เขย่าหัวใจพี่…เพื่อหัวใจน้อง เผยด้วยความจริงที่คุณอาจไม่เคยรู้

เขย่าหัวใจพี่…เพื่อหัวใจน้อง เผยด้วยความจริงที่คุณอาจไม่เคยรู้

เขย่าหัวใจพี่…เพื่อหัวใจน้อง

เผยด้วยความจริงที่คุณอาจไม่เคยรู้

            วัตสัน ประเทศไทย จัดใหญ่กิจกรรม “WATSONS FITT WALK ปีที่ 2 มันส์ เดิน เบิร์น สนุก” ขึ้นในวันที่ 3 มีนาคม 2561 ณ สนามศุภชลาศัย เชิญชวนบรรดาเหล่าคนรักสุขภาพและเสียงเพลง มาร่วมกิจกรรมเดินเพื่อสุขภาพพร้อมออกสเต็ปสุดมันส์ไปกับเสียงเพลงเร้าใจ ช่วยบริหารหัวใจให้แข็งแรงและเผาผลาญแคลอรี่ไปพร้อมๆกัน เพื่อนำรายได้ทั้งหมดโดยไม่หักค่าใช้จ่ายสมทบทุนมูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ เป็นโอกาสอันดี ที่จะสร้างความตระหนักต่อประเด็นปัญหาโรคหัวใจในเด็ก ที่แม้จะดูเป็นเรื่องไกลตัวของใครหลายๆ คน ทว่าหากได้ลองใช้ใจสัมผัสกับเรื่องนี้แล้ว ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจในฐานะเพื่อนมนุษย์ก็คงจะพรั่งพรูออกมาจนล้นเลยทีเดียว

                ในโอกาสนี้ ผศ.นายแพทย์ธนะรัตน์ ลยางกูร ประธานคณะกรรมการมูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ ได้ให้เกียรติบอกเล่าถึงสถานการณ์โรคหัวใจในเด็กว่า “สำหรับสถานการณ์โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในเด็กมีอุบัติการค่อนข้างจะคงที่อยู่ประมาณ 8 คน ต่อ 1000 คน ของเด็กแรกเกิดมีชีพ ปัจจุบันจำนวนการเกิดของเด็กในประเทศไทยอยู่ที่ประมาณมากกว่า 750,000 รายต่อปี ดังนั้นจึงมีเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดอยู่ประมาณ 6,000 – 7,000 รายต่อปี ในทุกปี โดยในจำนวนนี้มีประมาณครึ่งหนึ่ง ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาแก้ไขความผิดปกติด้วยการสวนหัวใจหรือการผ่าตัด แต่เนื่องจากขีดความสามารถโดยรวมของทั้งประเทศยังไม่สามารถให้การรักษาได้ทันท่วงทีกับปริมาณเด็กที่มีความต้องการในการรักษาผ่าตัดในอดีตจึงมีผู้ป่วยรอคิวผ่าตัดสะสมนานยาวเป็นปี หลายรายเสียชีวิตระหว่างที่รอคิวอยู่นี้”

                แม้จะเป็นเรื่องน่าเศร้า แต่ปัจจุบันด้วยความช่วยเหลือของมูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ โดยท่านศาสตราจารย์นายแพทย์บุญชอบ พงษ์พาณิชย์ อดีตประธานคณะกรรมการมูลนิธิ เป็นผู้ริเริ่มใช้นโยบายช่วยเหลือเด็กกลุ่มที่รอคิวผ่าตัดนี้ โดยให้มีการผ่าตัดนอกเวลาราชการ ทำให้คิวการผ่าตัดในเวลาราชการสำหรับเด็กโตในปัจจุบันลดลงมาก ซึ่งในอดีตเด็กกลุ่มนี้หากไม่สามารถให้การรักษาได้ทันท่วงทีก็จะเสียชีวิต แต่ปัจจุบันก็ยังคงมีปัญหาในกลุ่มเด็กทารกแรกเกิดและเด็กเล็กที่มีความรุนแรงของโรคสูง ซึ่งมีเตียงจำกัดและจำเป็นต้องได้รับการรักษาเร่งด่วน

                “ระะยะเวลาในการอคอยการผ่าตัด ในปัจจุบัน กลุ่มที่ไม่เร่งด่วนจะสั้นลงเหลือประมาณ 3 – 6 เดือน จากเดิม 1 – 2 ปี แต่กลุ่มเด็กทารกที่ต้องการการรักษาแบบเร่งด่วนจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น เนื่องจากเราสามารถคัดกรองเด็กโรคหัวใจที่รุนแรงในทารกแรกเกิดให้เข้าสู่กระบวนการการรักษาได้เร็วขึ้น ก่อนที่จะมีอาการรุนแรงหลังเกิดหรือกลับไปเสียชีวิตที่บ้าน โดยอุบัติการณ์ของเด็กกลุ่มที่มีอาการรุนแรงนี้จะอยู่ที่ประมาณ 1-1.5 ต่อ 1,000 ของทารกแรกเกิดมีชีพ หรือประมาณ  1,000  คนต่อปี ทุกปี

