ตั้งพรรคใหม่คึกคัก – “บิ๊กตู่”นายกฯ “คนนอก”ลุ้นระทึก!!

  ตั้งพรรคใหม่คึกคัก – “บิ๊กตู่”นายกฯ “คนนอก”ลุ้นระทึก!!

 

                 ตั้งพรรคใหม่คึกคัก – “บิ๊กตู่”นายกฯ “คนนอก”ลุ้นระทึก!!

          การยื่นขอจดทะเบียนตั้งพรรคการเมืองใหม่ในวันแรกที่สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) ปรากฏว่าเป็นอย่างไปอย่างคึกคัก  มีคณะบุคคลมายื่นภายในวันนั้นถึง 42 พรรค

            แต่ทว่าวันต่อ ๆ มามีผู้มายื่นขอจดตั้งพรรคใหม่แผ่ว ๆ ลงไป วันที่สองมีแค่มายืน 2 พรรค วันต่อมามีเพียงพรรคเดียว  วันที่ 5 มีผู้มายื่น 5 พรรค  วันที่ 6 มายื่นเพิ่มเติมอีก 5 พรรค ตลอด 1 สัปดาห์แรกที่ คสช.เปิดล็อกให้จดทะเบียนตั้งพรรคการเมืองใหม่ได้รวมทั้งสิ้น 55 พรรค

ขออนุญาตนำรายชื่อแต่ละพรรคมาให้รับรู้กัน  แต่ก็ไม่ต้องถึงกับท่องจำ  เพราะยังไง ๆ ก็จำกันไม่ไหว และพรรคการเมืองที่ยื่นจดพรรคใหม่ก็อาจจำชื่อพรรคอื่น ๆ ไม่ได้ยกเว้นชื่อพรรคตัวเอง

            พรรคการเมืองใหม่มีรายชื่อดังต่อไปนี้  1.พรรคพลังชาติไทย   2. พรรคประชาไทย  3.พรรคพลังประชารัฐ   4. พรรคประชาชนปฏิรูป  5. พรรคสังคมประชาธิปไตยประชาชน  6. พรรคประชาชาติ  7.พรรคชาวนาไทย  8. พรรคพัฒนาไทย  9. พรรคเครือข่ายประชาชนไทย  10. พรรคเศรษฐกิจใหม่

            11.พรรคพลังพลเมืองไทย   12. พรรคธรรมใหม่  13.พรรคไทยเอกภาพ  14.พรรคประชาภิวัฒน์ 15.พรรคสหประชาไทย  16. พรรคทางเลือกใหม่ 17.พรรคชาติพันธุ์ไทย  18.พรรครักษ์แผ่นดินไทย 19.พรรคแผ่นดินธรรม  20. พรรคเพื่อชาติไทย

            21.พรรคกรีน   22. พรรคประชานิยม  23.พรรคพลังสยาม  24.พรรคสยามธิปัตย์  25.พรรคของประชาชน 26.พรรคพลังอีสาน  27.พรรครวมไจไทย  28.พรรคไทยศรีวิไลย์  29.พรรคประชามติ 30.พรรคพลังไทยยุคใหม่

            31.พรรคไทยรุ่งเรือง   32.พรรคเพื่อสตรีไทย  33.พรรครากแก้วไทย  34.พรรคน้ำใจไทย 35.พรรคไทยเสรีประชาธิปไตย  36.พรรคคนสร้างชาติ  37.พรรครวมไทยใหม่  38.พรรคสามัญชน 39.พรรคสยามไทยแลนด์  40.พรรคปฏิรูปประเทศไทย

            41.พรรคเห็นแก่ตัว  42. พรรคภาคีเครือข่าวไทย 43. พรรคพลังปวงชนไทย  44.พรรคพัฒนาประเทศไทย   45.พรรคไทยธรรม 46.พรรคพลังแรงงานไทย  47.พรรคพัฒนาแผ่นดิน 48.พรรคผึ้งหลวง 49.พรรคประชารัฐยั่งยืน  50.พรรคพลังสตรี

            51.พรรคเพื่อตนไทย   52. พรรคภูมิพลังเกษตรกรไทย  53. พรรคประชาธรรมไทย  54.พรรคมติประชา  55.พรรคไทยสาธุชน

            เอกซเรย์ชื่อพรรคการเมืองใหม่ที่ยื่นขอจดทะเบียนกับ กกต. จะปราฏว่ามีคำว่า “ไทย” มากที่สุด รองลงมาก็เป็นชื่อ “พลัง”   ก็ไม่รู้ว่าพรรคการเมืองใหม่จะมีโอกาสดังในวันข้างหน้าติดปากชาวบ้านเทียบเท่า “ประชาธิปัตย์” และ “เพื่อไทย” หรือไม่  เรา ๆ ท่าน ๆ คงต้องติดตามต่อ ๆ ไปจนถึงเข้าสู่สมรภูมิเลือกตั้ง

