บทบาทของ “องค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกัน” ในความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน 

บทบาทของ “องค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกัน” ในความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน 

บทบาทของ"องค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกัน" ในความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน 

ร.กฤษฎา พรหมเวค

คณะรัฐศาสตร์ ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

                จากกรณีสงครามรัสเซีย-ยูเครนซึ่งยืดเยื้อมาตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์นั้นยังคงดุเดือดจนถึงทุกวันนี้ และกลายเป็นประเด็นที่ส่งผลกระทบมากกว่าสองประเทศแล้ว โดยเมื่อไม่กี่วันนี้ ฟินแลนด์และสวีเดนได้ตัดสินใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต (NATO) ซึ่งนับเป็นความเคลื่อนไหวครั้งประวัติศาสตร์ของทั้งสองประเทศหลังจากที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดมานาน ท่าทีดังกล่าวทำให้รัสเซียเริ่มขยับโดยประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินกล่าวใน การประชุมองค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกัน (CSTO) ระบุว่า รัสเซียจะตอบโต้อย่างแน่นอน หากมีการขยายโครงสร้างพื้นฐานทางทหารในประเทศดังกล่าว โดยจะขึ้นอยู่กับชนิดของภัยคุกคามที่มีต่อรัสเซีย และมองว่าสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความมั่นคงระหว่างประเทศ

                จนทำให้คนหันมาสนใจถึงสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกัน (CSTO) ว่าคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร โดยวันนี้ผมจะมาอธิบายถึงองค์การดังกล่าวให้ทุกท่านเข้าใจ

                องค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกัน (Collective Security Treaty Organization: CSTO) หรือ Организация Договора о коллективной безопасности : ОДКБ ในภาษารัสเซีย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1992โดยการลงนามในสนธิสัญญาความมั่นคงร่วม (เรียกอีกอย่างว่า " สนธิสัญญาทาชเคนต์ ") ร่วมกันของอดีตรัฐสมาชิก จำนวน 6 ชาติ ได้แก่ รัสเซีย อาร์เมเนีย คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน และอุซเบกิสถาน ต่อมาในปี ค.ศ. 1993 อาเซอร์ไบจาน เบลารุส และจอร์เจีย ได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าว โดยสนธิสัญญามีผลบังคับใช้ในปี ค.ศ. 1994ห้าปีต่อมาสมาชิกหกในเก้าประเทศยกเว้นอาเซอร์ไบจาน จอร์เจียและอุซเบกิสถาน ตกลงที่จะต่ออายุสนธิสัญญาดังกล่าวต่อไปอีกห้าปีและในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 2002 ทั้งหกประเทศได้ตกลงกันที่จะสร้างองค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกันเพื่อเป็นพันธมิตรทางทหาร โดยได้ให้การรับรอง CSTO Charter ที่กรุงชิสเนาเมืองหลวงของประเทศมอลโดวา ทั้งนี้พวกเขาได้หารือและนำบทบัญญัติพื้นฐานของสมาคม – กฎบัตรและข้อตกลงซึ่งกำหนดสถานะทางกฎหมายระหว่างประเทศขององค์การฯ

                เอกสารเหล่านี้มีผลบังคับใช้ในปี ค.ศ.2003 จนถึงปี ค.ศ. 2022 องค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกันได้ก่อตั้งมาแล้วเป็นระยะเวลา 30 ปี มีคำขวัญว่า ВМЕСТЕ МЫ СИЛА! “รวมกันเรามีพลัง” ปัจจุบันมีสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ อาร์มีเนีย เบลารุส  คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน  รัสเซีย ทาจิกิสถาน สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงมอสโก ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกันคนปัจจุบันคือ นาย Станислав Васильевич ЗАСЬ ชาวเบลารุส โดยเข้ารับตำแหน่งเมื่อปี ค.ศ. 2020 ที่ผ่านมา เป็นเลขาธิการคนที่ 6 ของ องค์การฯ

                วัตถุประสงค์หลักขององค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกัน คือการดำเนินการต่อและเสริมสร้างความสัมพันธ์ในด้านนโยบายต่างประเทศทรงกลมทางทหารและทางทหารประสานงานร่วมกันในการต่อสู้กับการก่อการร้ายสากลและภัยคุกคามอื่น ๆ ต่อความมั่นคง ตำแหน่งในเวทีโลกเป็นกลุ่มทหารขนาดใหญ่ที่มีอิทธิพลทางทิศตะวันออก องค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกัน มีข้อตกลงคือถ้ามีประเทศสมาชิกถูกรุกรานจากภายนอก ก็จะถือว่าประเทศสมาชิกทั้งหมดถูกรุกรานด้วย พูดง่ายๆคือเป็น NATO ฉบับรัสเซียนั่นเอง 

                อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา CSTO ไม่ค่อยมีบทบาทมากนักในการเมืองระหว่างประเทศ รัสเซียมักจะดำเนินนโยบายด้านความมั่นคงของตัวเองตามลำพังมากกว่า ขณะที่ CSTO และสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย (Eurasian Economic Union หรือ EAEU) มีไว้เพื่อรักษาความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศอดีตสหภาพโซเวียตเป็นหลัก