                สำหรับค่าใช้จ่ายในการรักษา ผศ.นายแพทย์ธนะรัตน์ ลยางกูร กล่าวว่า “ค่าใช้จ่าย ในการรักษาเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดสามารถเบิกจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ โดยผู้ป่วยไม่ต้องจ่าย แต่ได้จำนวนจำกัด ประมาณ 100,000-400,000 บาทต่อราย  ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคและวิธีการรักษา แต่โรงพยาบาลที่ให้การรักษาส่วนใหญ่มักจะมีค่าใช้จ่ายจริงสูงกว่า และขาดทุน

                มูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ ให้ความช่วยเหลือในบางส่วนที่ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ตามปกติเป็นรายๆ ไป ตามความจำเป็น โดยให้การช่วยเหลือครอบครัวพ่อแม่เด็กทั้งก่อน ระหว่างและหลังการผ่าตัด โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือช่วยให้เด็กได้รับการรักษาที่เร็วขึ้น ตามความจำเป็นของเด็กแต่ละราย หลักการคือให้การรักษานอกเวลาราชการ โดยให้ค่าตอบแทนทีมแพทย์ พยาบาลผู้รักษา โดยใช้สโลแกนในการระดมทุน 20,000 บาทต่อหนึ่งชีวิต มาตั้งแต่ปี 2545 แต่ค่าใช้จ่ายปัจจุบันที่มูลนิธิให้การช่วยเหลือทีมผู้รักษาและโรงพยาบาลจริง มีค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 20,000 ถึง 60,000 บาทต่อรายขึ้นอยู่กับชนิดของการรักษาและผู้ป่วย โดยค่าใช้จ่ายเฉลี่ยจะอยู่ที่ 35,000 บาทต่อราย”

                ซึ่งมูลนิธิเด็กโรคหัวใจได้ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2524 เพราะทราบปัญหา ความจำเป็นของเด็กที่ต้องได้รับการรักษาและครอบครัวโดยเฉพาะที่อยู่ห่างไกล รวมทั้งการรอคอยคิวการผ่าตัดที่ยาวนาน จึงเริ่มดำริโครงการช่วยเหลือด้วยการผ่าตัดนอกเวลาราชการในศูนย์โรคหัวใจที่มีความสามารถอยู่แล้ว ให้เพิ่มจำนวนการรักษามากยิ่งขึ้นตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปัจจุบันยังมีการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลา 16 ปี สามารถช่วยชีวิตเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดให้ได้รับการรักษาเพิ่มขึ้นกว่าการรักษาปกติหรือในเวลาราชการรวมมากกว่า 13,000 ราย หรือประมาณ 900 รายต่อปี ปัญหาที่ท้าทายในปัจจุบันคือต้องให้ช่วยเหลือเด็กที่อายุน้อยลงซึ่งเป็นกลุ่มที่ตัวเล็กและมีความเสี่ยงสูงเนื่องจากความรุนแรงของโรคสูงเมื่อเทียบกับเด็กโต

            “โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดเป็นความผิดปกติที่มีอุบัติการณ์สูงสุดในบรรดาความผิดปกติของทั้งหมด เป็นโรคที่มีความรุนแรงสูงโอกาสเสียชีวิตสูงโดยเฉพาะถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือได้รับการรักษาไม่ทันท่วงทีแต่ปัจจุบัน เราสามารถให้การรักษาความผิดปกติได้เกือบทุกชนิด โดยที่ส่วนใหญ่สามารถรักษาให้หายผลการรักษาอยู่ในเกณฑ์ที่ดีถึงดีมาก  บางรายรักษาได้เพียงการบรรเทาอาการ แต่กระบวนการการรักษาทุกรายถือว่ามีความเสี่ยงรุนแรงถึงชีวิตได้ รวมทั้งการรักษามีค่าใช้จ่ายที่สูง มูลนิธิให้การสนับสนุนทีมแพทย์ พยาบาลผู้รักษามายาวนานจนเป็นที่ประจักษ์ จึงได้รับความช่วยเหลือจากประชาชนและทุกภาคส่วนช่วยให้การบริจาคเงินและสนับสนุนการทำงานของมูลนิธิ ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่เห็นความสำคัญและความจำเป็นในการช่วยชีวิตเด็กโรคหัวใจให้เด็กกลุ่มนี้หายจากโรค เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่แข็งแรง สามารถช่วยเหลือตัวเอง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติต่อไปได้” ผศ.นายแพทย์ธนะรัตน์ กล่าวทิ้งท้าย

                เรื่องราวทั้งหมดนี้เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ที่อาจสะเทือนใจใครหลายๆ คน เช่นเดียวกับทางวัตสัน ประเทศไทย จึงได้ริเริ่มกิจกรรมที่จะให้ผู้คนได้ร่วมส่งต่อความช่วยเหลือไปยังน้องๆ ที่กำลังรอคอยความหวัง  “WATSONS FITT WALK ปีที่ 2 มันส์ เดิน เบิร์น สนุก” โดยจัดขึ้นในวันที่ 3 มีนาคม 2561 เวลา 17.00 – 19.30 น. ณ สนามศุภชลาศัย เพื่อนำรายได้ทั้งหมดโดยไม่หักค่าใช้จ่ายสมทบทุนมูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ

You may also like

“มนพร”สุดปลื้ม! สนามบินแม่ฮ่องสอน-เลย-น่านนคร คว้ารางวัล”EIA Monitoring Awards 2024″

“มนพร”สุ