของประชาชนบางส่วนคัดค้านก็ตาม แต่ก็เป็นไปตามความเห็นต่างที่ต้องยุ่งกันเข้าไว้ตามวิถีประชาธิปไตย
ทั้งนี้และทั้งนั้น เชื่อว่าประชาชนส่วนใหญ่ที่ให้ผ่าน เพราะต้องการให้บ้านเมืองที่วุ่นวายได้คลี่คลายลงไป!?!
ประการสำคัญไม่มีใครคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่า "รัฐธรรมนูญ" ที่ได้ออกแบบมาใหม่นั้นจะเป็น "รัฐธรรมนูญ" เจ้าปัญหาอีกหรือไม่??
แม้ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะสำเร็จลุล่วงไปแล้วก็ตาม แต่ "ลุงตู่" ยังคงต้องเผชิญหน้ากับ "ม็อบ" ต่อไป
เพราะถ้า "ลุงตู่" ไม่ลาออก ก็จะมีจัดอีเวนท์ของ "ม็อบ" ตลอดไปจนกว่า "ลุงตู่" ออกไป??
จบข่าว สวัสดีมีชัยนะ "ลุงตู่"!!
Social Links