ปัจจัย“ใน-นอก”รุมเร้า! บาทอ่อนต่อเนื่อง-หุ้นไทยร่วงหลุดแนว 1,600 จุด

ปัจจัย“ใน-นอก”รุมเร้า! บาทอ่อนต่อเนื่อง-หุ้นไทยร่วงหลุดแนว 1,600 จุด

ปัจจัย“ใน-นอก”รุมเร้า!

บาทอ่อนต่อเนื่อง-หุ้นไทยร่วงหลุดแนว 1,600 จุด

สรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท

                เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 13 เดือนที่ระดับ 31.98 บาทต่อดอลลาร์ฯ ก่อนฟื้นตัวกลับมาได้บางส่วนปลายสัปดาห์ โดยเงินบาททยอยอ่อนค่าลง ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุนเป็นระยะจากถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟดที่สะท้อนความเป็นไปได้ว่าสัญญาณคุมเข้มนโยบายการเงินของสหรัฐฯ อาจมาเร็วกว่าที่คาด นอกจากนี้เงินบาทยังมีปัจจัยลบเพิ่มเติมจากความกังวลต่อความสามารถในการควบคุมสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ในประเทศ และมุมมองของ กนง. ที่ระมัดระวังมากขึ้นในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปีนี้และปีหน้า

                ในวันศุกร์ (25 มิ.ย.) เงินบาทอยู่ที่ระดับ 31.80 เทียบกับระดับ 31.45 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (18 มิ.ย.)       

      

                สำหรับสัปดาห์นี้(28 มิ.ย.-2 ก.ค.) ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 31.50-32.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ สถานการณ์โควิด 19 ในประเทศ และรายงานเศรษฐกิจการเงินเดือนพ.ค. ของไทย ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ประกอบด้วย ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร อัตราการว่างงาน ข้อมูลจ้างงานภาคเอกชนของ ADP ดัชนี PMI/ISM ภาคการผลิต และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิ.ย. ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขายเดือนพ.ค. ดัชนีราคาบ้านเดือนเม.ย. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามดัชนี PMI ภาคการผลิต/ภาคบริการเดือนมิ.ย. ของจีน และดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนมิ.ย. ของยูโรโซน และอังกฤษด้วยเช่นกัน

สรุปความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทย

                หุ้นไทยร่วงลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน โดยดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,582.67 จุด ลดลง 1.88% จากสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 79,969.58 ล้านบาท ลดลง 13.80% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai ลดลง 1.37% มาปิดที่ 498.57 จุด 

                หุ้นไทยร่วงลงตลอดสัปดาห์ ตามแรงขายของกลุ่มนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนต่างชาติ ท่ามกลางปัจจัยกดดันหลายประการ อาทิ ความกังวลเกี่ยวกับการส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาดการณ์เดิมของเฟด สถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ในประเทศที่ยังยืดเยื้อและมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น การปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยโดยกนง. ตลอดจนโอกาสในการล็อกดาวน์บางพื้นที่เพื่อควบคุมสถานการณ์โควิด 19 ปัจจัยดังกล่าวกระตุ้นแรงเทขายหุ้นเป็นวงกว้างในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมในสัปดาห์นี้                              สำหรับสัปดาห์นี้(28 มิ.ย.-2 ก.ค.) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,570 และ 1,550 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,600 และ 1,615 จุด ตามลำดับ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ สถานการณ์โควิด 19 ตลอดจนความคืบหน้าในการกระจายวัคซีนโควิด 19 ในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงประเด็นการเมืองภายในประเทศ ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนี PMI ภาคการผลิต ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร และอัตราการว่างงานเดือนมิ.ย. ตลอดจนข้อมูลนำเข้าและส่งออกเดือนพ.ค. ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนมิ.ย. ของญี่ปุ่นและยูโรโซน ดัชนี PMI เดือนมิ.ย. ของจีน และดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมิ.ย. (เบื้องต้น) ของยูโรโซน

You may also like

ราคาคาร์บอนเครดิตกับปัญหา การพัฒนาตลาดคาร์บอนในประเทศไทย

ด้วยรูปแ