ดันข้าว“ฮัก พะเยา ”สู่ตลาดโลก

ดันข้าว“ฮัก พะเยา ”สู่ตลาดโลก

ดันข้าว“ฮัก พะเยา ”สู่ตลาดโลก

         “ข้าวตราฉัตร” จับมือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดพะเยา และเกษตรกรสมาชิกผู้ปลูกข้าวหอมมะลิ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา ภายใต้โครงการพัฒนาวัตถุดิบต้นน้ำ ของ บริษัท ข้าว ซี.พี.จำกัด จัดงานวันเก็บเกี่ยวข้าวหอมมะลิโลก ครั้งที่ 3 (3rd World’s Hom Mali Rice Harvesting Day) ขึ้น เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งขับเคลื่อน “พะเยาโมเดล” ตามนโยบายของภาครัฐ ผ่านระบบส่งเสริมการผลิตข้าวที่ได้มาตรฐาน ตรงตามความต้องการตลาด โดยใช้นโยบายการตลาดนำการผลิต ชวนพันธมิตรคู่ค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ C.P.INTERTRADE (SHANGHAI) CO.,LTD  SHANGHAI RONGYOU INTER-TRADE CO.,LTD  7-Eleven และ Shoppe ร่วมลงนาม MOU พร้อมเป็นช่องทางกระจายสินค้าข้าวหอมมะลิคุณภาพในแบรนด์ ข้าว “ฮัก พะเยา” สู่ตลาดโลก สร้างรายได้ที่แน่นอน และความมั่นคงในอาชีพให้กับเกษตรกร นำไปสู่การพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืน และเพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพของข้าวหอมมะลิไทย ซึ่งจังหวัดพะเยา ถือเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ให้คู่ค้าทั้งชาวไทยและต่างชาติได้รู้จัก และเป็นที่ยอมรับต่อไป
             ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์    บอกว่า การขับเคลื่อนการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตร ภายใต้ “พะเยาโมเดล” เพื่อสร้างต้นแบบการส่งเสริมการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรที่มีคุณค่าเฉพาะตามความต้องการของตลาด ซึ่งข้าวหอมมะลิ คือหนึ่งในสินค้าเกษตรที่สำคัญของจังหวัดพะเยา เพราะดินที่ใช้ปลูกข้าวหอมมะลิในจังหวัดพะเยาเป็นดินที่เกิดจากตะกอนลำน้ำที่มีส่วนประกอบจากหินภูเขาไฟและหินตะกอนชนิดต่างๆ  พบบริเวณพื้นที่ราบหรือค่อนข้างราบระหว่างหุบเขา ดินมีการระบายน้ำเลว เนื้อละเอียด ซึ่งเหมาะแก่การปลูกข้าวหอมมะลิ ประกอบกับการมีแร่ธาตุต่างๆ มากมายที่ถูกพัดพามาจากน้ำแม่อิง ทำให้ข้าวหอมมะลิพะเยามีความหอมที่โดดเด่น และเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร อีกทั้งเรายังใช้นโยบายการตลาดนำการผลิต เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้แน่นอนและความมั่นคงในอาชีพเกษตรกรรม และงานวันเก็บเกี่ยวข้าวหอมมะลิโลก ครั้งที่ 3 นี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของพะเยาโมเดล ภายใต้เงื่อนไขข้อตกลงกับ บริษัท ข้าว ซี.พี.จำกัด ในการรับซื้อข้าวหอมมะลิจากเกษตรกรสมาชิกจังหวัดพะเยาที่ 18,000 บาทต่อตัน ณ ความชื้นที่ 15%
                   นายสุเมธ เหล่าโมราพร ประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ รับผิดชอบธุรกิจข้าวและอาหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ข้าวตราฉัตร) กล่าว “ขอบคุณภาครัฐ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานทุกภาคส่วนที่ร่วมกันจัดงานในครั้งนี้  ซึ่งงานวันเก็บเกี่ยวข้าวหอมมะลิโลก ปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 และ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา ถือเป็นพื้นที่ส่วนขยายของโครงการพัฒนาวัตถุดิบต้นน้ำบริษัทฯ นอกเหนือจากเขตพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งบริษัทดำเนินโครงการฯ มาต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 7 ปี
                   โดยจุดเด่นของโครงการพัฒนาวัตถุดิบต้นน้ำ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา ภายใต้ระบบการผลิตข้าวคุณภาพด้วยมาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practices หรือ ข้าว Q) อยู่ที่ คัดเลือกเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี มีความบริสุทธิ์ไม่น้อยกว่า 98% มาเพาะปลูกบนแปลงนาของเกษตรกรสมาชิก  มีการตรวจวิเคราะห์ดิน เพื่อพัฒนาคุณภาพดินในแปลงนาให้ดีขึ้น ไม่มีสารตกค้าง  น้ำที่ใช้ในการเพาะปลูกต้องปลอดภัย ไม่มีการปนเปื้อนวัตถุอันตราย  มีเกณฑ์การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรแบบถูกวิธี เหมาะสม และปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม  มีระบบสำรวจแมลง ศัตรูพืช หรือโรคต่างๆ ในแปลงนา โดยการตรวจเช็คต้นข้าวในแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ  เลือกช่วงเวลาเก็บเกี่ยวข้าวที่เหมาะสม (ระยะสุกแก่ หรือระยะพลับพลึง) เพื่อให้ได้ข้าวเปลือกที่มีคุณภาพดีที่สุด  และเกษตรกรสมาชิกทุกราย มีระบบการจดบันทึกข้อมูลเพาะปลูกทุกขั้นตอนการผลิตข้าว เพื่อสามารถตรวจสอบที่มาของผลผลิตได้ และที่สำคัญเกษตรกรสมาชิกทุกรายมั่นใจได้ว่า ข้าวที่ปลูก มีตลาดรองรับผลผลิตที่แน่นอน เพราะบริษัทฯ รับซื้อข้าวคืนในราคานำตลาด ตามข้อตกลงการรับซื้อผลผลิตคืนในรูปแบบ “พะเยาโมเดล” ตามนโยบายของภาครัฐ 

