คปภ.ปรับระบบจ่ายสินไหมประกันข้าวนาปี

คปภ.ปรับระบบจ่ายสินไหมประกันข้าวนาปี

คปภ.ปรับระบบจ่ายสินไหมประกันข้าวนาปี

                ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) นำคณะนักศึกษาหลักสูตรวิทยาการประกันภัยระดับสูง (วปส.) รุ่นที่ 8 เดินทางศึกษาดูงานด้านการประกันภัยเพื่อ นำแนวคิดและแนวปฏิบัติที่ดีของธุรกิจประกันภัยระดับโลกมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทย ระหว่างวันที่ 12 – 19 กันยายน 2561 ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

                การศึกษาดูงานครั้งนี้ เริ่มจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับบริษัท Swiss Re ซึ่งเป็นบริษัทประกันภัยที่ประกอบธุรกิจประกันภัยต่อที่มีอายุกว่า 100 ปี ณ สำนักงานใหญ่ บริษัท Swiss Re เมืองซูริค ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยผู้แทนของบริษัท Swiss Re ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการดำเนินการของบริษัทในการบริหารจัดการความเสี่ยง และแนวทางการลดช่องว่างด้านความคุ้มครอง ผ่านทาง indemnity policy ที่เป็นการให้ความคุ้มครองตามความเสียหายที่แท้จริงตามหลักการประกันวินาศภัยทั่วไป และ parametric insurance ที่เป็นการให้ความคุ้มครองเมื่อเกิดความเสียหายถึงระดับตามที่กำหนดไว้ โดยไม่ต้องรอผลสุดท้ายว่ามีความเสียหายเท่าใด ซึ่งความคุ้มครองในรูปแบบดังกล่าวได้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะความเสี่ยงภัยในรูปของมหันตภัยต่างๆ และจะช่วยให้ผู้เอาประกันภัยได้รับการชดใช้ความเสียหายได้เร็วขึ้นกว่าต้องรอให้ความเสียหายผ่านพ้นไปเรียบร้อยก่อน ทั้งนี้ ผลจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ครั้งนี้สามารถนำมาปรับใช้กับการประกันภัยข้าวนาปีของประเทศไทยได้

                จากนั้น เลขาธิการ คปภ.และคณะนักศึกษา วปส.รุ่นที่ 8 ได้เข้าศึกษาดูงาน ณ ที่สมาคมผู้กำกับดูแลธุรกิจประกันภัยนานาชาติ (International Association of Insurance Supervisors: IAIS) ซึ่งเป็นหน่วยงานไม่แสวงหากำไรที่มีเป้าหมายในการกำหนดมาตรฐาน (Insurance Core Principles : ICPs) และแนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยที่เป็นสากลให้หน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยใช้เป็นมาตรฐานร่วมกัน ณ เมืองบาเซิล ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญของ IAIS ได้บรรยายเกี่ยวกับโครงสร้างและการดำเนินการของ IAIS ในการพิจารณากำหนดมาตรฐานปฏิบัติกลางในการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยผ่านคณะทำงานและคณะกรรมการเฉพาะกิจในเรื่องต่างๆ อาทิ ด้าน Accounting and Auditing ด้าน Capital and Solvency ด้าน Market Conduct ด้าน Governance และด้าน Macro Prudential and Surveillance เป็นต้น รวมถึงใช้การประสานความร่วมมือในรูปแบบของ Multilateral Memorandum of Understanding: MMOU โดยให้หน่วยงานกำกับดูแลที่ลงนามเข้าร่วมในบันทึกความตกลงร่วมกันนี้ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นความลับระหว่างกันได้ เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย ซึ่งหากสำนักงาน คปภ. เข้าร่วมใน MMOU ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยสำนักงาน คปภ.จะได้พิจารณาแนวทางการการจัดทำความร่วมมือดังกล่าวต่อไป

 

                ในโอกาสเดียวกันนี้ ดร.สุทธิพล ได้นำคณะเข้าศึกษา วปส.รุ่นที่ 8 เข้ารับการบรรยายและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับบริษัท Allianz ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจประกันภัยชั้นนำของโลก ณ สำนักงานใหญ่บริษัท Allianz สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยบริษัทได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการดำเนินการของบริษัทต่อการปรับตัวให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกและพฤติกรรมของผู้บริโภค เพื่อสร้าง customer experienced ที่ดีที่สุด โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างความเรียบง่าย (simplicity) ทั้งในรูปแบบผลิตภัณฑ์และการบริการ และบริษัทได้มีมาตรการในการประสานความร่วมมือกับผู้ประกอบธุรกิจในสาขาอื่นๆ เพื่อผนวกเอาผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทเข้ากับผลิตภัณฑ์และบริการของผู้ประกอบธุรกิจนั้นๆ เพื่อเป็นการขยายตลาดและเพิ่มการเข้าถึงของลูกค้า นอกจากนี้บริษัทยังให้ความสนใจในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยรูปแบบใหม่ๆ และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัท โดยเน้นการทำงานร่วมกับ Start up ด้วยการตั้งหน่วยธุรกิจใหม่เพื่อใช้ในการส่งเสริมสนับสนุนในเรื่องของนวัตกรรม โดยหน่วยงานนี้จะทำการเลือกที่จะเข้าไปลงทุนในกลุ่ม Start up หรือบริษัททางด้านเทคโนโลยีที่มีผลงานดี

