เยี่ยมชม“ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์” โรงงานผลิตไฟฟ้าจากขยะ

เยี่ยมชม“ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์” โรงงานผลิตไฟฟ้าจากขยะ

 

เยี่ยมชม“ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์”

โรงงานผลิตไฟฟ้าจากขยะ

          ไทยเรามีปริมาณขยะปีละ 27 ล้านตัน!!

          นำกลับมาใช้ประโยชน์ได้แค่ปีละ 8 ล้านตัน เหลืออีก 19 ล้านตัน ต้องกำจัดทิ้ง

          หากคิดตามค่าเฉลี่ยของการกำจัดขยะทั่วไป คือตันละ 400 บาท บวกลบคูณหารออกมา ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะถึง 7,600 ล้านบาท

            แต่ในปัจจุบัน เราพยายามนำขยะมาใประโยชน์ในหลายรูปแบบ หนึ่งในนั้นคือการนำมาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า

            ล่าสุดนี้ๆได้รับการประสานจากโครงการสร้างเครือข่ายสื่อมวลชนไทยใส่ใจทางเลือกใหม่พลังงานไฟฟ้า นำประดาสื่อมวลชนกว่าครึ่งร้อยคน เยี่ยมชมโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะ บริษัททีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด(มหาชน) ที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

            ซึ่งก็อยู่ในอาณาบริเวณเดียวกันกับโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ทีพีไอนั่นเอง

            โดยมีคุณวรวิทย์ เลิศบุษศราคาม รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส เป็นคนต้อนรับและเล่าให้ฟังถึงขบวนการและวิธีในการผลิตไฟฟ้าจากขยะ

            สรุปกันง่ายๆในการผลิตก็คือรับซื้อขยะ คัดแยก เผา ซึ่งในกระบวนการนี้จะมีการคัดแยกเพื่อเลือกเฉพาะในส่วนที่พร้อมในการเป็นวัสดุดิบในการผลิตไฟฟ้า ที่ภาษาทางการเรียกว่า RDF ซึ่งย่อมาจากคำว่า Refuse Derived Fuel

            ก็เนื่องมาจากว่า ขยะทั่วไป หากเผาเป็นพลังงานไฟฟ้า จะได้ไม่ดีนัก ค่าความชื้นที่ได้จะไม่แน่ไม่นอน เนื่องขากขยะมูลฝอยที่ได้มา จะเปลี่ยนไปตามชุมชนและตามฤดูกาล ดังนั้นจะต้องนำมาขยธมาผ่านกระบวนการพิเศษ เพื่อทำให้ขยะมีความเหมาะสมในการเป็นขยะเชื้อเพลงมากขึ้น

            คำว่า RDF ก็คือเชื้อเพลิงขยะจากการนำขยะมูลฝอยที่ผ่านการคัดแยกแล้ว มาผ่านกระบวนการแปรรูปและจัดการต่างๆ และปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมี โดยเราสามารถใช้ RDF ร่วมกับถ่านหินเพื่อลดถ่านหินลง หรือนำพลังงานความร้อนทิ้งจากกระบวนการผลิตปูนมาใช้ร่วมก็ได้

ข้อดีของเชื้อเพลิงประเภทนี้คือมีค่าความร้อนสูงและมีความชื้นต่ำกว่าชีวมวล

            แต่ข้อเสียก็มีเช่นกัน เช่น ต้องคัดแยกขยะเสียก่อน ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และต้องจัดหาขยะเข้าระบบอย่างต่อเนื่องเพื่อให้โรงไฟฟ้าดำเนินการได้

            ขณะที่ทีพีไอรับซื้อขยะวันละ 7,000 ตัน สามารถนำมาทำเป็น RDF ได้ ฃประมาณ 4,000 ตันเท่านั้น

            ขยะที่นำมาส่งที่โรงไฟฟ้าทีพีไอ ก็มีทั้งในย่านจังหวัดสระบุรี สมุทรปราการ และภาคตะวันออก ซึ่งแท้จริงแล้ว หลายส่วนที่มาเห็นที่นี่ รับซื้อจริง จ่ายจริง ทำจริง จากที่ต้องเสียค่ากำจัดขยะตันละ 300-800 บาท แล้วแต่ว่าเป็นทีไหน อย่างที่กรุงเทพเสียแพงที่สุดคือ 800 บาท แต่มาที่นี่กลับได้เงินเสียอีก

            แม้แต่ที่ภาคใต้หลายจังหวัด ยังสนใจที่จะมาส่งขยะให้ หากแต่ปัญหาคือค่าขนส่ง ที่อาจจะได้ ไม่คุ้มเสีย

            น่าจะเป็นเรื่องราวที่ต้องทึ่ง จากขยะที่เหม็นเน่าสู่ธูรกิจที่หอมหวน และโรงไฟฟ้าชุมชนที่จะเกิดขึ้นตามนโยบายของกระทรวงพลังงาน น่าจะจับลไปเป็นโมเดลได้ไม่ยาก!

            สำหรับที่โรงผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะแห่งนี้ ถือว่าเป็นรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ผลิตไฟฟ้า 180 MW ขายให้กับโรงงานปูนซีเมนต์ของพีไอเอง และกฟผ.เป็นหลัก ซึ่งมีผลประกอบการน่าสนใจทีเดียว สามารถทำกำไรยอดขายในปี 2560 ได้ 5,188 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,591 ล้านบาท ในขณะปี 2562 มียอดขายประมาณ 6,000 ล้าน ผลกำไรแน่ชัดยังไม่แจ้ง แต่หลายคนคงหลับตานึกได้ไม่ยาก

            อาจจะเป็นตัวเลขที่หลายคนต้องทึ่ง เพราะมากกว่าผลกำไรจากการขายปูนซีเมนต์ที่เป็นธูรกิจหลักและดั้งเดิมของทีพีไอด้วยซ้ำ

            นี่คือทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ ผู้แปลงขยะให้เป็นทองตัวจริง เสียจริง!

 

 

You may also like

ชูเมืองเก่าภูเก็ต-แม่กลองเป็นเมืองนำร่อง สู่ต้นแบบการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยวัฒนธรรมระดับโลก

ชูเมืองเ