ภูมิอากาศเปลี่ยน ภาคธุรกิจเสี่ยง! “พนักงาน-การดำเนินงาน”มีปัญญหา เตือนต้องเร่งแก้ พร้อมแจง 5 มาตรการลดเสี่ยง

ภูมิอากาศเปลี่ยน ภาคธุรกิจเสี่ยง! “พนักงาน-การดำเนินงาน”มีปัญญหา เตือนต้องเร่งแก้ พร้อมแจง 5 มาตรการลดเสี่ยง

ภูมิอากาศเปลี่ยน ภาคธุรกิจเสี่ยง!

“พนักงาน-การดำเนินงาน”มีปัญญหา

เตือนต้องเร่งแก้ พร้อมแจง 5 มาตรการลดเสี่ยง

   อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส (International SOS) บริษัทผู้ให้บริการด้านสุขภาพและความมั่นคงปลอดภัยชั้นนำของโลก ได้เผยแพร่รายงานประเมินแนวโน้มความเสี่ยง (The Risk Outlook 2024) ประจำปี 2567 ซึ่งชี้ให้เห็นถึงผลกระทบเชิงลึกจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมีต่อธุรกิจทั่วโลก รายงานฉบับนี้นำเสนอข้อมูลสถิติสำคัญ ซึ่งบ่งชี้ว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความตระหนักรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับผลลัพธ์ที่มีนัยสำคัญของปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศและมีผลต่อการดำเนินงาน ตลอดจนความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน

รายงานดังกล่าวยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลลัพธ์ที่หลากหลายซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อคนทำงาน ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้น เช่น โรคภัยไข้เจ็บที่เกิดจากความร้อน และผลผลิตที่ลดลงอันเนื่องมาจากความร้อน นอกจากนี้ สภาพอากาศที่รุนแรงยังอาจทำให้ซัพพลายเชนทั่วโลกหยุดชะงักลงด้วย นอกเหนือจากผลกระทบทางกายภาพแล้ว สุขภาพจิตและการขาดงานก็เป็นปัจจัยสำคัญเช่นกัน ในขณะที่ความวิตกกังวลเกี่ยวกับสภาพอากาศส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลก

นพ.จามร เงินจารี ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส ให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มทางการแพทย์ดังกล่าวว่า “เรากำลังเผชิญกับพายุ ไฟป่า และมรสุมที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สภาพอากาศรุนแรงสุดขั้ว เช่น คลื่นความร้อนที่ส่งผลกระทบยุโรปจนถึงกับมีการตั้งชื่อให้เป็นครั้งแรกว่า “เซอร์เบอรัส” (Cerberus) ซึ่งอาจจะกลายเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นไปแล้ว ทุกวันนี้ สภาพอากาศเป็นเรื่องที่น่ากังวลมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพอากาศที่แย่ลง การแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ ไปจนถึงปัญหาสุขภาพจิตจากภัยพิบัติทางธรรมชาติและความวิตกกังวลเกี่ยวกับสภาพอากาศ ในความเป็นจริงนั้น มลพิษทางอากาศเป็นปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมอันดับต้น ๆ ที่ทำให้คนเราเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ขณะที่รูปแบบของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปยังก่อให้เกิดการอุบัติและการแพร่ระบาดของโรคที่มีแมลงเป็นพาหะ (vector-borne disease) ในพื้นที่ที่ไม่เคยได้รับผลกระทบมาก่อนอีกด้วย นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตของผู้คน ซึ่งอาจจะส่งผลในทันทีและทำให้เกิดสภาวะป่วยทางจิตใจหลังเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรงอันเนื่องมาจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือจากการเผชิญกับภัยพิบัติที่รุนแรงระดับโลกอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดความหวาดระแวงเรื่องสภาพอากาศและภาวะซึมเศร้าในระยะยาวได้”

