จำเป็นก็ต้องสร้างโรงไฟฟ้าในต่างแดน?

จำเป็นก็ต้องสร้างโรงไฟฟ้าในต่างแดน?

 

จำเป็นก็ต้องสร้างโรงไฟฟ้าในต่างแดน?

 

            “ห้ามสร้างโรงไฟฟ้า แต่ไฟฟ้าห้ามขาด” นั่นคือ…คำประกาศิตจากกลุ่มต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ พื้นที่ที่มีปริมาณความต้องการใช้แต่ละปีราว 2,700 เมกะวัตต์

            อีกข้ออ้างที่เอ็นจีโอนอกพื้นที่กลุ่มนี้ มักนำมาใช้อยู่เสมอ คือ ภาคใต้มีกำลังผลิตไฟฟ้าสูงถึง 3,089 เมกะวัตต์ แล้วทำไมจึงต้องสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นด้วย ทั้งที่ความต้องการใช้…จริงต่ำกว่ากำลังผลิตที่มี

            ทีมข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าว ThaiBCC.news ขอนำข้อเท็จจริงที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. เคยออกมาให้ข้อมูลในเรื่องนี้ โดย กฟผ.ชี้ให้เห็นว่า…ภาคใต้มีกำลังผลิต 3,089 เมกะวัตต์จริง แต่ได้ไฟฟ้าที่ผลิตจากโรงไฟฟ้าหลัก คือ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน หรือชีวมวลประเภท firm อย่างเพียงพอนั้น หมายถึง…สามารถสั่งการได้ตามความต้องการของระบบ และจ่ายไฟฟ้าได้ต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง (firm) นั้น มีแค่เพียง 2,406 เมกะวัตต์

            นั่นเพราะบางส่วนเวลา ภาคใต้ยังต้องพึ่งพาโรงไฟฟ้าประเภท Non-Firm ที่จ่ายไฟฟ้าได้เป็นบางเวลา หรือไม่สามารถสั่งการได้ อาทิ โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฎร์ธานี และโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนบางลาง จ.ยะลา สามารถเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเสริมได้เพียงบางช่วงเวลาเท่านั้น และไฟฟ้าในส่วนนี้ มีสูงถึง 600 เมกะวัตต์ ทีเดียว

            พูดได้เต็มปากว่า…ภาคใต้ ซึ่งมีทั้งโรงงานอุตสาหกรรม แหล่งบริการและสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย รวมถึงอาคารบ้านเรือนที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นทุกๆ ปีนั้น ยังไม่มีความมั่นคงทางด้านพลังงานไฟฟ้าอย่างเพียงพอ และข้อเท็จจริงตามมาก็คือ…ทุกๆ วัน มีการส่งไฟฟ้าจากภาคกลางไปยังภาคใต้สูงถึงวันละ 200-600 เมกะวัตต์ โดยปริมาณไฟฟ้าสุทธิที่ส่งจากภาคกลางไปภาคใต้ปัจจุบันในปี 2559 เฉลี่ยถึงวันละ 3 ล้านหน่วยทีเดียว

            แต่โจทย์ที่ยากกว่านั้น คือ “โรงไฟฟ้าห้ามเกิด แต่ไฟฟ้าห้ามขาด!” ก็ถ้าหากความต้องการใช้ไฟฟ้าในภาคใต้ยังคงมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกวันนี้ และหากวันใดมิใช้ไฟฟ้าจากแหล่งผลิต ประเภท Non-Firm หรือความต้องการใช้ไฟฟ้าจากภาคกลางเพิ่มขึ้น หรืออาจถึงขั้นผลิตได้ไม่พอกับความต้องการ กระทั่งหยุดจ่ายไฟฟ้าให้กับภาคใต้แล้ว อะไรจะเกิดขึ้นตามมา? ความเสียหายที่มี…ใครจะรับผิดชอบ? กลุ่มต่อต้าน-เอ็นจีโอ จะยืดอก…แสดงความรับผิดชอบกระนั้นหรือ?

 

            ถึงตรงนี้ ทุกองค์กรทุกภาคส่วนในกลุ่มจังหวัดทางภาคใต้ หรือแม้กระทั่ง รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง อย่าง…กฟผ. จำต้องระดมสมองเพื่อหาทางออกกับภาคใต้ ที่สุ่มเสี่ยงต่อการขาดความมั่นคงทางด้านพลังงานไฟฟ้า และอาจมีไฟฟ้าใช้อย่างไม่เพียงพอ จนส่งผลกระทบในวงกว้างขึ้นได้

            จำเป็นจริงๆ ก็ต้องลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าที่มีต้นทุนผลิตต่ำสุด ราคาขายต่อหน่วยถูกที่สุด มีผลกระทบต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ผลิตและจ่ายไฟฟ้าอย่างมีระดับเสถียรให้มากที่สุด ฯลฯ หากทำสิ่งนี้ได้…แม้จะต้องใช้พื้นที่ในต่างแดน เพื่อสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าขึ้นมา…เมืองไทยก็จำต้องทำ และต้องเร่งดำเนินการในทันที ก่อนทุกอย่างจะสายเกินแก้ไข

 

ทีมข่าวเศรษฐกิจ

สำนักข่าว ThaiBCC.news

 

 

 

 

 

You may also like

ราคาคาร์บอนเครดิตกับปัญหา การพัฒนาตลาดคาร์บอนในประเทศไทย

ด้วยรูปแ