                ดร.สุทธิพล ได้เข้าพบกับผู้บริหารของบริษัท Munich Re ณ สำนักงานใหญ่ของบริษัท เมืองมิวนิค สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เพื่อประชุมหารือเกี่ยวกับแนวทางการประกอบธุรกิจประกันภัยต่อในประเทศไทย และ รับฟังมุมมองของบริษัทต่อธุรกิจประกันภัยในประเทศไทย ผู้บริหารของบริษัท Munich Re ได้แสดงความสนใจที่จะเพิ่มบทบาทของบริษัทและขยายการประกอบธุรกิจในประเทศไทย โดยจะขอศึกษาข้อมูลต่างๆเพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินการต่อไป

                นอกจากนี้ บริษัท Munich Re ยังได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การรับประกันภัยต่อผลิตภัณฑ์พืชผลที่ประสบความสำเร็จในประเทศต่างๆ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา อินเดีย โดยยกตัวอย่างของ Multi Peril Crop Insurance ที่คุ้มครองภัยที่เกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร โดยอาศัยข้อมูลจากยอดรวมของผลผลิตในปีก่อนๆ ว่ามีปริมาณประมาณการเท่าใด และหากในปีปัจจุบันผลผลิตมีการลดต่ำลงมาแล้ว กรมธรรม์ประกันภัยก็จะเข้าไปให้ความคุ้มครองรวมถึงการใช้ข้อมูลด้าน weather index และ area yield สำหรับการประกันภัยในรูปแบบของ parametric insurance ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงเกณฑ์การกำหนดค่าสินไหมทดแทนกรณีการประกันภัยข้าวนาปีของประเทศไทย และบริษัท Munich Re ได้นำเสนอเกี่ยวกับ Innovation Framework ของบริษัท ที่เปิดโอกาสให้กลุ่มธุรกิจ Start up ที่มีแนวคิดที่จะพัฒนาด้าน InsurTech ได้เข้ามาเสนอโครงการ และหากบริษัทใด มีแนวคิดที่น่าสนใจจะเชิญให้เข้ามาทดลองแนวคิดดังกล่าวใน Digital Lab ของบริษัท ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ของบริษัทที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทำหน้าที่ coaching และให้ความรู้ทางด้านการประกันภัยแก่กลุ่ม Start up เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาโครงการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันภัยต่อไป รวมถึงการจับคู่ธุรกิจระหว่าง Start up และบริษัทประกันภัย ซึ่ง Munich Re มีข้อได้เปรียบของการเป็นบริษัทประกันภัยต่อในการพัฒนาด้าน digital lab เนื่องจากบริษัทประกันภัยต่อมีการประสานงานกับหลายบริษัทประกันภัย ทำให้เห็นภาพได้ว่าบริษัทประกันภัยใดมีลักษณะผลิตภัณฑ์หรือบริการในรูปแบบไหน อันจะสามารถทำให้จับคู่กับโครงการของกลุ่มธุรกิจ Start up ที่เกี่ยวข้องได้โดยง่าย

 

                “จากการศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในครั้งนี้ได้เห็นภาพของธุรกิจประกันค่อนข้างครบ ตั้งแต่การเข้าศึกษาดูงานสมาคมผู้กำกับดูแลธุรกิจประกันภัยนานาชาติ (International Association of Insurance Supervisors: IAIS) ซึ่งเป็นผู้กำหนดมาตรฐานธุรกิจประกันภัยระดับโลก ทำให้เห็นทิศทางในการกำกับดูแล และ ข้อห่วงใยที่มีในธุรกิจประกันภัยทั่วโลก และเมื่อศึกษาดูงาน ณ สำนักงานใหญ่บริษัท Allianz ทำให้เห็นแนวปฏิบัติที่ดีภาพของการดำเนินธุรกิจประกันภัยที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับยุคดิจิทัล รวมถึงการได้เข้าศึกษาดูงานบริษัทประกันภัยต่อระดับโลกอีกสองแห่ง ได้แก่ Swiss Re และ Munich Re ทำให้เห็นแนวทางการจัดการด้านความเสี่ยง   ในรูปแบบของ parametric insurance ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงเกณฑ์การกำหนดค่าสินไหมทดแทนกรณีการประกันภัยข้าวนาปีของประเทศไทย หรือมาประยุกต์ใช้ในเรื่องของมหัตภัยในประเทศได้ นอกจากนี้ แนวคิดเกี่ยวกับ Innovation Framework ของบริษัท Munich Re ที่เปิดโอกาสให้กลุ่มธุรกิจ Start up เข้ามารับฟังความรู้เกี่ยวกับการประกันภัย เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดและสามารถสร้างแอพพลิเคชั่น และ/หรือ แพลทฟอร์ม ที่เกี่ยวข้องกับประกันภัย โดยสำนักงาน คปภ.จะได้นำแนวคิดนี้มาประยุกต์ใช้ผ่านทางศูนย์ CIT เช่นกัน”ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ    กล่าวในตอนท้าย   

                                …………………………………………………………………………………………..

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สายด่วน คปภ. 1186 หรือเว็บไซต์ www.oic.or.th หรือ กลุ่มงานสื่อสารองค์กร โทรศัพท์ 02-515-3998-9 ต่อ 8307 โทรสาร 02-513-1437 http://www.facebook.com/PROIC2012

                                ………………………………………………………………………………………………

 

 

You may also like

คปภ.เดินหน้า! เปิดเวทีสัมมนาวิชาการด้านประกันภัย ประจำปี 2567 “Thailand Insurance Symposium 2024”

 นายชูฉั