เกษตรไทย-ทำไมต้อง“บล็อกเชน”

เกษตรไทย-ทำไมต้อง“บล็อกเชน”

เกษตรไทย-ทำไมต้อง“บล็อกเชน”

          เร่งดิจิทัลเต็มสูบ!เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โหมเทคโนโลยี่ทุกรูปแบบ เพื่อประชาชนและเกษตรกรไทยให้อยู่ดีกินดี จนเกิดวาทะว่าใช้เทคโนโลยี่พลิกชีวิตเกษตรกรไทยอย่างเต็มรูปแบบ

          ซึ่งงานนี้ได้หัวหอก นำนโยบายสู่การปฏิบัตอย่าง อลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถือธงนำเหล่าข้าราชการประจำ กรมกอง รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน สู่เกษตรโฉมใหม่ ในโลกดิจิทัล ที่กำลังเดินหน้าสู่ 5.0   

            เทคโนโลยี่ที่กำลังพูดถึงกันมาก ในแทบทุกวงการ โดยเฉพาะโลกการเงิน ในแวดวงเงินดิจิทัลหรือ คริปโตเคอเรนซี บอกได้เลยว่าไม่มีมีไม่รู้จักคำนี้ นั่นก็คือ บล็อกเชน (Blockchain)

              บล็อกเชนคือรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะเป็นใยแมงมุม ที่ทำให้ข้อมูลของแต่ละคนสามารถแชร์ไปยังทุกๆคนได้ ชนิดที่ไม่ต้องผ่านตัวกลางไดๆทั้งสิ้น หากแต่รู้กันว่าใครคือเจ้าของ ซึ่งจุดเด่นของบล็อกเชนก็คือ ทุกคนรู้ ทุกคนเห็น แต่ไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลนั้นได้

            นี่เองที่คำว่า เงินดิจิทัล ทำให้สถาบันการเงิน หนาวๆร้อนๆ เพราะคนจะเก็บเงินไว้ในบล็อกเชน โดยไม่สนใจสถาบันการเงินนั่นเอง

          แล้วบล็อกเชน มีความสำคัญกับเกษตรอย่างไร!

            น่าสนใจทีเดียว!เพราะจากคุณสมบัติที่ว่ามานั้น ประโยชน์ของบล็อกเชนก็คือ เพิ่มความโปร่งใสให้กับองค์กร สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้อย่างโปร่งใส ลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายได้อย่างมากอีกด้วย

            ซึ่งหากมาใช้กับการเกษตรแล้ว จะสามารถสร้างระบบติดตาม และสามารถอุดช่องว่างการได้เปรียบ เสียเปรียบได้อย่างดี อย่างเช่นข้อมูลของพันธุ์อ้อยที่ส่งมาจากโรงงาน ปริมาณอ้อย ไปจนถึงค่าความหวานนั้นมาจากแปลงได แล้วส่งข้อมูลไปที่ด่านที่เกี่ยวข้อง ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้เลย

            หรือการทำสัญญา ถ้าอยู่ในบล็อกเชน ทุกคนก็จะเห็นข้อมูลตรงกัน สามารถทำงานได้ถูกต้อง ตั้งแต่ในไร่ ไปจนถึงการจ่ายเงิน ก็จะไม่มีปัญหาไดๆ

            ที่ต่างประเทศ ได้ใช้บล็อกเชนเข้ามาจัดการเรื่องการเกษตรกันแล้ว อย่างเช่นในออสเตรเลีย ได้มีการนำบล็อกเชนเข้ามาจัดการเรื่องระบบการจ่ายเงินให้แก่เกษตรกรที่ผลิตข้าวโอ๊ต รวมไปถึงใช้ในการติดตามเส้นทางการผลิตและขนส่งข้าวโอ๊ตที่ผลิตในระบบอินทรีย์

            หรืออย่างในอเมริกาก็ใช้ในการจัดการการขายถั่วเหลืองจำนวน 60,000 ตันให้กับจีน ทำให้ย่นระยะเวลาทำธูรกรรมจาก2 สัปดาห์เหลือเพียง 1 สัปดาห์

            แล้วบล็อกเชนยังสามารถช่วยแก้ปัญหานานับได้ ในหลายแง่หลายมุม อย่างกรณีความปลอดภัยทางอาหาร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการดัดแปลง การแต่งเติมหรือหลบเลี่ยง ปิดบังข้อเท็จจริงบางประการทำให้อาหารเกิดความไม่ปลอดภัยขึ้น หากนำระบบ บล็อกเชนเข้ามาช่วยแล้ว แน่ใจได้เลยว่า อาหารจะส่งตรงถึงปล่ายทางอย่างถูกต้องและปลอดภัย มีคุณภาพ ที่สามารถตรวจสอบที่มาที่ไปได้

            หรือในระบบห่วงโซ่อุปทานอาหาร เนื่องจากระบบการผลิตอาหารในประเทศที่กำลังพัฒนา ส่วนใหญ่จะไร้ประสิทธิภาพ การกระจายข้อมูลไม่เป็นธรรม ไม่โปร่งใสและทั่วถึง ผู้บริโภคได้รับข้อมูลจากบริษัทอาหารเพียงด้านเดียว หรือเกษตรกรเองก็ได้รับข้อมูลจากบริษัทแปรรูปอาหารเพียงด้านเดียว จึงเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้น ทำให้เกษตรกรจึงมีรายได้ต่ำกว่าเป็นจริง แต่หากมาใช้ระบบบล็อกเชนแล้ว จะลดปัญหาเหล่านี้ได้ทันที

            ไปจนถึงการจ่ายเงินอุดหนุนเกษตรกร ที่ส่วนหนึ่งจะได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ยกตัวอย่างเช่น อินเดีย เมื่อปี 2560-2561 มีงบประมาณสำหรับจัดสรรเงินอุดหนุนให้เกษตรกรเป็นเงิน 4.9 พันล้านเหรียญ แต่ยอดเงินที่ส่งไปอุดหนุนจริงนั้น ไม่รู้เท่าไหร่ ไม่สามารถตรวจสอบๆได้ หากหันมาใช้ระบบบล็อกเชนส่งมอบและกระจายเงินอุดหนุนดังกล่าว จะทำได้อย่างโปร่งใส และขจัดปัญหาที่ว่าตรวจสอบไม่ได้ในทันทีเช่นกัน

            นี่เป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งที่ยกให้ได้เห็นเท่านั้น ซึ่งเราสามารถนำมาใช้ในเรื่องของข้อมูลการผลิตในอุตสาหกรรมการเกษตร การขนส่งสินค้าหรือวัตถุดิบต่างๆ อย่างแม่นยำโปร่งใส สบายใจทั้งผู้บริโภคและเกษตกร

          เป็นอีกมิติหนึ่งของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่จะนำเทคโนโลยี่ใหม่ๆ เข้ามาใช้ เพื่อพัฒนาเกษตรกรไทย ให้อยู่ดีกินดี  

          เพียงแค่ข้อมูลที่โปร่งใส และเป็นธรรม ก็เป็นจุดพลิกผันที่จะพลิกชีวิตเกษตรกรไทยได้อย่างแน่นอน!!

ขอบคุณ : นสพ.สยามธุรกิจ

You may also like

ราคาคาร์บอนเครดิตกับปัญหา การพัฒนาตลาดคาร์บอนในประเทศไทย

ด้วยรูปแ