หัวเว่ย เร่งพลิกโฉมอุตฯการเงิน รุกเต็มสูบสู่ระบบดิจิทัล เร่งสร้างคุณค่าใหม่ร่วมกัน

หัวเว่ย เร่งพลิกโฉมอุตฯการเงิน รุกเต็มสูบสู่ระบบดิจิทัล เร่งสร้างคุณค่าใหม่ร่วมกัน

Mr. Peng Zhongyang

หัวเว่ย เร่งพลิกโฉมอุตฯการเงิน

รุกเต็มสูบสู่ระบบดิจิทัล เร่งสร้างคุณค่าใหม่ร่วมกัน

               จากงาน Huawei Intelligent Finance Summit 2021 ที่นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ภายใต้ธีม “Accelerate Financial Digitization, New Value Together” โดยงานนี้จัดขึ้นสองวันและดึงดูดลูกค้าในอุตสาหกรรมการเงิน พันธมิตร ผู้เชี่ยวชาญ และสื่อมวลชนรวมกว่า 3,000 คนจากทั่วโลก โดยหัวเว่ยได้แจกแจงรายละเอียดว่า สถาบันการเงินสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่ออัปเกรดอุตสาหกรรมและบริการต่าง ๆ ด้วยการสร้างระบบนิเวศที่คล่องตัวและอัจฉริยะ ซึ่งจะนำไปสู่การพลิกโฉมองค์กรของตนเองให้กลายเป็นองค์กรที่มีความสามารถทางดิจิทัลในที่สุด ในโอกาสนี้ หัวเว่ยได้นำเสนอ 3 กลยุทธ์สำหรับภาคการเงิน ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีคลาวด์-เนทีฟอย่างเต็มรูปแบบ การพัฒนากรณีศึกษาในอุตสาหกรรมอย่างหลากหลาย และการรวบรวมผลิตภัณฑ์ SaaS หลายรูปแบบ เพื่อช่วยให้สถาบันการเงินกลายเป็นองค์กรอิงระบบนิเวศดิจิทัลที่ดีกว่าเดิม

อุตสาหกรรมการเงินต้องปรับตัวและเร่งพลิกโฉม

                Peng Zhongyang สมาชิกคณะกรรมการบริษัท และประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย กล่าวสุนทรพจน์เปิดงานว่า ในขณะที่อุตสาหกรรมต่าง ๆ อัปเกรดและหลอมรวมกัน ภาคบริการทางการเงินจะต้องพลิกโฉมเพื่อดำเนินงานบนคลาวด์ผ่านระบบนิเวศอุปกรณ์ที่เชื่อมถึงกันมากขึ้นและรองรับทุกการใช้งาน เขากล่าวเสริมว่า ปัจจุบันหัวเว่ยกำลังร่วมมือกับลูกค้าและพันธมิตรเพื่อช่วยให้พวกเขาก้าวขึ้นเป็นองค์กรอิงระบบนิเวศดิจิทัลที่มีความยืดหยุ่นและยั่งยืนมากขึ้น ผ่านการร่วมกันสร้างเทคโนโลยี รูปแบบการใช้งาน และความยั่งยืน

                ในการกล่าวสุนทรพจน์หลักหัวข้อ “Global Economic Recovery: Certainty and Uncertainty” Dr. Fan Gang ศาสตราจารย์สาขาเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง และรองประธานสมาคมปฏิรูปเศรษฐกิจจีน กล่าวว่า “สถานการณ์โรคระบาดยังไม่จบลงง่าย ๆ และเศรษฐกิจดิจิทัลจะเป็นกลไกใหม่ที่ผลักดันการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ส่วนสำคัญที่สุดของเศรษฐกิจดิจิทัลไม่ใช่การผลิตอุปกรณ์ดิจิทัลและเทคโนโลยีดิจิทัล แต่เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ในการพลิกโฉมอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยการเงินดิจิทัลถือเป็นกำลังขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงิน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการยกระดับการพลิกโฉมอุตสาหกรรมมากมายสู่ระบบดิจิทัล”

                Cao Tong ประธานของ HDFH และประธานของ WeBank, Hou Weirong ผู้จัดการทั่วไปแผนกธุรกรรมธนาคารของ China Merchants Bank, Chen Kunte ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลิกโฉมองค์กรสู่ระบบดิจิทัลประจำหน่วยธุรกิจบริการทางการเงินสากล กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย และ Ye Tan นักวิจารณ์การเงินชื่อดัง ได้เข้าร่วมการอภิปรายแบบคณะในหัวข้อ Intelligent Finance Transformation

                “โลกของเรากำลังอยู่ระหว่างการปฏิวัติดิจิทัล ซึ่งมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับการเงินและส่งผลต่อเราทุกคน ธนาคารแบบดั้งเดิมกำลังขยายขีดความสามารถของตนเอง ผมตั้งตารอวันที่นายธนาคารและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีจะสามารถปรับแพคเกจบริการทางการเงินให้เข้ากับผู้ใช้งานโดยอิงอายุ ฐานะทางการเงิน และโครงสร้างครอบครัว” Ye Tan กล่าว

