คปภ.น็อคดอร์เติมความรู้ด้านประกันภัยให้ประชาชน

คปภ.น็อคดอร์เติมความรู้ด้านประกันภัยให้ประชาชน

 

คปภ.น็อคดอร์เติมความรู้ด้านประกันภัยให้ประชาชน

            ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า สำนักงาน คปภ. ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงระบบประกันภัยเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงภัยและช่วยเหลือเยียวยาด้านการเงินในกรณีเกิดภัยต่างๆแก่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเศรษฐกิจฐานราก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อย กลุ่มผู้ด้อยโอกาส กลุ่มผู้ประกอบการท้องถิ่น SME ให้สามารถเข้าถึงระบบประกันภัย ภายใต้แผนพัฒนาการประกันภัยฉบับที่ 3 ดังนั้นเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2561

                สำนักงาน คปภ. จึงได้จัดโครงการส่งเสริมความรู้ด้านประกันภัยภาคบังคับ (พ.ร.บ.) สำหรับผู้ประกอบการเรือและผู้ประกอบการท่องเที่ยวในพื้นที่สำนักงาน คปภ. ภาค 8 ในเขตอำเภอเมืองบ้านตาขุนและอำเภอใกล้เคียงจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยแบ่งกิจกรรมออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นการรณรงค์ทำประกันภัย พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ภาคบังคับ) 100% และความปลอดภัยทางถนน ด้วยการปฏิบัติตามกฎจราจร สวมหมวกนิรภัย เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนในการสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชน ซึ่งหากเกิดอุบัติเหตุจากรถก็จะได้รับการเยียวยาอย่างทันท่วงทีตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ภาคบังคับ) โดยเลขาธิการ คปภ. เป็นประธานพิธีปล่อยขบวนรถยนต์และรถจักรยานยนต์แห่ไปตามท้องถนนรอบเมือง เพื่อรณรงค์การประกันภัย ตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากเทศบาลตำบลตาขุน ฝ่ายปกครองท้องถิ่น สาธารณสุข กรมป้องกันสาธารณภัย ภาคอุตสาหกรรมประกันภัย และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก

                โดยมีนายธีระ อนันตเสรีวิทยา รองผู้ว่าราชการ จังหวัดสุราษฎร์ธานีให้เกียรติกล่าวต้อนรับและขอบคุณสำนักงาน คปภ. ที่เลือกพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดกิจกรรมดีๆในการรณรงค์ด้านการประกันภัย เนื่องจากธุรกิจการบริการด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2560 จากฐานข้อมูลการเติบโตด้านเศรษฐกิจการท่องเที่ยว พบว่ามีนักท่องเที่ยวกว่า 5 ล้านคน และมีรายได้จากนักท่องเที่ยว จำนวน 86,301 ล้านบาท ในขณะที่ประชาชนและนักท่องเที่ยวมีการสัญจรทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ส่งผลทำให้ประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากขึ้น อันจะนำมาซึ่งความสูญเสียของชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน ดังนั้นการที่สำนักงานคปภ.จัดกิจกรรมรณรงค์ดีๆแบบนี้จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับทุกภาคส่วนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

                เลขาธิการ คปภ. กล่าวด้วยว่า กิจกรรมในส่วนที่สอง เป็นการบรรยายให้ความรู้ด้านการประกันภัยรถและเรือ (ภาคบังคับ) รวมถึงผลิตภัณฑ์การประกันภัยที่เกี่ยวข้องและสิทธิประโยชน์ต่างๆจากสัญญาประกันภัยให้แก่ผู้ประกอบการเรือ ผู้ประกอบการท่องเที่ยวและประชาชน โดยได้รับความร่วมมือจากสำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์สาขาภาคใต้ เขต 4 บรรยายในหัวข้อ พ.ร.บ.และกฎกระทรวง ธุรกิจท่องเที่ยวและมัคุเทศก์ , สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาสุราษฎร์ธานี บรรยายในหัวข้อ ความปลอดภัยในการเดินเรือ และสำนักงาน คปภ. บรรยายในหัวข้อ การให้ความรู้ด้านการประกันภัยเรือ (ภาคบังคับ) ผลิตภัณฑ์การประกันภัยที่เกี่ยวข้องและสิทธิประโยชน์ต่างๆ รวมทั้งหัวข้อ ความรู้ด้าน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535

                สำหรับการส่งเสริมความรู้ด้านประกันภัยในรูปแบบนี้ถือเป็นการทำงานเชิงรุกของ สำนักงาน คปภ. เพื่อนำความรู้ด้านประกันภัยสู่ประตูบ้านของประชาชนให้ตระหนักถึงการนำระบบประกันภัยเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นรูปธรรมและครบวงจรอย่างแท้จริง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการเรือ ผู้ประกอบการท่องเที่ยวจำเป็นต้องนำระบบประกันภัยเข้ามาบริหารความเสี่ยง โดยเห็นได้จากเหตุการณ์นักท่องเที่ยวชาวจีนประสบภัยเรือล่มที่จังหวัดภูเก็ต เมื่อช่วงต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา หรือแม้แต่เหตุการณ์การให้ความช่วยเหลือทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมี่จำนวน 13 คน ณ วนอุทยานถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เหตุการณ์เครื่องบินทหารตกที่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งล้วนแล้วแต่มีระบบประกันภัยเข้าไปเกี่ยวข้องทั้งสิ้น

                เลขาธิการ คปภ. กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้สำนักงานคปภ.ยังคงมุ่งมั่นในเรื่องการให้ความคุ้มครองผู้บริโภคด้านการประกันภัย เพราะผู้บริโภคถือเป็นศูนย์กลางของระบบประกันภัย ซึ่งความเชื่อมั่นของประชาชนเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญในการตัดสินความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจประกันภัย เพราะหากประชาชนขาดความเชื่อมั่นธุรกิจประกันภัยก็ย่อมส่งผลให้การพัฒนาอุตสาหกรรมประกันภัยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยความยากลำบาก แต่หากประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อระบบประกันภัยและนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเพื่อบริหารความเสี่ยงก็จะทำให้อุตสาหกรรมประกันภัยทั้งระบบเติบโตอย่างยั่งยืนแน่นอน ซึ่งสำนักงานคปภ.มั่นใจว่า ทิศทางที่ดำเนินงานเชิงรุกในการสร้างภูมิคุ้มกันและให้ความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนการรักษาสิทธิประโยชน์ต่างๆด้านการประกันภัยอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ ส่งผลทำให้สังคมไทยมีการตื่นตัวและนำระบบประกันภัยบริหารความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน คปภ. 1186 หรือ www.oic.or.th

You may also like

คปภ.เดินหน้า! เปิดเวทีสัมมนาวิชาการด้านประกันภัย ประจำปี 2567 “Thailand Insurance Symposium 2024”

 นายชูฉั