ปปช.แจง!กรณีสินบนเจ้าหน้าที่รัฐ คดีภาษีนำเข้ารถยนต์พรีอุส

ปปช.แจง!กรณีสินบนเจ้าหน้าที่รัฐ คดีภาษีนำเข้ารถยนต์พรีอุส

ปปช.แจง!กรณีสินบนเจ้าหน้าที่รัฐ

คดีภาษีนำเข้ารถยนต์พรีอุส

            …………………………………………………………………………………………………………………….

เรื่องการตรวจสอบข้อมูลกรณีปรากฏข่าวทางสื่อมวลชน เกี่ยวกับการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในคดีภาษีนำเข้ารถยนต์พรีอุส

                วันนี้ (4 มิถุนายน 2564) นายนิวัติไชย เกษมมงคล รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. แถลงว่า ตามที่ปรากฎเป็นข่าวทางสื่อออนไลน์ว่า บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ป ได้รายงาน   ต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC) และกระทรวงยุติธรรมประเทศสหรัฐอเมริกา (DOJ)    ว่ามีความเป็นไปได้ที่บริษัทลูกแห่งหนึ่งของโตโยต้าในประเทศไทยอาจละเมิดกฎหมายต่อต้านการทุจริต                ในต่างประเทศของประเทศสหรัฐอเมริกา (Foreign Corrupt Practices Act: FCPA ) อีกทั้ง ปรากฏตามเว็บไซต์ Law360 ซึ่งเป็นเว็บไซต์รายงานข่าวและวิเคราะห์ด้านกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เปิดเผยข้อมูลกรณีบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ป ได้มีการสอบสวนภายในกรณีบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย อาจกระทำละเมิดกฎหมาย FCPA โดยระบุข้อมูลว่ามีความเป็นไปได้ที่อาจมีการจ่ายเงินไปยังบริษัทที่ปรึกษาทางกฎหมายหรือบริษัท    ที่ปรึกษาต่างๆ และเงินดังกล่าวก็ถูกส่งต่อไปยังเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อแลกกับผลประโยชน์ในรูปคดีอันเกี่ยวข้องกับคดีภาษีนำเข้ารถยนต์พรีอุสคิดเป็นมูลค่า 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (10,958,500,000 บาท) และเว็บไซต์ดังกล่าว        ได้เปิดเผยรายชื่อผู้พิพากษาระดับสูงของไทย และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการรับเงินตามที่ปรากฏเป็นข่าวอยู่ในขณะนี้ นั้น

                สำนักงาน ป.ป.ช. ขอเรียนว่า ตามกฎหมาย Foreign Corrupt Practices Act (FCPA) ของประเทศสหรัฐอเมริกา มีทั้งบทบัญญัติที่เกี่ยวกับความผิดทางบัญชีในเรื่องค่าใช้จ่ายที่ไม่เหมาะสม และความผิดทางอาญาเรื่องการให้สินบนเจ้าหน้าที่รัฐต่างประเทศ ซึ่งหน่วยงานของประเทศสหรัฐอเมริกาจะดำเนินคดีสินบนข้ามชาติ             ในลักษณะของการบูรณาการทำงานร่วมกัน โดยกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่กระทบโดยตรงต่อกระบวนการยุติธรรม     ของไทย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ชัดเจนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง            ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มอบหมายให้มีการรวบรวมข้อเท็จจริงเพิ่มเติม และคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะเป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานกับหน่วยงานของประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างใกล้ชิด โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช.     ได้มีการประสานงานกับทางการประเทศสหรัฐอเมริกาในคดีทุจริตอื่นๆ อยู่แล้ว 

                ทั้งนี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญซึ่งมีหน้าที่และอำนาจในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ซึ่งรวมถึงการไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีสินบนข้ามชาติที่มีความเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง หากปรากฏข้อมูลและพยานหลักฐานที่แสดงให้เห็นพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิด    ซึ่งอยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน    และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 หากหน่วยงานใดมีข้อมูลที่เกี่ยวข้อง สามารถส่งให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป

 

You may also like

แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ไทย

ยอดขายขอ