Huawei Launches the Financial Partner Go Global Program (FPGGP)

หัวเว่ยประกาศ 3 กลยุทธ์เปลี่ยนสถาบันการเงินเป็นองค์กรอิงระบบนิเวศดิจิทัลที่ดีกว่าเดิม 

                หัวเว่ยประกาศ 3 กลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นสำหรับภาคการเงิน เพื่อช่วยให้สถาบันการเงินกลายเป็นองค์กรอิงระบบนิเวศดิจิทัลที่ดีกว่าเดิม ดังนี้

                (1) สนับสนุนให้สถาบันการเงินใช้คลาวด์-เนทีฟเต็มรูปแบบ รวมถึงเทคโนโลยีล้ำสมัยต่าง ๆ ที่มีโครงการพื้นฐานประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อเร่งให้เกิดการหลอมรวมทางดิจิทัลอัจฉริยะ รวมถึงการสร้างแพลตฟอร์มที่คล่องตัว

                (2) ยกระดับการพลิกโฉมสู่ระบบดิจิทัลในทุกสภาพอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มความมั่นคงปลอดภัยในการส่งผ่านข้อมูล ปลดล็อกคุณค่าของบิ๊กดาต้า และนำเสนอบริการทางการเงินอย่างทั่วถึง

                (3) รวบรวมผลิตภัณฑ์ SaaS หลายรูปแบบ เพื่อสร้างระบบนิเวศแบบเปิดสำหรับทุกสภาพการใช้งาน และนำเสนอบริการทางการเงินตามสภาพการใช้งาน

                Jason Cao ประธานหน่วยธุรกิจบริการทางการเงินสากล กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย กล่าวว่า “หัวเว่ยได้ทำงานร่วมกับแวดวงการเงินทั่วโลกมาเป็นเวลาถึง 10 ปี และได้กลายเป็นพันธมิตรรายสำคัญในการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมสู่ระบบดิจิทัล หัวเว่ยจะยังคงทำงานร่วมกับอุตสาหกรรมนี้ต่อไป เพื่อขับเคลื่อนการประมวลผลแบบคลาวด์-เนทีฟ เพื่อทำให้มั่นใจว่า สถาบันการเงินจะได้รับประโยชน์จากระบบนิเวศดิจิทัลที่ทันสมัยและทรงพลัง ที่อัปเดตและพัฒนาต่อยอดได้ตลอดเวลา โดยใช้นวัตกรรมล่าสุดให้เป็นประโยชน์ หัวเว่ยมีหลักการทำงานเพื่อช่วยให้สถาบันการเงินต่าง ๆ เติบโตขึ้นจนกลายเป็นองค์กรที่ทำงานบนระบบนิเวศดิจิทัล และร่วมพัฒนาแวดวงการเงินให้เชื่อมต่อถึงกัน ชาญฉลาด และมีระบบนิเวศรองรับ”

                Shi Jilin รองประธานหน่วยธุรกิจ HUAWEI CLOUD BU และประธานแผนกการตลาดและบริการขายระดับสากล กล่าวสุนทรพจน์หลักว่า อุตสาหกรรมการเงินอยู่แถวหน้าของการพลิกโฉมสู่ระบบดิจิทัลมาโดยตลอด และอยู่ในช่วงของการพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมการเงินดิจิทัล จากเดิมที่อยู่ในสถานการณ์เดียวให้กลายเป็นหลายสถานการณ์

                เธอกล่าวว่า “หัวเว่ยและอุตสาหกรรมการเงินเติบโตเคียงข้างกัน เพื่อสร้างโซลูชันฟินเทคที่ชาญฉลาดและอเนกประสงค์ เราขอนำเสนอหลักการ 4 ข้อด้วยกัน ข้อแรกคือการน้อมรับนวัตกรรมคลาวด์ โดยแก้ไขปัญหาหลัก ๆ ในการเข้าถึงคลาวด์ระดับองค์กร และนำการพลิกโฉมสู่ระบบดิจิทัลให้อยู่ในหนทางที่ถูกต้อง สองคือการเชื่อมต่ออัจฉริยะในทุกสภาวการณ์ โดยสร้าง “finance+X” เพื่อรองรับอุตสาหกรรมทุกประเภท สามคือการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะตลอดกระบวนการ โดย AI จะเข้าถึงระบบการผลิตและกระบวนการทางธุรกิจหลักของภาคการเงิน และสี่คือการสร้างระบบนิเวศการเงินตามสถานการณ์ต่าง ๆ และสร้างอุตสาหกรรมการเงินที่มีระบบนิเวศรองรับ”

                บรรลุคุณประโยชน์ใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมการเงินร่วมกับลูกค้าภาคธนาคารระดับโลก เพื่อร่วมสร้างอนาคตใหม่ให้กับแวดวงการเงิน

                โดยผู้บริหารแวดวงธนาคารหลายราย ได้ร่วมแบ่งปันเรื่องราวและความสำเร็จในการพลิกโฉมองค์กรการเงินจีนสู่ระบบดิจิทัลในการประชุมวันนี้

