เงินบาทอ่อนค่า ขณะที่หุ้นไทยกลับมายืนเหนือ 1,500 จุดอีกครั้ง

เงินบาทอ่อนค่า ขณะที่หุ้นไทยกลับมายืนเหนือ 1,500 จุดอีกครั้ง

เงินบาทอ่อนค่า ขณะที่หุ้นไทยกลับมายืนเหนือ 1,500 จุดอีกครั้ง

สรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท

                เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 4 เดือนที่ 30.51 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาททยอยอ่อนค่าลงสอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินเอเชียอื่นๆ ในภูมิภาค ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ขยับแข็งค่าขึ้นตามทิศทางของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (บอนด์ยีลด์) ซึ่งได้อานิสงส์หลักๆ หลังประธานเฟดไม่ส่งสัญญาณว่าจะมีเครื่องมือเพิ่มเติมในการชะลอการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ นอกจากนี้บอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ยังมีแรงหนุนจากความหวังต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ และตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด

                ในวันศุกร์ (5 มี.ค.) เงินบาทอยู่ที่ระดับ 30.50 เทียบกับระดับ 30.13 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันพฤหัสบดีก่อนหน้า (25 ก.พ.)     

                สำหรับสัปดาห์ถัดไป (8-12 มี.ค.) ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 30.20-30.60 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ รายละเอียดของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ และสถานการณ์โควิด และความคืบหน้าในการฉีดวัคซีน ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อเดือนก.พ. ที่วัดจากดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิต รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และข้อมูลเบื้องต้นของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมี.ค. นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4/63 (final) ของญี่ปุ่นและยูโรโซน รวมถึงข้อมูลเศรษฐกิจเดือนก.พ. ของจีน อาทิ ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิต และยอดปล่อยกู้สกุลเงินหยวนด้วยเช่นกัน

สรุปความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทย

                หุ้นไทยปรับตัวขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดยดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,544.11 จุด เพิ่มขึ้น 3.16% จากสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 101,081.60 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.01% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai เพิ่มขึ้น 4.11% มาปิดที่ 394.66 จุด

                หุ้นไทยทยอยปรับตัวขึ้นช่วงต้น-กลางสัปดาห์ สอดคล้องกับทิศทางตลาดหุ้นในภูมิภาค โดยมีปัจจัยหนุนจากการย่อตัวลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (บอนด์ยีลด์) และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมถึงความหวังต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยหลังเริ่มมีการกระจายวัคซีนต้านโควิด 19 ในประเทศ หุ้นไทยย่อตัวลงช่วงสั้นๆ ในเวลาต่อมาจากแรงขายทำกำไร ประกอบกับมีแรงขายตามทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศซึ่งกลับมากังวลเรื่องทิศทางบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ แต่หุ้นไทยดีดตัวขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ สวนทางกับทิศทางตลาดหุ้นภูมิภาค โดยมีแรงหนุนจากหุ้นในกลุ่มธนาคารและพลังงาน            

                สำหรับสัปดาห์ถัดไป (8-12 มี.ค.) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,525 และ 1,510 จุด ขณะที่ แนวต้านอยู่ที่ 1,550 และ 1,560 จุด ตามลำดับ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ปัจจัยการเมืองในประเทศ สถานการณ์โควิด 19 ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภคและผู้ผลิตเดือนเดือนก.พ. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ การประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป การประชุมสภาประชาชนแห่งชาติและตัวเลขเศรษฐกิจเดือนก.พ. ของจีน ตลอดจนตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4/63 ของญี่ปุ่นและยูโรโซน

You may also like

รัฐบาลไทยช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม บริจาค 3 ล้านบาทแก่องค์การสหประชาชาติ เพื่อสนับสนุนผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่น

รัฐบาลไท