“มัดมือชก” กรรมตกที่คนไทย

“มัดมือชก” กรรมตกที่คนไทย

“มัดมือชก” กรรมตกที่คนไทย

 

            “มัดมือชก” คือสถานการณ์จริงที่คนไทยทุกคน จำต้องทนแบกรับต่างๆ เอาไว้ ชนิด…ยากจะปฏิเสธ! และปรากฏการณ์นี้…ก็มักจะเกิดขึ้นทุกครั้งที่บ้านเมืองไม่เป็นประชาธิปไตย ยิ่งในภาวะรัฐบาลเผด็จการทหาร ซึ่งมักขาดองค์ความรู้และขาดความเข้าใจในการบริหารประเทศอย่างมีประสิทธิภาพด้วยแล้ว อาการชักหน้าไม่ถึงหลังจึงมีให้เห็นร่ำไป

ผสมโรงด้วยแรงต่อต้านจากนานาชาติ ตั้งแต่มาตรการแซงก์ชั่นเบาๆ จนถึงขั้นรุนแรง กระทั่งมีการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในที่สุด รายได้หลักของประเทศ…อย่าง การส่งออก การท่องเที่ยว และการเปิดรับทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทย ไม่เป็นไปอย่างที่คาดหวัง แน่นอนเศรษฐกิจในประเทศย่อมได้รับผลกระทบเต็มๆ

            ผลที่ตามมาคือ สภาพเงินฝืด หรือคนมีเงินแต่ไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย ไม่จะลงทุน จึงมีให้เห็น และส่วนใหญ่ของคนกลุ่มคือ ก็คือ ชนชั้นกลางขึ้นไปถึงคนระดับบน และระดับบนสุดของประเทศ ไม่ต้องพูดถึงระดับชาวบ้านร้านตลาด ลูกจ้าง พนักงาน และผู้ใช้แรงงานที่แน่นอนว่า…ถ้ามีเงิน คนกลุ่มนี้ จะพยายามนำไปซื้อข้าวของเครื่องใช้ ทั้งที่จำเป็นและไม่จำเป็น เรื่องจะเก็บไว้กับตัวเหมือนคนอีกกลุ่ม…ถือว่ามีน้อยมากถึงมากที่สุด!

            แต่ประเด็นสำคัญคือ คนกลุ่มนี้ขาดสภาพคล่อง พูดง่ายๆ ไม่มีเงิน กระเป๋าฉีก ว่างงาน มีรายได้ไม่พอรายจ่าย จิปาถะ…อาการ “เงินฝืด” เพราะกักเก็บเงินโดยไม่ใช่ จึงไม่ปรากฏให้เห็นคนกลุ่มนี้

            กลับมาที่ประเด็นที่ ทีมข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าว ThaiBCC.news จั่วหัวเอาไว้ คือ สภาพ “มัดมือชก” อันเนื่องมาจากการรัฐบาล คสช.ทำมาหากินในนาม “รัฐบาลไทย” ได้ไม่เก่ง แถมยังถูกต่อต้านเอาจากรัฐบาลนานาชาติ โดยเฉพาะชาติตะวันตกที่เป็นคู่ค้าที่สำคัญของไทย จนฐานะทางการเงินของประเทศค่อนข้างจะสั่นคลอน

            ยิ่งรัฐบาล คสช. เปิดช่องให้กองทัพทำการจัดซื้อจัดหาอาวุธหนักเบาต่างๆ มากมาย งบประมาณที่เพิ่มขึ้นนี้ จึงต้องดึงเอาไปจากส่วนอื่นๆ โดยเฉพาะส่วนที่ควรจะนำไปพัฒนาประเทศ รวมถึงใช้เป็นสวัสดิการของรัฐ มอบให้คนไทยทั้งประเทศ เรื่องจะไปตัดงบรายจ่ายประจำ อย่าง…เงินเดือนและสวัสดิการของข้าราชการนั้น ไม่ต้องพูดถึง เพราะมันเป็นไปไม่ได้ เนื่องเพราะคนกลุ่มนี้…คือ ฐานพลังงานที่แข็งแกร่งของ คสช.เลยทีเดียว