                หัวเว่ยได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับ DBS Bank เพื่อใช้นวัตกรรมดิจิทัลตอบสนองความต้องการของทางธนาคาร โดยเมื่อปี 2020 ที่ผ่านมา หัวเว่ยทำผลงานได้อย่างโดดเด่นเหนือผู้จัดจำหน่ายเทคโนโลยีระดับโลกรายอื่น ๆ อีก 64 ราย จนคว้ารางวัล 2020 Most Valuable Technology Partner Award จาก DBS ไปครอง

                Tan Choon Boon หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรมและบริการคลาวด์ของ DBS Singapore กล่าวว่า “DBS ได้พัฒนากลยุทธ์โดยให้ความสำคัญกับองค์ประกอบ 5 ประการของการพลิกโฉมสู่ระบบดิจิทัล นั่นคือการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในองค์กรอย่างครอบคลุม ซึ่งรวมถึงองค์กรที่มีความสำเร็จของธุรกิจเป็นตัวนำ, ยกระดับจากโปรเจคเป็นแพลตฟอร์ม, ใช้การออกแบบระบบสมัยใหม่, สร้างทีมที่มีความคล่องตัว และขับเคลื่อนสู่ระบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ ในอนาคต ทั้งสองฝ่ายจะเดินหน้าเสริมสร้างความร่วมมือในระบบคลาวด์ ปัญญาประดิษฐ์ และ IoT เราได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับหัวเว่ย เพื่อตอบรับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของทางธนาคาร และขับเคลื่อนการพลิกโฉมสู่ระบบดิจิทัลต่อไป”

                อุตสาหกรรมการเงินมีความแตกต่างกันอย่างมากตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก โดยยังมีบุคคลและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจำนวนมากที่ยังไม่มีโอกาสเข้าถึงบริการทางการเงินพื้นฐาน สถาบันการเงินในหลาย ๆ ประเทศได้เร่งสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัล เช่น โมบายวอลเล็ตและการชำระเงินทางมือถือร่วมกับพันธมิตรอย่างหัวเว่ย โดยใช้แพลตฟอร์มเหล่านี้สร้างระบบนิเวศระดับซูเปอร์แอป เช่น Kenya NCBA เพื่อช่วยให้สถาบันการเงินเหล่านี้บรรลุความก้าวหน้าสำคัญในการยกระดับบริการของตน

                ในการประชุมดังกล่าว Sitoyo Lopokoiyit ซีอีโอของ M-PESA Africa กล่าวว่า “เราได้เห็นพลังของ M-PESA และนวัตกรรมเงินมือถือในแอฟริกา ในการพลิกโฉมแนวทางสร้างอิมแพคต่อสังคม วันนี้ เรามีธุรกิจกว่า 350,000 แห่ง และธุรกิจ SME ขนาดย่อมอีกกว่า 5 ล้านแห่งที่ใช้บริการของเรา ในขณะเดียวกัน เรามีลูกค้า 58 ล้านรายที่ใช้ผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ของเรา หัวใจหลักของสิ่งนี้คือการที่เทคโนโลยีของเราและพันธมิตรอย่างหัวเว่ย ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการทำให้แน่ใจว่า สถาปัตยกรรมเทคโนโลยีของเราจะตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจและลูกค้าของเราได้”

หัวเว่ย เปิดตัวโครงการ Financial Partner Go Global Program (FPGGP)

                ในการประชุมดังกล่าว หัวเว่ยได้ประกาศเปิดตัวโครงการ Financial Partner Go Global Program (FPGGP) อย่างเป็นทางการ โดยบริษัทจะทำงานร่วมกับพันธมิตรในอุตสาหกรรมบริการทางการเงิน เพื่องัดใช้ประสบการณ์และขีดความสามารถทางนวัตกรรมเทคโนโลยีอันล้ำลึกของหัวเว่ยในการยกระดับภาคการเงินสู่ยุคดิจิทัล

                FPGGP เบื้องต้นมีสมาชิก 25 ราย โดยสมาชิกคณะกรรมการ 7 รายมาจาก Huawei, Sunline, Tongdun Technology, Netis, Wallyt, Sinosoft และ Chinasoft International

                หัวเว่ยมีวิสัยทัศน์ในการสร้างระบบนิเวศอเนกประสงค์อันเปิดกว้าง และเปิดโอกาสให้สถาบันการเงินทั่วโลกได้ให้บริการผู้ใช้งานในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยภายในการประชุมดังกล่าว หัวเว่ยได้สำรวจข้อตกลงความร่วมมือใหม่ ๆ ร่วมกับสถาบันการเงินอย่าง Temenos และมีแผนเปิดตัวโซลูชันที่มาจากความร่วมมือ 15 รายการ ครอบคลุมกรณีการใช้งานหลากหลายรูปแบบ

 

You may also like

4NOLOGUE ผนึก Poriin เล่นใหญ่ ปล่อยคอนเสิร์ตแห่งปี “FROSTY VILLAGE” ชวนแฟนๆจอยปาร์ตี้สนุกสุดขั้ว  

4NOLOGUE