สำหรับพรรคที่ขอเกิดใหม่จะเกิดได้สำเร็จทุกพรรคหรือไม่  ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ   เพราะต้องหาสมาชิกพรรคให้ครบ 500 คนภายใน 180 วัน จากนั้นก็ต้องหาสมาชิกพรรคให้ครบ 5,000 คนใน 1 ปี และต้องหาสมาชิกพรรคให้ครบ 40,000 คนภายใน 4 ปี

             พรรคการเมืองที่จัดตั้งใหม่หวังจะได้มี ส.ส.เดินเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร จะต้องให้ได้ครบทุกเขตทั่วประเทศ  และการส่งผู้สมัคร ส.ส.จะต้องเสียค่าสมัครคนละ 10,000 บาท ถ้าส่งชิงชัยครบทั่วประเทศต้องเสียค่าใช้จ่ายถึง 50 ล้านบาท  นอกจากนี้ก็ยังมีค่าใช่จ่ายจิปาถะในการหาเสียงไม่เกินที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นล้าน ๆ บาท

            การเมืองเป็นเรื่องที่ต้องใช้เงินทั้งสิ้น โดยเฉพาะการจ่ายเงินตามระเบียบของกฎกติกามารยาทที่ไม่ผิดกฎหมาย  แต่ถ้าจ่ายเงินซื้อเสียงกับชาวบ้านผิดกฎหมายร้อยเปอร์เซ็นต์!!

            แม้ว่าการสู้ศึกเลือกตั้งทั่วประเทศจะต้องลงทุนด้วยงบถึง 50 ล้านบาท  แต่การที่มีผู้แห่มายื่นจดทะเบียนกันมากมายใน 7 วัน 55พรรค วันสุดท้ายของการขอจัดตั้งพรรคใหม่อาจมีถึง 100 พรรคก็ได้  เมื่อรวมทั้งพรรคเก่าที่มีอยู่ 69 พรรค อาจมีเกือบ 200 พรรคเพื่อเข้าร่วมตะลุมบอนกันชิงเก้าอี้ ส.ส.แน่นอน                 อย่างไรก็ตาม ณ วันนี้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับสุดท้ายซึ่งเป็นฉบับเจ้าปัญหาที่หวั่นวิตกจริตกันว่าจะโดน สนช.คว่ำ คือกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. กับกฎหมายว่าด้วยซึ่งที่ได้มาของ ส.ว. ก็ผ่านสะดวกโยธินด้วยมือของ สนช. โดยไม่มีเสียงค้าน มีแต่งดออกเสียงเล็ก ๆ น้อย ๆ !!

            ดังนั้นถ้าเป็นไปตามกระบวนการของโรดแม็พการเลือกตั้ง ก็ต้องไม่เกินเดือน ก.พ.2562 หรืออาจจะเร็วกว่านั้น   ถ้ามีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างรัฐบาล คสช. กกต.และพรรคการเมืองต่าง ๆ ว่าจะให้มีการเลือกตั้งวันเดือนไหนดี!!

            แต่ทว่าการเลือกตั้งที่หาเหตุเลื่อนแล้วเลื่อนอีก ทำให้รัฐบาล คสช.เสียความน่าเชื่อถือ เสียสัจจะวาจาที่ได้ประกาศต่อประชาคมโลก  ประชาชนส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยมั่นใจว่าเลือกตั้งจะอุบัติขึ้นมาในเดือน ก.พ.62 จริงหรือไม่??

            เพราะฉะนั้นความเชื่อถือมั่นใจ  วาจาสัตย์ ที่ ผู้นำประเทศ  คสช. และ สนช.ที่เดินหน้าไปสู่โรดแม็พเลือกตั้งในขณะนี้  ก็โปรดอย่าทำให้ประเทศชาติเสียหาย!?!

          สำหรับประเด็นสำคัญที่ประชาชนเกิดความไม่มั่นใจ ก็คือการขอเวลาสืบทอดอำนาจของ “ท่านผู้นำตู่”!!

            เนื่องจาก “บิ๊กตู่” แบ่งรับแบ่งสู้  ไม่ปฏิเสธหรือยอมรับให้ขัดเจน  แต่ก็ขอขอบคุณพรรคการเมืองที่สนับสนุน  ซึ่งการเลือกตั้งยังไม่เกิดขึ้น  ก็ยังพูดอะไรไม่ได้!!

          ดังนั้น ปัญหาที่อาจเกิดวิกฤติช่วงเลือกตั้งและหลังเลือกตั้งที่ต้องลุ้นระทึกให้ใจหายใจคว่ำ     ก็คือฤทธิเดชของอภินิหารทางกฎหมายจะส่งผลให้มีการ “สืบทอดอำนาจ” ตามแผนที่รัฐธรรมนูญจัดให้หรือไม่

            ปลายปี 2561 หรือต้นปี 2562 ไม่เกินเดือน ก.พ.รู้กันแน่ ๆ !!

                                                                                                นายจักรยาน

            

You may also like

“มนพร”สุดปลื้ม! สนามบินแม่ฮ่องสอน-เลย-น่านนคร คว้ารางวัล”EIA Monitoring Awards 2024″

“มนพร”สุ