 

            นี่ยังไม่นับเงินกู้ที่นำมาใช้เพื่อการบริหารราชการแผ่นดิน ที่กู้วันนี้…ไม่รู้คนรุ่นใหม่สักกี่รุ่น จะต้องชดเชยจนครบ นั่นก็เป็นหนึ่งในภาวะ “มัดมือชก” เช่นกัน

            อีกหนึ่ง ที่คนไทยโดนกันเต็มๆ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของรถยนต์ หรือเป็นผู้โดยสาร รวมถึงพวกที่หาเช้ากินค่ำทั่วไป นั่นก็คือ ราคาน้ำมันที่แพงขึ้น แพงมากเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง…พม่าและมาเลเซีย ทั้งๆ ที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก เคยลดลงต่ำกว่า 50 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และแม้วันนี้จะเคลื่อนไหวอยู่ในระดับ 65-75 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ตามภาวการณ์สำรองน้ำมันของกลุ่มประเทศตะวันตกที่กำลังผจญกับสภาวะ “หนาวจัด” จำเป็นต้องสำรองพลังงานเหล่านี้เอาไว้ปั่นไฟ สร้างไออุ่น รวมถึงนโยบายของกลุ่มโอเปกและนอกโอเปก ที่ประกาศจะลดกำลังการผลิตเพื่อหวังกดดันให้ราคาน้ำมันดิบปรับสูงขึ้น

            ทว่าหากเทียบราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่น ระหว่างไทยกับมาเลเซีย ซึ่งแม้ว่า…คุณภาพน้ำมันของไทย (ยูโร-4) จะสูงกว่าเพื่อนบ้าน (ยูโร-2) แต่มันก็สมเหตุผลเพราะราคาหน้าโรงกลั่นของไทยก็แพงกว่าอยู่ถึงลิตรละ 0.50 บาท อย่างไรก็ตาม เมื่อนำราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นของมาเลเซียและไทยมาเปรียบเทียบกัน ซึ่งของมาเลเซียอยู่ที่ระดับ 15.30-16.00 บาทต่อลิตร ขณะที่ไทยขยับสูงขึ้นเป็น 16.00-17.00 บาทต่อลิตร แล้ว

            ราคาน้ำมันขายปลีกของไทย โฟกัสเฉพาะตัวหลักๆ เช่น แก๊สโซฮอล์ 95 ที่ระดับ 28.50 บาทต่อลิตร และดีเซล 27.59 บาทต่อลิตร ที่ราคาน้ำมันขายปลีกทั้ง 2 ตัวของเพื่อนบ้าน อยู่แค่ 17 บาทเศษๆ เท่านั้น

            ราคาที่ต่างกันถึงเกือบเท่าตัวนี้ ก็คือ มูลค่าของภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่รัฐบาลคสช. จัดเพิ่มเข้าไป เพื่อนำรายได้จากน้ำมัน มาจุนเจือกับรายได้ที่หดหายไปกับการบริการประเทศ และการใช้จ่ายแบบไม่บันยะบันยังสักเท่าใด?

            เหล่านี้ จึงกลายเป็นภาวะ “มัดมือชก” ที่จะไม่เกิดขึ้นให้เห็นมากนักกับรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง! แต่รู้แล้ว…เราคนไทยก็คงได้แต่พร่ำบ่น เพราะทำอะไรไม่ได้มากไปกว่านี้ ตัวอย่างของกลุ่มอาจารย์นักวิชาการที่ออกมาเดิน “มิตรภาพ” และเรียกร้องเงื่อนปมปัญหาเศรษฐกิจปากท้อง ต่างก็โดนคดีมั่วสุมกันถ้วนหน้านั่นเอง

 

ทีมข่าวเศรษฐกิจ

สำนักข่าว ThaiBCC.news

 

 

 

You may also like

ลาซาด้า กรุ๊ป เปิดรายงานผลกระทบด้าน ESG ประจำปี 2567

ลาซาด้า