เปิดรายงานตลาดศิลปะร่วมสมัยปี 2566 นับจากปี 2543 โตพุ่ง 2,200% ตอกย้ำว่าศิลปะคือสถานที่ปลอดภัยในยามวิกฤต

เปิดรายงานตลาดศิลปะร่วมสมัยปี 2566 นับจากปี 2543 โตพุ่ง 2,200% ตอกย้ำว่าศิลปะคือสถานที่ปลอดภัยในยามวิกฤต

เปิดรายงานตลาดศิลปะร่วมสมัยปี 2566

นับจากปี 2543 โตพุ่ง 2,200%

ตอกย้ำว่าศิลปะคือสถานที่ปลอดภัยในยามวิกฤต

    อาร์ตไพรซ์ (Artprice) โดยอาร์ตมาร์เก็ต (Artmarket) เปิดตัวรายงานตลาดศิลปะร่วมสมัย (Contemporary Art Market Report) ประจำปี 2566 ประจวบเหมาะกับงานนิทรรศการศิลปะฟรีซ (Frieze) ของกรุงลอนดอน และงานปารีสพลัส โดยอาร์ต บาเซิล (Paris+ by Art Basel) ในเมืองหลวงของฝรั่งเศส โดยประเด็นสำคัญของรายงานฉบับนี้อยู่ที่ ตลาดศิลปะที่เติบโตขึ้นมากกว่า 2,200%   นับตั้งแต่ปี 2543 สถิติใหม่ที่ค่อย ๆ ถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง และศิลปะยังคงเป็นสถานที่ปลอดภัยในยามวิกฤต

ในรายงานประจำปีฉบับที่ 27 อาร์ตไพรซ์ โดยอาร์ตมาร์เก็ตดอทคอม (Artmarket.com) นำเสนอและสำรวจตลาดศิลปะร่วมสมัย (Contemporary) และศิลปะร่วมสมัยพิเศษ (Ultra-Contemporary) ซึ่งมีชีวิตชีวามากกว่าครั้งไหน ๆ รายงานตลาดศิลปะร่วมสมัยประจำปี 2566 ของอาร์ตไพรซ์ พร้อมให้อ่านฟรีแบบไม่มีค่าใช้จ่ายแล้ว ทั้งในภาษาฝรั่งเศสและอังกฤษ บนเว็บไซต์ https://www.artprice.com/artprice-reports/the-contemporary-art-market-report-2023

คุณเธียร์รี เออร์มันน์ (thierry Ehrmann) ผู้ก่อตั้งอาร์ตไพรซ์และซีอีโอของบริษัทแม่อย่างอาร์ตมาร์เก็ต ระบุว่า ตลาดศิลปะร่วมสมัยได้เปลี่ยนไปจนแทบจำไม่ได้ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ด้วยการประมูลที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 2,200% จำนวนศิลปินร่วมสมัยที่มามีส่วนร่วมมากขึ้น (จากศิลปิน 5,400 คน เพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 38,000 คน) และปริมาณการแลกเปลี่ยนผลงานที่เพิ่มขึ้น (จาก 12,000 ล็อตที่เสนอขายสู่ 123,000 ล็อต) การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นในเชิงโครงสร้าง รวมถึงเชิงภูมิศาสตร์ด้วยโดยมีประเทศที่เข้าร่วมในตลาดนี้ 64 ประเทศ เมื่อเทียบกับ 39 ประเทศเมื่อ 20 ปีที่แล้ว แน่นอนว่า ตลาดศิลปะร่วมสมัยเร่งตัวขึ้นด้วยอินเทอร์เน็ตและความลื่นไหลในการทำธุรกรรมทางไกล และตอนนี้ตลาดนี้ได้กลายเป็นตัวแทนของตลาดศิลปะที่มีชีวิตชีวาและทำกำไรได้มากที่สุดในศตวรรษที่ 21

  1. ศิลปะร่วมสมัย (ศิลปินเกิดหลังจากปี 2488): ตัวเลขสำคัญในปี 2565/2566

มูลค่าการซื้อขายทั่วโลกอยู่ที่ 2.3 พันล้านดอลลาร์ ตลอดระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา (กรกฎาคม 2565 – มิถุนายน 2566)

ทำผลงานได้ดีที่สุดเป็นอันดับ 4 ในประวัติศาสตร์ของตลาดศิลปะร่วมสมัย

มูลค่าการประมูลในภาคส่วนนี้เพิ่มขึ้น 22 เท่า นับตั้งแต่ปี 2543/2544 (103 ล้านดอลลาร์)

ศิลปะร่วมสมัยมีสัดส่วนคิดเป็น 16% ของตลาดการประมูลวิจิตรศิลป์ (Fine Art) และเอ็นเอฟที (NFT) (1.41 หมื่นล้านดอลลาร์)

