“ยูเนี่ยนเพย์”ตอบรับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคไทย รุกขยายการชำระเงินแบบไร้สัมผัสสู่ท้องถิ่น

“ยูเนี่ยนเพย์”ตอบรับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคไทย รุกขยายการชำระเงินแบบไร้สัมผัสสู่ท้องถิ่น

“ยูเนี่ยนเพย์”ตอบรับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคไทย

รุกขยายการชำระเงินแบบไร้สัมผัสสู่ท้องถิ่น

                  วิถีชีวิตแบบ New-Normal ถือเป็นตัวเร่งให้อัตราการใช้บริการชำระเงินแบบดิจิทัลสูงขึ้นอย่างไม่เพียงแต่ในประเทศไทย แต่ส่งผลไปทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนหนึ่งเพราะหน่วยงานภาครัฐและบุคลากรทางการแพทย์ต่างสนับสนุนให้ผู้บริโภคหันมาใช้การชำระเงินแบบดิจิทัลเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัส พร้อมกับเทคโนโลยีการชำระเงินแบบไร้สัมผัสที่ถูกพัฒนาออกมาโดยสามารถชำระเงินแบบไร้สัมผัสได้ผ่านโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์สวมใส่ได้ผ่านเทคโนโลยี NFC

                จากข้อมูลของ Global Data[1] เผยว่าตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยมีแนวโน้มในการเติบโตและเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมจากกลุ่มนักช็อปคนไทย และจากข้อมูลของ Statista[2] ได้คาดการณ์ว่า ตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยคาดว่าจะทำกำไรได้สูงถึง 8,900 ล้านดอลล่าสหรัฐภายในปี 2564 ซึ่งหนึ่งในปัจจัยเกื้อหนุนมาจากการที่เทคโนโลยีด้านการชำระเงินดิจิทัลยังได้มีการพัฒนาระบบด้านความปลอดภัยและยกระดับประสบการณ์การใช้งานอย่างต่อเนื่องและผู้บริโภคเปิดรับการใช้งานชำระเงินแบบไร้เงินสดมากยิ่งขึ้น โดยกว่า 88% ของผู้บริโภคที่ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิตมากกว่าการเก็บเงินปลายทาง และการชำระเงินด้วย QR Code คาดว่าจะแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นกว่า 23% ในปี 2564

            ยูเนี่ยนเพย์ อินเตอร์เนชั่นแนล เข้าใจและได้เล็งเห็นถึงแนวโน้มของพฤติกรรมผู้บริโภคในการใช้บริการการชำระเงินแบบดิจิทัลจึงได้ยกระดับการใช้บริการการชำระเงินแบบไร้สัมผัส UnionPay QuickPass โดยได้ขยายการใช้งานฯ ผ่านความร่วมมือกับแบรนด์ชั้นนำต่าง ๆ อาทิ เซเว่น อีเลฟเว่น (7-Eleven), หัวเว่ยเพย์ (HuaweiPay)  และธนาคารไอซีบีซี (ไทย) (ICBC Thai) และยังคงเดินหน้าพัฒนาและยกระดับประสบการณ์การใช้งานอย่างต่อเนื่อง

                ซึ่งจากการเพิ่มช่องทางการใช้จ่ายที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น ประกอบกับพฤติกรรมมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ยอดการทำธุรกิจออนไลน์ผ่านบัตรยูเนี่ยนเพย์ปรับตัวสูงขึ้นถึง 24% ในขณะที่จำนวนการใช้จ่ายผ่านธุรกรรมออนไลน์เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าเมื่อเปรียบเทียบในช่วงเวลาระหว่าง ไตรมาสที่ 1 ของปี 2563 กับ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 ซึ่งหมวดหมู่ที่ถูกใช้งานสูงที่สุดคือ การสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน (Food Delivery Platform)

                นายไช่ ฮุ่ยหมิง ผู้จัดการทั่วไป ยูเนี่ยนเพย์ อินเตอร์เนชั่นแนล ประจำภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “ในปี 2564 นี้ ยูเนี่ยนเพย์ ประเทศไทย จะยังคงเดินหน้าขยายความร่วมมือและเพิ่มช่องทางการชำระเงินไปในวงกว้างมากยิ่งขึ้นและยกระดับความสัมพันธ์กับพันธมิตรทางธุรกิจให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มการเข้าถึงไปในระดับท้องถิ่นและยกระดับประสบการณ์การชำระเงินของผู้บริโภคได้อย่างเป็นระบบ โดยจะมุ่งเน้นในการขยายการชำระเงินแบบไร้สัมผัส เพื่อสอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศไทยที่เปิดรับและใช้งานการชำระเงินแบบไร้สัมผัสมายิ่งขึ้น”

                ยูเนี่ยน อินเตอร์เนชั่นแนล ในฐานะผู้ให้บริการด้านการชำระเงินแบบดิจิทัลระดับโลก และมีผลิตภัณฑ์ด้านการชำระเงินที่สามารถตอบทุกความต้องการของผู้บริโภคได้ อีกทั้งยังมีระบบความปลอดภัยในการใช้ง่ายที่สามารถมอบการให้บริการได้อย่างรวดเร็ว และสะดวกสบายแก่ผู้บริโภคชาวไทย โดยได้มีการตั้งเป้าที่จะขยายรูปแบบบริการเพื่อให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ในวงกว้าง เพื่อยกระดับประสบการณ์ให้แก่ผู้ถือบัตรยูเนี่ยนเพย์ สามารถใช้จ่ายผ่านแพลตฟอร์มได้อย่างไร้ร้อยต่อ พร้อมด้วยการจับมือกับผู้ให้บริการอีวอลเล็ต (E-Wallet) อย่าง Dolfin ให้สามารถใช้การชำระเงินได้อย่างไร้ขีดจำกัด เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ในการชำระเงินไปอีกขั้น และผู้ถือบัตรยูเนี่ยนเพย์ ยังสามารถเพลิดเพลินไปกับโปรโมชั่นอีกมากมายจากห้างสรรสินค้าออนไลน์ชั้นนำอย่าง เซ็นทรัล ออนไลน์ (Central Online) และ วัตสัน ออนไลน์ (Watson Online)

                ในขณะนี้ ยูเนี่ยนเพย์ ได้ร่วมมือกับร้านค้าท้องถิ่นในการขยายจุดรับชำระเงินแบบไร้สัมผัสกว่า 60% และขยายจุดรับชำระเงินผ่าน QR Code กว่า 25% และยังมุ่งมันที่จะทำงานร่วมกับหน่วยงานผู้ออกบัตรในการขยายการชำระเงินแบบ QR Code ให้เพิ่มมากยิ่งขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคอีกด้วย

 

 

You may also like

เปิดเคล็ดลับความมั่งคั่ง สำรวจกลยุทธ์การเงินชั้นเซียนของผู้มีกำลังซื้อสูง

เปิดเคล็