“ปวดหัว” โรคยอดฮิตใกล้ตัว ที่ไม่ควรปล่อยให้เรื้อรัง

“ปวดหัว” โรคยอดฮิตใกล้ตัว ที่ไม่ควรปล่อยให้เรื้อรัง

Stressed female designer sitting at desk in modern office

“ปวดหัว” โรคยอดฮิตใกล้ตัว ที่ไม่ควรปล่อยให้เรื้อรัง

          “ปวดศรีษะ” อีกโรคยอดฮิตของหลายคน ที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วสร้างความรำคาญได้ไม่นอ้ย และถ้ารุนแรงก็สร้างความทรมานให้กับร่างกายได้ ซึ่งหากเกิดอาการดังกล่าวบ่อยครั้ง อย่านิ่งนอนใจ หรือปล่อยไว้จนเกิดอาการเรื้อรัง เพราะอาจส่งผลเสียต่อร่างกายของเราได้

                มีข้อมูลที่น่าสนใจจาก นพ.ชยานุชิต ชยางศุ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบสมอง ศูนย์โรคระบบสมอง โรงพยาบาลนวเวช  ย่านเกษตรนวมินทร์ รัชดา-รามอินทรา ที่มีคำแนะนำเกี่ยวกับ วิธีการสังเกตอาการปวดศรีษะ และแนวทางการรักษามาฝาก

                อาการปวดศีรษะที่ควรรีบมาพบแพทย์

            ●อาการปวดศีรษะที่เป็นแบบเฉียบพลัน รุนแรง โดยเฉพาะความรู้สึกว่าอาการปวดเป็นการปวดที่สุดในชีวิตที่เคยเป็นมา

            ●มีอาการร่วมโดยเฉพาะ มีไข้ หรือมีคอแข็ง (ก้มศีรษะแล้วรู้สึกตึงหรือปวดบริเวณคอ)

            ●มีอาการชัก ซึม สับสน หรือหมดสติร่วมด้วย

            ●ปวดศีรษะแบบเฉียบพลันรุนแรงทันทีหลังการออกกำลังกาย หรือมีการกระทบกระแทกบริเวณศีรษะ

            ●ไม่เคยปวดศีรษะเป็นประจำมาก่อน แล้วมีอาการเฉียบพลันขึ้นมาโดยเฉพาะในคนที่อายุมากกว่า 40 ปี, หรือปวดศีรษะรุนแรงในขณะกำลังตั้งครรภ์

            ●มีอาการแขนขาอ่อนแรง ชา ตามองเห็นภาพซ้อน หรือมองไม่เห็น (อาการเห็นภาพซ้อน หรือมองไม่เห็นนี้อาจเกิดขึ้นได้ในคนที่เป็นไมเกรน แต่มักจะหายไปในเวลาไม่นาน) อย่างไรก็ตาม ถ้ามีอาการเหล่านี้ร่วมด้วยควรมาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยแยกโรคก่อน

                มีความกังวล หรือไม่แน่ใจว่าอาการปวดศีรษะอาจเป็นจากโรคร้ายแรงอย่างอื่น โดยเฉพาะถ้าปวดศีรษะบ่อยๆ หรือรุนแรง

                วิธีการดูแลรักษาเบื้องต้นเมื่อมีอาการปวดศีรษะ

            ●ทานยาแก้ปวดเมื่อมีอาการปวดศีรษะ อย่ารอจนอาการเป็นรุนแรง ยาที่ทานเป็นตัวแรกแนะนำ Paracetamol (ถ้าไม่เคยแพ้ Paracetamol) , ทานยาตามที่แพทย์สั่งถ้าเคยมาพบแพทย์แล้ว

            ●นอนพัก หรือถ้าหลับได้จะทำให้อาการดีขึ้นเร็ว พยายามหาที่มีแสงน้อย เงียบ เย็น จะทำให้อาการดีขึ้นได้

                วิธีปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงอาการปวดศีรษะ

                แนะนำให้หาปฏิทินเพื่อจดอาการปวดศีรษะ (Headache calendar) จดรายละเอียดเกี่ยวกับการปวดศีรษะ ทั้งวันที่เป็น เวลา สิ่งที่ทำก่อนที่จะมีอาการ อาหารที่ทานก่อนที่จะมีอาการ ยาที่ทานหรือสิ่งที่ทำให้อาการดีขึ้น สิ่งต่างๆเหล่านี้จะช่วยในการวินิจฉัยของแพทย์หรือแม้กระทั่งเตือนความจำของตัวเราเองว่าอะไรควรทำหรือไม่ควรทำ

                ปัจจัยที่เป็นสาเหตุกระตุ้นอาการปวดศีรษะที่พบได้บ่อย

            ●Stress ทุกอย่างที่ทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะ stress ไม่ใช่เฉพาะความเครียดอย่างเดียว รถติด อากาศร้อน แสงจ้า กลิ่นบางชนิดเช่นควันบุหรี่ ควันรถยนต์ กลิ่นน้ำหอม ช่วงมีประจำเดือน

            ●ไม่ได้ทานอาหาร โดยเฉพาะมื้อเช้า หรือทานเลยเวลามากเกินไป

            ●ได้รับ Caffeine มากหรือน้อยเกินไป มากเกินไปเช่นกาแฟวันละเกิน 3 แก้วขึ้นไป หรือน้อยเกินไปเช่นคนที่ทานกาแฟเป็นประจำทุกวันแล้วไม่ได้ทาน

            ●นอนไม่พอ หรือนอนมากเกินไป นอนไม่หลับ นอนกรน หรือหยุดหายใจขณะหลับ

            ●ดื่ม Alcohol

            ●อาหารบางชนิดเช่นชา กาแฟ ชีส ช็อคโกแล็ต ผงชูรส อาจเป็นสาเหตุกระตุ้นการปวดศีรษะ

                อาการปวดศีรษะรักษาอย่างไร?

                ปรกติอาการปวดศีรษะรักษาได้ด้วยยา ปัจจุบันมียาหลายชนิด ตั้งแต่ยาเบื้องต้นที่แนะนำทั่วไปอย่าง Paracetamol จนถึงยาฉีดเพื่อรักษาอาการปวดศีรษะสิ่งสำคัญคือการตรวจวินิจฉัยแยกโรคหรือภาวะอื่นๆที่ทำให้ปวดศีรษะออกไป ซึ่งทำได้ด้วยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย หรือบางกรณีอาจจะต้องทำการตรวจ CT scan หรือ MRI ก่อน, การรักษาโดยการซื้อยารับประทานเองโดยเฉพาะถ้ามีอาการปวดเป็นประจำ มีผลทำให้ติดยาได้ อาจทำให้การปวดศีรษะรุนแรงขึ้น ถี่ขึ้น โดยเฉพาะถ้าเป็นโรคอื่นๆแล้วทำให้มีอาการปวดศีรษะอาจมีความเสี่ยงทำให้ไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

You may also like

4NOLOGUE ผนึก Poriin เล่นใหญ่ ปล่อยคอนเสิร์ตแห่งปี “FROSTY VILLAGE” ชวนแฟนๆจอยปาร์ตี้สนุกสุดขั้ว  

4NOLOGUE