ภาคส่วนนี้มีการทำธุรกรรมเพิ่มขึ้นทำลายสถิติที่ยอดขาย 123,450 ล็อต ตลอด 12 เดือนที่ผ่านมา (+2%)

ปริมาณการทำธุรกรรมเพิ่มขึ้น 10 เท่า นับตั้งแต่ปี 2543/2544 (ซึ่งศิลปะร่วมสมัยถูกจำหน่ายเพียง 12,500 ล็อต)

การทำธุรกรรมมูลค่าสูงกว่าเกณฑ์ล้านดอลลาร์ ร่วงลง 22% (290 ครั้ง เทียบกับ 372 ครั้งในปี 2564/2565)

อัตราการขายไม่ออกของภาคส่วนนี้ยังคงอยู่ที่ 34% (เทียบกับ 33% เมื่อปีที่แล้ว)

ราคาสูงสุดที่จ่ายให้กับผลงานศิลปะร่วมสมัยคือ 67.1 ล้านดอลลาร์ ผลงานของฌอง-มิเชล บาสเกีย (Jean-Michel Basquiat)

ราคาประมูลเฉลี่ยของศิลปะร่วมสมัยอยู่ที่ 18,600 ดอลลาร์

ซอฟต์พาวเวอร์ของตลาดศิลปะร่วมสมัยปี 2565/2566

สหรัฐเป็นผู้นำระดับโลกในภาคส่วนนี้ด้วยมูลค่าการประมูลที่ 857 ล้านดอลลาร์ ตลอด 12 เดือนที่ผ่านมา

อย่างไรก็ดี ตลาดสหรัฐมีมูลค่าอยู่ที่ 1 พันล้านดอลลาร์ในปี 2564/2565

ตลาดจีนตามมาเป็นอันดับ 2 โดยมีมูลค่า 744 ล้านดอลลาร์ แม้ว่าจะหดตัวลง 5% (มีมูลค่าอยู่ที่ 785 ล้านดอลลาร์ในปี 64/65)

สหราชอาณาจักรครองอันดับ 3 ด้วยมูลค่า 376 ล้านดอลลาร์

ฝรั่งเศสเป็นอันดับที่ 4 ด้วยมูลค่า 46 ล้านดอลลาร์

ญี่ปุ่นตามมาเป็นอันดับที่ 5 ด้วยมูลค่า 40 ล้านดอลลาร์

คริสตีส์ (Christie’s) เป็นผู้ดำเนินการประมูลระดับโลกชั้นนำในภาคส่วนนี้ โดยมีมูลค่าการซื้อขายรวมทั้งสิ้น 650 ล้านดอลลาร์ (คิดเป็น 31% ของมูลค่ารวมทั่วโลก)

บริษัทประมูลซัทเทบีส์ (Sotheby) ครองอันดับ 2 ด้วยมูลค่า 595 ล้านดอลลาร์ (คิดเป็น 28%) และบริษัทประมูลฟิลิปส์ (Phillips) ตามมาเป็นอันดับ 3 ด้วยมูลค่า 260 ล้านดอลลาร์ (คิดเป็น 12%)

ไชนา การ์เดียน (China Guardian) เป็นบริษัทประมูลชั้นนำของจีน โดยมีมูลค่าการซื้อขายรวมทั้งสิ้นอยู่ที่ 82 ล้านดอลลาร์ (คิดเป็น4%)

เคตเทเรอร์ (Ketterer) เป็นบริษัทประมูลชั้นนำของยุโรป โดยมีมูลค่าการซื้อขายรวมทั้งสิ้นอยู่ที่ 11 ล้านดอลลาร์ (0.5%)

โครงสร้างของตลาดศิลปะร่วมสมัย

ผลงานศิลปะร่วมสมัย 11 ชิ้นมีมูลค่าสูงกว่า 10 ล้านดอลลาร์ (เทียบกับจำนวน 20 ชิ้น ในปี 2564/2565)

ผลงานศิลปะ 290 ชิ้นมีมูลค่าสูงกว่าเกณฑ์ 1 ล้านดอลลาร์ (เทียบกับ 372 ชิ้นในปี 64/65)

54% ของล็อตศิลปะร่วมสมัยถูกขายไปในราคาต่ำกว่า 1,000 ดอลลาร์ (อาทิ ผลงาน 66,600 ชิ้น)

จิตรกรรมมีสัดส่วนคิดเป็น 74% ของมูลค่าการประมูลศิลปะร่วมสมัยทั่วโลก

ประติมากรรมมีสัดส่วนคิดเป็น 10% และภาพเขียนมีสัดส่วนคิดเป็น 9%

ภาพพิมพ์ (4%) สร้างมูลค่าการประมูลได้สูงกว่าภาพถ่ายเป็นเท่าตัว (2%)

