ปัญหาท้องผูกเรื้อรัง และมะเร็งลำไส้ใหญ่

ปัญหาท้องผูกเรื้อรัง และมะเร็งลำไส้ใหญ่

ปัญหาท้องผูกเรื้อรัง และมะเร็งลำไส้ใหญ่

   ท้องผูกเรื้อรัง เป็นเรื่องพบเจอได้บ่อยในคนทั่วไป แต่เราไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะหากปล่อยไว้นาน  จนเรื้อรัง อาจเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่

นพ.พูล หวังวิศวาวิทย์ ศัลยแพทย์เฉพาะทางการส่องกล้องและกล้องส่องผ่าตัด ศูนย์ศัลยกรรมโรงพยาบาลหัวเฉียว กล่าวว่า โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับ 3 ในประเทศไทย ซึ่งหนึ่งในสาเหตุสำคัญของโรคเกิดจากอาการท้องผูกเรื้อรัง ที่มักเกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีใยอาหารไม่เพียงพอ ดื่มน้ำน้อย ขาดการเคลื่อนไหวร่างกาย หรือสาเหตุอื่น ๆ เช่น ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด หรือโรคประจำตัวบางโรค

ไม่ว่าด้วยสาเหตุใด การมีท้องผูกเรื้อรังอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะลำไส้อุดตันจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยเฉพาะเมื่อมีอาการท้องผูกเรื้อรังร่วมกับอาการอื่น ๆ อาทิ มีมูกเลือดปนในอุจจาระ อุจจาระลำเล็กลง ท้องผูกสลับท้องเสีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ดังนั้นจึงควรเฝ้าระวังและคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีอาการท้องผูกเรื้อรัง หรือมีการขับถ่ายอุจจาระลักษณะผิดปกติ ผู้ที่มีภาวะลำไส้อักเสบเรื้อรัง และผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่

การตรวจคัดกรองเบื้องต้น คือ การตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ และการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) ที่ทำให้แพทย์สามารถตรวจพบติ่งเนื้อ (Polyp) ระยะเริ่มต้นได้อย่างชัดเจน และสามารถ   ทำการตัดออกได้ก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งที่จะต้องทำการผ่าตัดใหญ่ในอนาคต

ศูนย์ศัลยกรรม โรงพยาบาลหัวเฉียว ให้บริการตรวจวินิจฉัยรักษาโรคทางศัลยกรรมทั่วไปและศัลยกรรมเฉพาะทาง โดยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านการผ่าตัดทางศัลยกรรมที่มีประสบการณ์ อีกทั้งยังมีการผ่าตัดส่องกล้อง ซึ่งเป็นการผ่าตัดสมัยใหม่ที่ช่วยให้แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว ทั้งยังใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผล ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้น

สิ่งสำคัญคือการเตรียมการทุกขั้นตอน เพื่อให้การผ่าตัดสำเร็จลุล่วงได้อย่างราบรื่นและปลอดภัย เราใส่ใจในทุกการทำหัตถการไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดเล็ก ผ่าตัดใหญ่ ผ่าตัดทั่วไป หรือผ่าตัดที่มีความซับซ้อนหรือผ่าตัดในเคสฉุกเฉิน   ด้วยทีมงานที่มีคุณภาพ  ทั้งทีมศัลยแพทย์ที่มีประสบการณ์และความชำนาญ ซึ่งจะทำงานร่วมกันกับทีมแพทย์ทุกสาขาและบุคลากรทางการแพทย์ด้านต่างๆ  เช่น ทีมวิสัญญีแพทย์-วิสัญญีพยาบาล ทีมพยาบาลผ่าตัด  และอื่นๆ  เพื่อให้การผ่าตัดได้อย่างแม่นยำ และช่วยให้การผ่าตัดบรรลุเป้าหมายความสำเร็จ

 

You may also like

แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ไทย

ยอดขายขอ