                ขณะที่การสู้รบในสมรภูมิยูเครนยังดำเนินไปในเฟส 2 ของรัสเซีย มีชัยชนะเหนือเมืองยุทธศาสตร์มาริอูโปลแล้ว เค้าลางของนาโต้ที่พยายามเปิดพื้นที่ขัดแย้งเพิ่มเติมสู่ย่านทะเลบอลติก เมื่อฟินแลนด์และสวีเดนแสดงเจตจำนงค์เข้าร่วมนาโต้และผู้นำเดินทางเข้าพบประธานาธิบดีโจ ไบเดนแห่งสหรัฐ  ทางรัสเซียก็ได้เคลื่อนไหวทันที โดยลาออกจากสมาชิกกลุ่มทะเลบอลติก และได้ดำเนินการจัดการประชุมกลุ่มพันธมิตรทางทหาร CSTO ที่กรุงมอสโก เมื่อ วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคมปี ค.ศ. 2022 ที่ผ่านมา โดยการประชุมสุดยอดของ CSTO เป็นการหารือในประเด็นสำคัญของความร่วมมือ ตอบสนองต่อปัญหาระหว่างประเทศและระดับภูมิภาคในปัจจุบัน ตลอดจนมาตรการในการปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัยโดยรวม และสถานการณ์ในยูเครนการประชุมครั้งนี้ประกอบด้วยผู้นำจากประเทศสมาชิกทั้ง 6 โดยมีประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย นายกรัฐมนตรีนิโคล พาชินแห่งอาร์เมเนีย (Nikol Pashinyan), ประธานาธิบดีอเล็กซานเดอร์ ลูกาเชนโก (Alexander Lukashenko) แห่งเบลารุส, ประธานาธิบดีคัสซิม-โยมาร์ต โตกาเยฟ แห่งคาซัคสถาน (Kassym-Jomart Tokayev), ประธานาธิบดีซาเดียร์ จาปารอฟ (Sadyr Japarov) แห่งคีร์กีซสถาน และประธานาธิบดีโมมาลี ราห์มอน(Emomali Rahmon) แห่งทาจิกิสถาน

                การพบกันของผู้นำองค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วม (CSTO) ที่กรุงมอสโกครั้งนี้นับเป็นการพบกันต่อหน้าเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี ค.ศ.2019 ท่ามกลางวิกฤตในยูเครน  โดยมีถ้อยแถลงของคณะมนตรีความมั่นคงร่วมเพื่อเป็นเกียรติแก่วันครบรอบ 30 ปีของสนธิสัญญาและวันครบรอบ 20 ปีขององค์กร สมาชิกทั้งหมดเห็นร่วมกันและลงนามในการร่วมมือต่อต้านภัยคุกคามจากตะวันตกในรูปแบบก่อการร้ายและการปฏิวัติสี ทั้งนี้ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินจะใช้การประชุมสุดยอดของ CSTO เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งและมั่นใจ ให้กับองค์กรเพื่อจัดการกับภัยคุกคามที่เกิดขึ้นใหม่ทั้งในรูปการก่อการร้ายและ “การปฏิวัติสี” และกลุ่มที่นำโดยรัสเซียนี้จะส่งข้อความที่สอดคล้องกันไปยังตะวันตก ซึ่งพยามยามสร้างความแตกแยกระหว่างมอสโกและสมาชิก CSTO ประเทศอื่นๆตลอดเวลา

                ทั้งนี้สมาชิกขององค์การ CSTO ต่างกังวลว่าปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ทางการเมืองในประเทศอาจจะถูกกระตุ้นโดยตะวันตก  โดยการแพร่จากวิกฤตในยูเครนไปสู่การกระตุ้นกองกำลังฝ่ายต่อต้านรัฐบาลภายในประเทศ และส่งผลให้เกิด “การปฏิวัติสี” ในประเทศต่าง ๆ ตามวาระวอชิงตันได้ การป้องกัน “การปฏิวัติสี” เป็นเป้าหมายระยะยาวสำหรับประเทศต่างๆ ในเอเชียกลาง เนื่องจากสหรัฐฯ ได้วางแผนและดำเนินการบ่มเพาะมูลเหตุแห่ง “การปฏิวัติสี” มาเป็นเวลานานในภูมิภาคนี้ตั้งแต่ “การปฏิวัติกุหลาบ” ในจอร์เจียในปี 2546

                ซึ่งเราต้องคอยจับตาดูว่าองค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกันนั้น จะมีบทบาทสำคัญในการยุติความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ในอนาคตมากน้อยเพียงใด หรือจะเป็นก่อให้เกิดการเผชิญหน้าของสงครามระหว่าง 2 ฝ่ายในอนาคต.

You may also like

ราคาคาร์บอนเครดิตกับปัญหา การพัฒนาตลาดคาร์บอนในประเทศไทย

ด้วยรูปแ