ศิลปินร่วมสมัย 30,532 คน มีการประมูลอย่างน้อยหนึ่งครั้งในปี 2565/2566

ศิลปิน 10 คนครองสัดส่วน 27% ของมูลค่าการประมูลศิลปะร่วมสมัยทั่วโลก

10 อันดับศิลปินร่วมสมัยที่มีมูลค่าการประมูลสูงที่สุด

(1 กรกฎาคม 2565 – 30 มิถุนายน 2566) ©Artprice.com

  1. ศิลปะร่วมสมัยพิเศษ (ศิลปินอายุไม่ถึง 40 ปี): สถิติที่น่าสนใจสำหรับครึ่งแรกของปี 2566
  • กลุ่มศิลปะร่วมสมัยพิเศษกวาดรายได้ 127 ล้านดอลลาร์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566
  • มูลค่าการซื้อขายทั่วโลกลดลง 38% เมื่อเทียบช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 (206 ล้านดอลลาร์)
  • เป็นช่วงครึ่งปีที่ดีที่สุดอันดับ 3 ในกลุ่มศิลปะร่วมสมัยพิเศษ นับตั้งแต่ปี 2543
  • ในระยะเวลา 23 ปี มูลค่าการซื้อขายของภาคส่วนนี้เพิ่มขึ้น 8.5 เท่า (จาก 14.9 ล้านดอลลาร์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2543)
  • ศิลปะร่วมสมัยพิเศษมีสัดส่วน 12% ของตลาดการประมูลงานศิลปะร่วมสมัยทั้งหมด
  • ศิลปะร่วมสมัยพิเศษมีสัดส่วน 2% ของมูลค่าการซื้อขายงานวิจิตรศิลป์และ NFT ทั่วโลก
  • ผลงานศิลปะร่วมสมัยพิเศษจำนวน 4,520 ชิ้นถูกขายในช่วงครึ่งแรกของปี 2566
  • อัตราผลงานที่ประมูลไม่ได้ของกลุ่มนี้อยู่ที่ 34% (เช่นเดียวกับกลุ่มศิลปะร่วมสมัยโดยรวม)

โครงสร้างของตลาดศิลปะร่วมสมัยพิเศษในช่วงครึ่งแรกของปี 2566

  • ราคาเฉลี่ยของผลงานศิลปะร่วมสมัยพิเศษแตะ 28,100 ดอลลาร์
  • ภาพจิตรกรรมมีสัดส่วน 80% ของมูลค่าการซื้อขายของกลุ่มศิลปะร่วมสมัยพิเศษ
  • NFT นับเป็นสื่อกลางที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ในกลุ่มนี้ แตะ 14 ล้านดอลลาร์ (11%)
  • ภาพวาดมีสัดส่วน 5.8% และประติมากรรม 1.5%
  • สหรัฐก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางชั้นนำในการซื้อขายผลงานศิลปะร่วมสมัยพิเศษ: 41 ล้านดอลลาร์ (32%)
  • ฮ่องกงมีมูลค่าการซื้อขายงานของกลุ่มนี้ 31% และจีนอยู่ที่ 7%
  • สหราชอาณาจักรมีมูลค่าการซื้อขายรวม 26 ล้านดอลลาร์ ทำรายได้ 20% ของมูลค่าการซื้อขายงานศิลปะร่วมสมัยพิเศษทั่วโลก

ความหลากหลายของตลาดศิลปะร่วมสมัยพิเศษในช่วงครึ่งแรกของปี 2566

  • ศิลปินอายุไม่ถึง 40 ปี จำนวน 2,646 ราย ประมูลผลงานอย่างน้อยหนึ่งครั้งในช่วงครึ่งแรกของปี 2566
  • ศิลปินหญิง 5 รายติด 10 อันดับแรกของศิลปินร่วมสมัยพิเศษ เมื่อพิจารณาจากมูลค่าการซื้อขาย
  • แมทธิว หว่อง (Matthew Wong) (2527-2562) ทุบสถิติใหม่ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่ 6.6 ล้านดอลลาร์

NFT โดยศิลปินร่วมสมัยพิเศษในช่วงครึ่งแรกของปี 2566

  • NFT ศิลปะร่วมสมัยพิเศษ สร้างรายได้รวม 14.2 ล้านดอลลาร์ (เมื่อเทียบกับ 5.3 ล้านดอลลาร์ในครึ่งแรกของปี 2565)
  • NFT คิดเป็น 11% ของตลาดศิลปะร่วมสมัยพิเศษ
  • NFT ที่ขายดีที่สุดในปี 2565/2566 ได้แก่ Ringers #879 (The Goose) ปี 2564 ของดมิทรี เชอร์เนียก (Dimitry Cherniak) (เกิดปี 2531) ซึ่งคว้าเงินได้ 6.2 ล้านดอลลาร์ที่ซัทเทบีส์ ณ นครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2566

