กรุงศรีคาดเงินบาท ซื้อขายในกรอบ 33.40-34.00 ผันผวนต่อเนื่อง

กรุงศรีคาดเงินบาท ซื้อขายในกรอบ 33.40-34.00 ผันผวนต่อเนื่อง

กรุงศรีคาดเงินบาท ซื้อขายในกรอบ 33.40-34.00

ผันผวนต่อเนื่อง

   กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ประเมินเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 33.40-34.00 บาท/ดอลลาร์ โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทปิดแข็งค่าที่ 33.54 บาท/ดอลลาร์ หลังซื้อขายในช่วง 33.50-34.31 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบเกือบ 16 เดือน ขณะที่เงินดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ยูโรและเงินฟรังก์สวิสในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยความผันผวนของตลาดการเงินทั่วโลกที่สูงขึ้นหนุนค่าเงินเยนขณะที่นักลงทุนหลีกเลี่ยงสินทรัพย์เสี่ยงท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯและมูลค่าหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี นอกจากนี้ ข้อมูลตำแหน่งงานว่างเดือนก.ค.ของสหรัฐฯลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปีครึ่ง บ่งชี้ถึงภาคแรงงานที่ชะลอตัว ซึ่งทำให้ตลาดมองว่าอาจมีโอกาสมากขึ้นที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)จะลดดอกเบี้ยมากกว่า 25bp ต่อรอบประชุม อย่างไรก็ดี ตัวเลขภาคบริการของสหรัฐฯออกมาแข็งแกร่งเกินคาด ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อหุ้นและพันธบัตรไทยสุทธิ 15,496 ล้านบาท และ 9,523 ล้านบาท ตามลำดับ

กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ กรุงศรี ให้ความเห็นถึงสถานการณ์ตลาดในสัปดาห์นี้ว่า ตลาดจะให้ความสนใจกับตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯรวมถึงการโต้วาทีระหว่างผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดี หลังสหรัฐฯรายงานตำแหน่งการจ้างงานเดือนส.ค.ต่ำกว่าคาดแต่ค่าจ้างเร่งตัว ทำให้นักลงทุนไม่แน่ใจเกี่ยวกับขนาดการลดดอกเบี้ยของเฟดในช่วงต้นของวัฎจักร ทั้งนี้ สัญญาดอกเบี้ยล่วงหน้าปรับตัวผันผวนสูงหลังการรายงานข้อมูลจ้างงาน และบ่งชี้ว่ามีโอกาสราว 69% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 25bp และคาดว่ามีโอกาส 31% ที่เฟดจะลดดอกเบี้ย 50bp จากระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย. นอกจากนี้ ตลาดจะติดตามการประชุมธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี)ซึ่งคาดว่าจะลดดอกเบี้ย 25bp สู่ 3.50% ในวันที่ 12 ก.ย. พร้อมส่งสัญญาณผ่อนคลายนโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไป

สำหรับประเด็นในประเทศ ติดตามความต่อเนื่องของกระแสเงินทุนต่างชาติที่ไหลเข้าตลาดหุ้นไทยและการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อสภา ทางด้านดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป(CPI)เดือนส.ค.เพิ่มขึ้น 0.35% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยยังอยู่ต่ำกว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ เนื่องจากต้นทุนพลังงานลดลง แต่ราคาอาหารเพิ่มขึ้นตามผลของสถานการณ์อุทกภัย ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน(Core CPI) ซึ่งไม่รวมอาหารสดและพลังงานเพิ่มขึ้น 0.62% ในเดือนส.ค. โดยกระทรวงพาณิชย์ประเมินว่าในไตรมาส 4/67 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ราว 1.5% กลับเข้าสู่กรอบเป้าหมาย

You may also like

คปภ.เดินหน้า! เปิดเวทีสัมมนาวิชาการด้านประกันภัย ประจำปี 2567 “Thailand Insurance Symposium 2024”

 นายชูฉั