เงินบาทแข็งค่าก่อนผลการประชุมเฟด หุ้นไทยขยับขึ้น

เงินบาทแข็งค่าก่อนผลการประชุมเฟด หุ้นไทยขยับขึ้น

เงินบาทแข็งค่าก่อนผลการประชุมเฟด หุ้นไทยขยับขึ้น

……………………………………………

  • เงินบาทแข็งค่าทดสอบแนว 34.00 ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงขายก่อนผลการประชุมเฟด หลังจากที่ข้อมูลด้านแรงงานของสหรัฐฯ ออกมาน่าผิดหวัง
  • SET Index พลิกกลับมาปิดบวกได้ก่อนเข้าสู่ช่วงวันหยุดยาวของตลาดในประเทศ แม้เผชิญแรงกดดันในช่วงแรกจากประเด็นปัญหาธนาคารสหรัฐฯ และราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวลง

……………………………………….

สรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท

เงินบาทแข็งค่าผ่านแนว 34.00 ไปแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 3 สัปดาห์ที่ 33.99 บาทต่อดอลลาร์ฯ ก่อนผลการประชุมเฟด

เงินบาทแกว่งตัวในกรอบแคบในช่วงแรก ก่อนจะพลิกแข็งค่าก่อนผลการประชุมเฟด เนื่องจากเงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงขายตามการปรับตัวลงของบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ หลังจากที่ข้อมูลการเปิดรับสมัครงานเดือนมี.ค. ของสหรัฐฯ ลดลงไปที่ระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 2 ปี นอกจากนี้การแข็งค่าของเงินบาทยังสอดคล้องกับสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ และสถานการณ์ราคาทองคำในตลาดโลกที่กลับขึ้นไปยืนเหนือแนว 2,000 ดอลลาร์ฯ ต่อออนซ์ได้อีกครั้ง

อนึ่ง ตลาดการเงินในประเทศปิดทำการและเข้าสู่ช่วงวันหยุดยาว ก่อนผลการประชุมเฟดในวันที่ (2-3 พ.ค.) และผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (4 พ.ค.)

ในวันพุธที่ 3 พ.ค. 2566 เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 34.03 บาทต่อดอลลาร์ฯ เทียบกับ 34.14 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (28 เม.ย.) สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างวันที่ 2-3 พ.ค. เม.ย. 2566 นั้น แม้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทยประมาณ 409 ล้านบาท แต่ก็มีสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยถึง 18,856 ล้านบาท

สัปดาห์ถัดไป (8-12 พ.ค.) ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ระดับ 33.80-34.30 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ สถานการณ์แบงก์ และปัญหาเพดานหนี้ของสหรัฐฯ ทิศทางเงินทุนต่างชาติและการเคลื่อนไหวของสกุลเงินในภูมิภาค ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนเม.ย. ดัชนีความเชื่อมั่นและตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อในมุมมองของผู้บริโภคเดือนพ.ค. (เบื้องต้น) ตลอดจนจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามผลการประชุม BOE และตัวเลขเศรษฐกิจเดือนเม.ย.ของจีน อาทิ ข้อมูลการส่งออก ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิต และยอดปล่อยกู้ใหม่สกุลเงินหยวน

สรุปความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทย

หุ้นไทยร่วงแตะระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 2 ปีที่ 1,507.22 จุด ก่อนจะฟื้นตัวกลับมาก่อนปิดหยุดยาว ทั้งนี้หุ้นไทยเผชิญแรงกดดันในช่วงแรกจากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาภาคธนาคารของสหรัฐฯ หลังมีรายงานข่าวเกี่ยวกับการปิดกิจการของแบงก์ในสหรัฐฯ อีกราย ขณะที่การปรับตัวลงของราคาน้ำมันในตลาดโลกยังเพิ่มแรงกดดันต่อหุ้นกลุ่มพลังงานด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดีหุ้นไทยฟื้นตัวกลับมาตามแรงซื้อคืนหุ้นกลุ่มแบงก์ ไฟแนนซ์และวัสดุก่อสร้าง ก่อนเข้าสู่ช่วงวันหยุดยาวของตลาดในประเทศ ประกอบกับนักลงทุนคาดว่า เฟดอาจส่งสัญญาณสิ้นสุดดอกเบี้ยขาขึ้นในการประชุมรอบนี้

ในวันพุธ (3 พ.ค.) ดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,533.30 จุด เพิ่มขึ้น 0.27% จากระดับปลายสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 47,481.82 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.43% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai ลดลง 0.52% มาปิดที่ระดับ 499.36 จุด

สำหรับสัปดาห์ถัดไป (8-12 พ.ค.) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,515 และ 1,500 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,545 และ 1,555 จุด ตามลำดับ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางเงินทุนต่างชาติ ผลประกอบการงวดไตรมาส 1/66 ของบจ.ไทย ปัญหาธนาคารสหรัฐฯ และสถานการณ์การเมืองในประเทศ ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนเม.ย. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ การประชุม BOE ดัชนี PMI เดือนเม.ย. ของญี่ปุ่น รวมถึงข้อมูลเศรษฐกิจเดือนเม.ย. ของจีน อาทิ ตัวเลขส่งออก และดัชนีราคาผู้บริโภค

 

 

 

You may also like

กาแฟ“พันธุ์ไทย”สร้างปรากฏการณ์ใจฟู! ดึง 2 ยูทูปเปอร์เกาหลี “คัลแลน-พี่จอง” นั่งแท่น Brand Presenter คู่แรกของพันธุ์ไทย

กาแฟ“พัน