                โดยมีเป้าหมายส่งเสริมคุณภาพชีวิต ยกระดับรายได้เกษตรกรไทย และพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน ตรงตามความต้องการตลาด เพื่อนำร่องไปสู่จังหวัดอื่นๆ และขยายผลไปในสินค้าเกษตรที่สำคัญ มีข้อตกลงการรับซื้อผลผลิต “ข้าวหอมมะลิ” ในจังหวัดพะเยาร่วมกันระหว่างสหกรณ์การเกษตร, สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า, ธ.ก.ส. พะเยา จำกัด และบริษัท ข้าว ซี.พี. จำกัด หรือ ข้าวตราฉัตร ตั้งเป้าหมายรับซื้อผลผลิตคืนจากเกษตรกรสมาชิก อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา ภายใต้โครงการพัฒนาวัตถุดิบต้นน้ำ รวมทั้งสิ้น 40,000 ตัน (จากผลผลิตรวมทั้งหมดจังหวัดพะเยา จำนวน 181,340 ตัน)  โดยมีจุดรับซื้อข้าวเปลือกหอมมะลิจากเกษตรกร จำนวน 12 จุด ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ในจังหวัดพะเยา ทั้งนี้บริษัทฯ ได้จัดทำโครงการพัฒนาวัตถุดิบต้นน้ำ เพื่อส่งเสริมคุณภาพข้าวหอมมะลิในพื้นที่ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา ตั้งแต่ปีฤดูกาลผลิต 2560/61 จนถึงปัจจุบัน (รวมระยะเวลา 2 ปี) ทำให้ปัจจุบันมีพื้นที่ส่งเสริมรวมทั้งหมด จำนวน 20,171 ไร่ และมีเกษตรกรสมาชิก จำนวน 937 ราย

