ไทยเจ้าภาพจัดใหญ่ ประชุมสุดยอดผู้นำความยั่งยืนโลก Global Sustainable Development Congress

ไทยเจ้าภาพจัดใหญ่ ประชุมสุดยอดผู้นำความยั่งยืนโลก Global Sustainable Development Congress

ไทยเจ้าภาพจัดใหญ่ ประชุมสุดยอดผู้นำความยั่งยืนโลก

Global Sustainable Development Congress

   ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานอันยิ่งใหญ่ Global Sustainable Development Congress ประจำปี 2567 ซึ่งเป็นการผนึกกำลังในการจัดงานระหว่าง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และสถาบันจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก Times Higher Education (THE) โดยงานจะจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 10-13 มิถุนายน พ.ศ.2567 นี้ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

งานสุดยิ่งใหญ่ในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 3,000 คนจากทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมต่าง ๆ อาทิ มหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐ ธุรกิจ องค์กรพัฒนาเอกชนและภาคประชาสังคม ที่ตบเท้าเข้าร่วมการประชุมเพื่อพัฒนาแนวทางในการแก้ไขวิกฤตด้านความยั่งยืนระดับโลกอย่างเร่งด่วน ผ่านการส่งเสริมความร่วมมือและนวัตกรรม

ยิ่งไปกว่านั้นการประชุมครั้งนี้มีวิทยากรผู้มีชื่อเสียงมากกว่า 350 คนจากทั่วโลกมาร่วมให้ข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งวิทยากรที่มีชื่อเสียงที่ได้รับการยืนยันเข้าร่วมงานจากประเทศไทยประกอบด้วย

  • คุณ ศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  • คุณ พรพรหม ณ.ส. วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครฯ และผู้บริหารด้านความยั่งยืนกรุงเทพมหานครฯ
  • คุณ มลิสา ศิระวิศิษฏ์พร Country Head of Human Resources, HSBC Thailand
  • คุณรัชญา กุลณพงษ์ หัวหน้าฝ่ายความยั่งยืน บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น
  • ดร.วราพงศ์ วงศ์วัชรา หัวหน้าสำนักงานความยั่งยืน กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร
  • ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล
  • ดร.พรชัย มงคลวนิช อธิการบดีมหาวิทยาลัยสยาม

ไฮไลท์สำคัญภายในการประชุมคือ Global Sustainability Leaders’ Summit ซึ่งคือการประชุมสุดยอดผู้นำด้านความยั่งยืนระดับโลก ทัพนำผู้นำจากหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นด้าน ธุรกิจ รัฐบาล การศึกษาระดับอุดมศึกษา และภาคประชาสังคม กว่าจำนวน 150 คนมารวมตัวกันเพื่อคิดแนวทางการแก้ปัญหาที่รูปธรรมในด้านความยั่งยืนของโลก

นอกจากนี้ยังได้มีกิจกรรมอื่น ๆ ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นการประชุม International Green Skills Summit และ THE’s DataLabs ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้างความยั่งยืนในการศึกษาระดับอุดมศึกษาผ่านข้อมูลต่าง ๆ การวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญ และแนวทางปฏิบัติที่เป็นที่ประจักษ์จากทั่วมุมโลก ซึ่งภายในงานพื้นที่งานนิทรรศการที่รวบรวมมหาวิทยาลัยและสมาคมชื่อดังมากมายจากประเทศไทยและทุกทั่วมุมโลกที่มาร่วมแสดงความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนของพวกเขา ทั้งนี้จะมีการเผยแพร่ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) หรือ THE Impact Rankings ของปีล่าสุดที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากทั่วทุกมุมโลกโดยเฉพาะในประเทศไทย ซึ่งเป็นการจัดอันดับที่โดดเด่นที่ประเมินมหาวิทยาลัยโดยพิจารณาจากการมีส่วนร่วมขององค์กรต่าง ๆ ต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ

ผู้เข้าร่วมงานจะได้มีส่วนร่วมในการอภิปรายและร่วมดำเนินการเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยพูดคุยกับมหาวิทยาลัยเพื่อปรับโครงงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะด้านการศึกษา การวิจัย นวัตกรรม และการขยายงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) ของสหประชาชาติ ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมจะมีโอกาสเสริมสร้างเครือข่ายและทำงานร่วมกันกับองค์กรต่างอุตสาหกรรม ซึ่งกำหนดการประกอบด้วยการดูกรณีศึกษา แนวปฏิบัติที่ดีที่สุด แผนงานที่ประสบความสำเร็จ และกลยุทธ์เชิงนวัตกรรม พร้อมนำเสนอโครงการที่ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเป็นรูปธรรม

กิจกรรมทั้ง 4 วัน มุ่งเน้น 6 ประเด็นสำคัญ:

  1. การศึกษา เพศสภาพและความเหลื่อมล้ำ
  2. สุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี และประชากร
  3. การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานและอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน
  4. ระบบอาหาร ที่ดิน น้ำ และมหาสมุทรที่ยั่งยืน
  5. เมืองและชุมชนยั่งยืน
  6. การปฏิวัติเชิงดิจิทัลสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน

คุณ Phil Baty, Chief Global Affairs Officer ของ THE กล่าวว่า “ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศต้น ๆ ของโลกหรือเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในมหาอำนาจทางด้านการศึกษาที่มีมหาวิทยาลัยชั้นนำที่ช่วยสนับสนุนโลกและประเทศในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติเป็นเรื่องน่ายินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่เราร่วมมือกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศไทย เพื่อเป็นเจ้าภาพการประชุม Global Sustainable Development Congress งานนี้รวมภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคมเข้ากับมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง ซึ่งแน่นอนว่าประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่เหมาะสมในการจัดงาน ทั้งยังเป็นตัวอย่างในแง่ของกรณีศึกษาเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดี

You may also like

เปิดตัวดัชนีชี้วัดความปลอดภัยของเด็ก บนโลกออนไลน์ทั้งในระดับชาติและระดับโลก

เปิดตัวด