สราวุฒิ ธัมจุล ผู้จัดการด้านความมั่นคงปลอดภัย บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส ได้แสดงความคิดเห็นว่า องค์กรต่าง ๆ ควรคำนึงถึงความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรงสุดขั้ว โดยการลงทุนเพื่อเตรียมรับมือกับสภาพอากาศช่วยเสริมสร้างความมั่นใจได้ว่าธุรกิจจะสามารถรับมือกับพายุหรือปัญหาได้ โดยคุณสราวุฒิ กล่าวว่า “แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมที่หลายฝ่ายกังวล แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ เรื่องนี้ยังเป็นปัจจัยหลักที่เพิ่มความเสี่ยงให้กับบุคคลและบริษัทต่าง ๆ อีกด้วย แม้ว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมักจะถูกละเลยในแง่ของการเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความขัดแย้งหรือประเด็นด้านความมั่นคง แต่ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็เป็นปัจจัยที่ทำให้ความตึงเครียด ความเปราะบาง และความท้าทายในการดำเนินงานที่มีอยู่เดิมรุนแรงขึ้นอย่างมาก โดยผลกระทบที่สะสมมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอาจจุดชนวนเหตุการณ์ความไม่สงบ ความรุนแรง และปัญหาความมั่นคงในระดับสูงได้ อีกทั้งยังทำให้สถานการณ์ความไม่มั่นคงทางการเมืองและเศรษฐกิจสังคมที่มีอยู่เดิมขยายวงกว้างมากยิ่งขึ้น”

องค์กรต่าง ๆ จึงควรติดตามเหตุการณ์เหล่านี้อย่างจริงจัง ให้ความสำคัญกับความพร้อมในการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และรวมมาตรการเชิงรุกเข้าไว้ในกรอบการดำเนินงานขององค์กร”

มาตรการ 5 อันดับแรกสำหรับองค์กร เพื่อลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปกป้องบุคลากรในปี 2567

  1. ฒนาแผนจัดการความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศอย่างครอบคลุม: ประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่มีต่อการดำเนินงานอย่างมีกลยุทธ์ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนกลยุทธ์ในการบรรเทาผลกระทบและการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ดึงพนักงานให้เข้ามามีส่วนร่วมทั้งองค์กร: ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างฝ่ายทรัพยากรบุคคล ผู้จัดการบริหารความเสี่ยง และผู้บริหารระดับสูง โดยอาศัยความเชี่ยวชาญที่หลากหลายของแต่ละส่วน เพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ
  3. 3. ยกระดับระเบียบด้านความปลอดภัยและเร่งเตรียมความพร้อมทางการแพทย์: สร้างระบบเพื่อสำรวจ ประเมิน และควบคุมความเสี่ยงด้านสุขภาพและความมั่นคงปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำความเข้าใจขีดความสามารถของสถานพยาบาลในท้องถิ่น และสร้างความมั่นใจเรื่องการเข้าถึงบริการทางการแพทย์เมื่อเกิดสถานการณ์หรือความผันผวน
  4. ให้การสนับสนุนทางด้านอารมณ์และความรู้สึกแก่พนักงาน: ดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อบรรเทาผลกระทบด้านสุขภาพจิตจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่มีต่อพนักงาน เช่น ความวิตกกังวล ความเครียด และสภาวะป่วยทางจิตใจหลังเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง (PTSD)
  5. ใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญและข้อมูลภายนอก: รู้จักหาข้อมูลเชิงลึกและการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญภายนอก เพื่อประเมินความเสี่ยงด้านความเปราะบางของสภาพอากาศ พร้อมศึกษาวิธีการที่ดีที่สุดในการรับมือกับความซับซ้อน เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในขณะที่ธุรกิจต่างเดินหน้าไปตามภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไปโดยมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเป็นปัจจัยกำหนดทิศทาง ทางอินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส พร้อมให้คำแนะนำและการสนับสนุนที่จำเป็น เพื่อสร้างความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานทั่วโลก

You may also like

กรุงศรีคาดเงินบาทซื้อขายในกรอบ 33.75-34.35 จับตาเงินเฟ้อสหรัฐฯ

กรุงศรีค