วาระแห่งชาติ “สังคมสูงอายุ”

วาระแห่งชาติ “สังคมสูงอายุ”

วาระแห่งชาติ “สังคมสูงอายุ”

            การผนึกพลัง 6 กระทรวง เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติรับสังคมสูงวัยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คาดการณ์ปี 2574 ประเทศไทยจะเป็นสังคมสูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 28  ของประชากรทั้งประเทศ รัฐบาลเดินหน้า “ประกาศระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมผู้สูงอายุ” เพื่อเตรียมความพร้อมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมกันบูรณาการขับเคลื่อนสังคมไทยให้เป็นสังคมสูงอายุอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ประชากรไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีภูมิคุ้มกันและเท่าทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคม นับเป็นการผนึกความร่วมมือครั้งสำคัญของประเทศไทยในการรับมือเข้าสู่สังคมสูงวัยในอนาคตอันใกล้

                พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีงานประกาศ “ระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุ” เพื่อขับเคลื่อนสังคมไทยไปสู่การเป็นสังคมสูงอายุที่มีความพร้อม โดยมี ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (นายปรเมธี วิมลศิริ) อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ (นางไพรวรรณ พลวัน) รองอธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ (นางสาวแรมรุ้ง วรวัธ) ผู้บริหาร 6 กระทรวงหลัก ภาครัฐ ภาคเอกชน เครือข่าย และคณะทูต พร้อมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมเป็นเกียรติภายในงาน พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “สังคมสูงอายุ สำหรับคนทุกวัย เพื่อประเทศที่ยั่งยืน” โดยรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ) ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซนเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร

          สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2561 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการมาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุ เพื่อเตรียมความพร้อมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมกันบูรณาการขับเคลื่อนสังคมไทยให้เป็นสังคมสูงอายุ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ประชากรไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีภูมิคุ้มกันและเท่าทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคม

                พลเอก ฉัตรชัย  สาริกัลป์ยะ รองนายกรัฐมนตรี ประธานในงานการ “ประกาศระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมผู้สูงอายุ” กล่าวว่า  ปัจจุบันประชากรทั้งโลกกำลังมีอายุสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จากผลสำรวจในปี 2560  มีสัดส่วนประชากรสูงอายุ    ทั่วโลกที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินกว่าร้อยละ 10  สำหรับประเทศไทยมีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุสูงเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน รองจากประเทศสิงคโปร์  ซึ่งประเทศไทยได้ก้าวสู่สังคมสูงอายุตั้งแต่ปี 2548 และในปี พ.ศ. 2560 ประเทศไทยมีผู้สูงอายุกว่า 11.3 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 16.7 ของประชากรทั้งประเทศ  และในปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ คือ      มีประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปถึงร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด และยังมีการคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2574 ประเทศไทยจะเป็นสังคมสูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 28  รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญของสถานการณ์ปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงได้เดินหน้าขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “สังคมสูงอายุ” โดยกำหนดยุทธศาสตร์การรองรับสังคมสูงอายุอย่างมีคุณภาพ ด้วยการส่งเสริมให้เกิดการเตรียมความพร้อมในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสุขภาพ สำหรับการคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุเป็นประเด็นสำคัญ

                ล่าสุดได้จัดงานการ “ประกาศระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมผู้สูงอายุ” โดยการผนึกพลังของ 6 กระทรวง ร่วมด้วย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงแรงงาน ในการเดินหน้าประกาศยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม และได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันกำหนดและขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุ ไปสู่การปฏิบัติทั้งนี้เพื่อเตรียมความพร้อมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมกันบูรณาการขับเคลื่อนสังคมไทยให้เป็นสังคมสูงอายุอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ประชากรไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีภูมิคุ้มกันและเท่าทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคม นับเป็นการผนึกความร่วมมือครั้งสำคัญของประเทศไทยในการรับมือเข้าสู่สังคมสูงวัยในอนาคตอันใกล้

                พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.)  กล่าวว่า  กระทรวง พม. เป็นหน่วยงานหลักที่ดำเนินการให้การช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ได้รับความเดือดร้อน และอันตรายจากการกระทำความรุนแรง หรือผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง รวมทั้งให้คำแนะนำปรึกษาปัญหาครอบครัว และได้เก็บรวบรวมข้อมูลสถิติสถานการณ์ปัญหาการกระทำความรุนแรงในครอบครัว ภายใต้การดำเนินงานของกรมกิจการผู้สูงอายุ ที่มีภารกิจส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ การจัดสวัสดิการ และการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุในการวางแผนงาน นโยบาย การพัฒนางานวิชาการ องค์ความรู้ และนวัตกรรมในการปฎิบัติงาน พร้อมทั้งการพัฒนาศักยภาพสังคมผู้สูงอายุ

                นอกจากนี้ภายในงานจะมีจัดการแสดงบูธนิทรรศการที่แสดงให้เห็นถึงการดำเนินงานสำคัญในแต่ละมาตรการของการขับเคลื่อนระเบียบวาระ แห่งชาติเรื่อง สังคมสูงอายุ อาทิ การส่งเสริมการมีงานทาในผู้สูงอายุ ความร่วมมือระหว่าง ภาครัฐและเอกชนผ่านประชารัฐเพื่อสังคม (E6) มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุ ดังกล่าวจึง เปรียบเสมือนเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนงานผู้สูงอายุช่วงปี พ.ศ. 2562-2564 ที่มุ่งให้ผู้สูงอายุไทยเป็นพฤฒิพลัง ( Active Ageing) : Healthy, Security, and Participation เพื่อเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป โดยมาตรการ ขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติดังกล่าวประกอบด้วย 2 มาตรการหลัก (หรือ 6 Sustainable และ 4 Change) ได้แก่   

                มาตรการหลักที่ 1 การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนทุกวัย ซึ่งประกอบด้วย มาตรการย่อย 6 มาตรการ (6 Sustainable) ได้แก่ S1 การสร้างระบบคุ้มครองและสวัสดิการผู้สูงอายุ  S2 การทำงานและการสร้างรายได้สำหรับผู้สูงอายุ S3 ระบบสุขภาพเพื่อรองรับสังคมสูงอายุ  S4 ปรับสภาพแวดล้อมชุมชน และบ้านให้ปลอดภัยกับผู้สูงอายุ S5 ธนาคารเวลาสำหรับการดูแลผุ้สูงอายุประเทศไทยS6 การสร้างความรอบรู้ให้คนรุ่นใหม่เตรียมความพร้อมในทุกมิติ

                มาตรการหลักที่ 2 การยกระดับขีดความสามารถ สู่การบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 ประกอบด้วย มาตรการย่อย 4 Change ได้แก่ C1 ยกระดับความร่วมมือ เสริมสร้างพลังสังคมสูงอายุ C2 การปรับเปลี่ยนกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ ข้อบังคับให้เอื้อต่อการทำงานด้านผู้สูงอายุ C3 ปฏิรูประบบข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุ อย่างมีประสิทธิภาพ และ C4 ผลิกโฉมนวัตกรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมสูงอายุ

 

                ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการตามมาตรการหลักได้อย่างบรรลุผลจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนงาน เพื่อให้ประเทศไทยมีระบบการดูแล คุ้มครอง และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในทุกมิติ ทั้งมิติทางด้านสังคม เศรษฐกิจ สุขภาพ และสภาพแวดล้อม เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี มีความสุข มีความมั่นคง และเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศต่อไป

 

 

You may also like

แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ไทย

ยอดขายขอ