ภายในงานฯ ครั้งนี้ เราใช้นโยบายการตลาดนำการผลิต ชวนพันธมิตรคู่ค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ C.P.INTERTRADE (SHANGHAI)CO.,LTD  SHANGHAI RONGYOU INTER-TRADE CO.,LTD  7-Eleven Makro และ Shopee ร่วมลงนาม MOU ทางการค้า เพื่อเป็นช่องทางในการกระจายสินค้าข้าวหอมมะลิคุณภาพ ในแบรนด์ ข้าว “ฮัก พะเยา” ไปสู่ผู้บริโภคในตลาดโลก”
           ด้าน คุณมาลี อุทัยกิตติศัพท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สำนักบริหารผลิตภัณฑ์ Dry Food บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในช่องทางจัดจำหน่าย ข้าว “ฮัก พะเยา” บอกว่า “ด้วยนโยบายและความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ที่ให้การสนับสนุนสินค้าของคนไทยของ SME และของเกษตรกรที่ผลิตอย่างมีคุณภาพมาตลอด โดยเป็นหนึ่งในช่องทางจัดจำหน่าย ซึ่งโครงการข้าว “ฮัก พะเยา” เป็นโครงการที่ดี สอดคล้องกับปณิธานองค์กรของบริษัท ร่วมสร้างสรรค์และแบ่งปันโอกาสให้ทุกคน บริษัทจึงมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสเข้ามาร่วมจัดจำหน่ายสินค้าข้าว “ฮัก พะเยา” ซึ่งเป็นหนึ่งในผลผลิตของเกษตรกรไทยจังหวัดพะเยา ให้กระจายไปยังผู้บริโภคทั่วประเทศอย่างทั่วถึง ผ่านร้านเซเว่น อีเลฟเว่น กว่า 10,000 สาขา และช่องทางออนไลน์ของซีพีออลล์ ในทุกรูปแบบ”
           ด้าน นางศิริพร เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการสื่อสารองค์กร บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) บอกว่า “เป็นหนึ่งในช่องทางจัดจำหน่าย ข้าว “ฮัก พะเยา” กล่าวว่า “ด้วยนโยบายและความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ที่ให้การสนับสนุนสินค้าคนไทยที่มีคุณภาพมาโดยตลอด ซึ่งโครงการนี้ แม็คโคร เล็งเห็นว่าเป็นโครงการที่ดีและสอดคล้องกับนโยบายของบริษัทฯ  ที่มุ่งเน้นการสร้างคุณประโยชน์อย่างยั่งยืนให้กับประเทศชาติ สังคม และองค์กร  จึงยินดีที่จะเข้าร่วมสนับสนุน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรไทยให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมถึงการเป็นช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าข้าว “ฮัก พะเยา” เพื่อส่งผ่านข้าวหอมมะลิคุณภาพจากเกษตรกรไทยจังหวัดพะเยาไปยังผู้บริโภคทั่วประเทศ ผ่านแม็คโคร 28 สาขา ทั่วประเทศ”
            เอกลักษณ์ความอร่อยของ ข้าว “ฮัก พะเยา” (Hug-Phayao) ข้าวนาน้ำฝน ของดี เมืองดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา จึงอยู่ที่เรื่องราวที่มาของข้าว เพราะเป็นข้าวหอมมะลิจากแหล่งปลูกเดียว บนผืนนา จ.พะเยา (Sungle Origin) ผืนนาที่ธรรมชาติสรรสร้างขึ้นมาอย่างลงตัวจากผืนนาดินเหนียวใกล้เชิงภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว โอบล้อมด้วยภูเขาสูง ผสมผสานกับแหล่งน้ำธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีแร่ธาตุที่เหมาะสม และสภาพอากาศที่พอดี ปราศจากมลพิษ จนเป็นข้าวหอมมะลิ คุณภาพดี เมล็ดเรียวยาว ขาว ใส และมีกลิ่นหอมจากธรรมชาติ คงความเป็นเอกลักษณ์ของข้าวหอมมะลิ จ.พะเยา ได้อย่างลงตัว

เพราะเราตั้งใจทำข้าวแบรนด์นี้ขึ้นมา เพื่อส่งต่อความรักจากเกษตรกร จ.พะเยา ให้คนไทยและคนทั่วโลก ได้ทานข้าวหอมมะลิ สามารถสัมผัสความอร่อยของข้าวหอมมะลิ ข้าว “ฮัก พะเยา” ได้ที่ห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วประเทศ อาทิ 7-Eleven, Makro, The Mall, CP FreshMart, Tops และสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุด Shopee รายเดียวเท่านั้น

You may also like

ลาซาด้า กรุ๊ป เปิดรายงานผลกระทบด้าน ESG ประจำปี 2567

ลาซาด้า