“เปิดนิเวศมหาวิทยาลัยดิจิทัล” DU Forum ระดมสมอง

“เปิดนิเวศมหาวิทยาลัยดิจิทัล” DU Forum ระดมสมอง

เปิดนิเวศมหาวิทยาลัยดิจิทัล”

DU Forum ระดมสมอง

   สถาบันคลังสมองของชาติจัดงานสัมมนา Digital University Forum “เปิดนิเวศมหาวิทยาลัยดิจิทัล” เมื่อเร็วๆนี้ ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร ชั้น 3 สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ถนนศรีอยุธยา)  จากการดำเนินงานวิจัยภายใต้โครงการ “มหาวิทยาลัยดิจิทัล” ที่ได้คำตอบอย่างชัดเจนแล้วว่า มหาวิทยาลัยไทยมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลได้เมื่อมีนิเวศดิจิทัลที่เหมาะสม งานนี้จึงจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดนิเวศ ให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมกันแลกเปลี่ยนมุมมอง Share and Learn เพื่อจะสามารถผลักดันให้มหาวิทยาลัยไทยเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลที่เป็นประโยชน์กับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคสังคม ภาครัฐ และภาคเอกชน

ภายในงานได้เริ่มจากการกล่าววัตถุประสงค์การจัดงาน โดย รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ ผู้อำนวยการสถาบันคลังสมองของชาติ ที่กล่าวว่า “งานนี้มหาวิทยาลัยจะเชื่อมต่อกับโลกได้ต้องปรับลดการทำงานแบบต่างคนต่างทำ (Silo) สร้างพื้นที่การเชื่อมต่อ โดยการเชื่อมต่อมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างมหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยกับชุมชน มหาวิทยาลัยกับภาครัฐ มหาวิทยาลัยกับภาคธุรกิจ ดังนั้นจึงเป็นการ “เชื่อมเพื่อใช้” ใช้ประโยชน์จากการเชื่อมต่อกลุ่มต่างๆ ในนิเวศมหาวิทยาลัยดิจิทัล

โดยฉายภาพปลายทางของงานวิจัยนี้น่าจะเกิดเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายให้กับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ทำให้ได้ทราบว่าในส่วนนิเวศของมหาวิทยาลัยที่จะก้าวเข้าสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลเต็มรูปแบบควรจะมีอะไรบ้าง มีการกระตุ้น มีการสนับสนุน มีตัวอย่างที่ดี มีการจัดอบรม มีการทำความเข้าใจ และไปด้วยกัน ตรงนี้ก็เป็นในส่วนที่สถาบันคลังสมองทำได้”

จากนั้นเป็นการให้มุมมองการพัฒนานิเวศมหาวิทยาลัยดิจิทัล  โดย อ.ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ผู้ดูแลโครงการมหาวิทยาลัยดิจิทัลที่ชวนมองการทำงานด้วยเฟรมเวิร์คที่เหมาะสม ร่วมกันตั้งเป้าหมาย เพื่อความสำเร็จและที่สำคัญชวนให้เกิดการเรียนรู้เครือข่ายในวงการศึกษาและภาคส่วนอุตสาหกรรมส่วนต่าง ๆ ร่วมกัน ถัดมาเป็นการบรรยายพิเศษ การขับเคลื่อนสู่งองค์กรดิจิทัลของมหาวิทยาลัยไทยในระบบนิเวศดิจิทัล โดย รศ. ดร.วรา วราวิทย์ ประธานคณะทำงานยุทธศาสตร์การปรับเปลี่ยนสู่ความเป็นดิจิทัลที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)

ในส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Share and Learn : เปิดประตูสู่การสร้างความรู้จัก พัฒนาเครือข่ายนิเวศมหาวิทยาลัยดิจิทัลที่เปิดพื้นที่แบ่งปันประสบการณ์และข้อเสนอแนะร่วมกัน โดยแบ่งเป็น 4 ช่วง ได้แก่

ช่วงที่ 1 เรียนรู้จากมหาวิทยาลัยดิจิทัลต้นแบบ โดย รศ. ดร.รัฐสิทธิ์ สุขหุต รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.กิตติ์ เธียรธโนปจัย ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายดิจิทัล มหาวิทยาลัยขอนแก่น และดร.วรรณพล ศุภสกุลดำรง ผู้ช่วยอธิการบดีด้านพัฒนาประสานงานโครงการและสื่อสารองค์กร สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

ช่วงที่ 2 การเสนอภาพการขับเคลื่อนด้วยความพร้อม : ก้าวสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัลในระดับภาคส่วน โดย ผศ. ดร.ก่อพร พันธุ์ยิ้ม คณะวิศวกรรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผศ. ดร.ธัชชา สามพิมพ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช รศ. ดร.วรัญญา ปุณณวัฒน์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และ อ.ธีรภัทร สุวรรณรุจิ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จากนั้นเป็นการเปิดพื้นที่ให้ภาคเอกชนมาเสนอมุมมอง

ช่วงที่ 3 พันธมิตรนอกรั้วมหาวิทยาลัย : มองการจับมือภาคอุตสาหกรรมเพื่อเท่าทันการเปลี่ยนแปลง โดย คุณวนะชัย รัศมีพลังสันติ Head of Mandala Academy บ.โอเชี่ยน สกายเน็ตเวิร์ค จำกัด คุณอานนท์ ศิริพุทธิชัยกุล PRINC Hospital Group ดร.อิศรา ดิสรเตติวัฒน์ กรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บ.ที่ปรึกษาซี เอส อาร์ กรุ๊ป จำกัด และดร.ทัชนันท์ กังวานตระกูล อุปนายกสมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย

ช่วงที่ 4 นิเวศมหาวิทยาลัยดิจิทัลต้นแบบ เป็นการนำเสนอ 2 ต้นแบบของการเชื่อมต่อ ได้แก่ การเชื่อมโยงเครือข่ายองค์กรการศึกษาที่มีความรู้เชิงวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายส่วน ผนึกกำลังที่นำไปสู่การสร้างนิเวศแห่งการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีแบบที่ไม่มีวันสิ้นสุด โดย ศ. ดร.ลัญฉกร วุฒิสิทธิกุลกิจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.พิสิฐวนิชชานันท์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ปิดท้ายด้วยต้นแบบของการทำงานที่ข้ามศาสตร์อย่างTelemedicine ที่นายแพทย์ทำงานร่วมกับวิศวกร จนนำไปสู่การใช้ประโยชน์ระดับนโยบาย โดย ศ. ดร. นพ.ศิริเกษม ศิริลักษณ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ศ. ดร.ไพศาล มุณีสว่าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ นพ.ปิยะ ศิริลักษณ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีนิทรรศการเปิดโลกการเรียนรู้ผ่านนิทรรศการ Metaverse จากเครือข่ายนิเวศ INTANIA VERSE ภายใต้ความร่วมมือคณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ  ที่ครั้งนี้ชวนคนในงานมาสัมผัสกับเทคโนโลยีฝีมือคนไทย ที่ทำให้ได้สัมผัสกับประสบการณ์ใหม่ของการเรียนรู้ แม้อยู่กับบ้านก็ส่งร่างอวตาร์ไปเรียนรู้ได้ทั้งในและต่างประเทศได้ ตอบโจทย์นโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่ต้องการสนับสนุนการสร้างระบบการศึกษาในมหาวิทยาลัยไทยให้เป็น Education 6.0

You may also like

เปิดเคล็ดลับความมั่งคั่ง สำรวจกลยุทธ์การเงินชั้นเซียนของผู้มีกำลังซื้อสูง

เปิดเคล็