10 อันดับแรกของศิลปินอายุไม่ถึง 40 ปี ในแง่ของมูลค่าการซื้อขาย

(1 มกราคม 2566 – 30 มิถุนายน 2566) ©Artprice.com

 

ศิลปะ สินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางวิกฤต

โดยสรุป แม้ภาคส่วนอื่นของเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากบริบททางภูมิศาสตร์การเมืองและการเงินในปัจจุบัน แต่ตลาดศิลปะก็ยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยสร้างสถิติการซื้อขายอยู่บ่อยครั้งสำหรับผลงานจากทุกยุคศิลปะและในหลากหลายประเทศในการขายครั้งล่าสุด นอกจากนี้ ยังไม่มีการยกเลิกการขายตามแคตตาล็อกคลาสสิกและ/หรือเพรสทีจสำหรับปี 2566 หรือ 2567 ยอดขายเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในตลาดงานศิลปะทั้งหมด

บริษัทประมูลและนักลงทุนรายใหญ่ต่างรู้ดีว่าศิลปะเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยและเป็นการลงทุนที่ดี ตามที่แสดงให้เห็นผ่านดัชนีอาร์ตไพรซ์100 (Artprice100©) ซึ่งสร้างผลตอบแทนดีกว่าดัชนีตลาดหุ้นแบบดั้งเดิม ช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอนในตลาดหุ้นในปัจจุบันยังส่งผลให้มีการนำเงินทุนและการลงทุนใหม่ๆ เข้าสู่ตลาดศิลปะอีกด้วย

       ในช่วงวิกฤตที่ผ่านมา อาร์ตไพรซ์ได้สังเกตเห็นแล้วว่าตลาดศิลปะได้รับผลกระทบน้อยกว่าตลาดการเงินและเศรษฐกิจ แนวโน้มนี้เกิดขึ้นจริงในระหว่างเหตุการณ์ ดัชนี Nasdaq เกิดฟองสบู่แตกในปี 2543, หลังการโจมตี 9/11 ในปี 2544, สงครามอัฟกานิสถานในปี 2544, สงครามอิรักในปี 2546, วิกฤตซับไพรม์และ CDS ในปี 2550, อัตราดอกเบี้ยติดลบที่เริ่มขึ้นในปี 2554 และวิกฤตโควิด-19 ในปี 2562 แม้ปัจจุบันจะเกิดความไม่สงบทางภูมิรัฐศาสตร์ครั้งใหญ่และความหวาดกลัวต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย ตลาดศิลปะก็ยังสามารถรักษาความแข็งแกร่งได้

………………..

ระเบียบวิธี

รายงานฉบับนี้ประเมินผลการประมูลงานวิจิตรศิลป์ในที่สาธารณะทั้งหมด เช่น ภาพจิตรกรรม ภาพวาด ประติมากรรม ภาพถ่าย ภาพพิมพ์ วีดิทัศน์ ศิลปะจัดวาง งานพรมผนัง และ NFT โดยไม่นับรวมโบราณวัตถุ ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมและเฟอร์นิเจอร์ รายงานยังครอบคลุมผลการประมูลทั่วโลกที่อาร์ตไพรซ์รวบรวมสำหรับงานศิลปะของศิลปินที่เกิดหลังปี 2488 (ศิลปะร่วมสมัย) ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2566 และมุ่งความสนใจเป็นพิเศษไปที่การซื้อขายงานศิลปะของศิลปินที่อายุไม่ถึง 40 ปี (ศิลปินร่วมสมัยพิเศษ) ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566 ราคางานศิลปะทั้งหมดที่ระบุในรายงานนี้อ้างอิงจากผลการประมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะ รวมถึงค่าธรรมเนียมที่ผู้ซื้อต้องชำระ โดยมีการอ้างอิงเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ($)

ข้อมูลและการศึกษาเชิงเศรษฐมิติที่จัดทำโดย Artmarket.com นำเสนอขึ้นโดยเฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์และทำความเข้าใจความเป็นจริงทางสถิติของตลาดศิลปะ และไม่ควรถือเป็นคำแนะนำ ข้อเสนอแนะ หรือการชักชวนให้ลงทุนในตลาดศิลปะ

ภูมิศาสตร์ของมูลค่าการประมูลจากศิลปะร่วมสมัยขั้นสูง (H1 2023)

You may also like

“ซีดริ้ง”รุกอีกก้าวเปิดตัว“C2 Vitamin Jelly” จัดหนัก!คว้าพระเอกเกาหลี“อูโดฮวาน” เป็น Global Brand Ambassador

“ซีดริ้ง