คปภ. เปิดเวทีติวเข้ม “ผู้ไกล่เกลี่ย” ชุดใหม่ ถอดบทเรียนข้อพิพาทด้านประกันภัย

คปภ. เปิดเวทีติวเข้ม “ผู้ไกล่เกลี่ย” ชุดใหม่ ถอดบทเรียนข้อพิพาทด้านประกันภัย

คปภ. เปิดเวทีติวเข้ม “ผู้ไกล่เกลี่ย” ชุดใหม่

ถอดบทเรียนข้อพิพาทด้านประกันภัย

พร้อมเติมองค์ความรู้ก่อนรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้ไกล่เกลี่ย

เพื่อปรับปรุงกลไกการไกล่เกลี่ยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาผู้ไกล่เกลี่ยและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาทักษะและถอดบทเรียนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัย เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2566 ณ คุ้มดำเนิน รีสอร์ท จังหวัดราชบุรี โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาจำนวนทั้งสิ้น 121 คน ประกอบด้วย ผู้ไกล่เกลี่ย จำนวน 70 คน ผู้บริหารและพนักงานของสำนักงาน คปภ. ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค จำนวน 51 คน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเปิดเวทีให้ผู้ไกล่เกลี่ยมีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ถ่ายทอดองค์ความรู้ และระดมความคิดเห็นจากบทเรียนที่เกิดขึ้นจริงในการปฏิบัติงานการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เพื่อนำไปพัฒนาการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

โดยการจัดสัมมนาในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นายธวัชไชย สนธิวนิช อดีตตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง และอนุญาโตตุลาการ สำนักงาน คปภ. ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “แนวทางการพิจารณาประเด็นข้อพิพาทด้านการประกันภัยที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ไกล่เกลี่ย” และได้รับเกียรติจาก นายโชติช่วง ทัพวงศ์ อดีตผู้พิพากษาอาวุโส ศาลอุทธรณ์ ภาค 7 และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการความขัดแย้งและไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ให้เกียรติบรรยายในหัวข้อ “แนวทางและเทคนิคการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัย” เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำกิจกรรมถอดบทเรียนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัยให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้นต่อไป และในโอกาสนี้สำนักงาน คปภ. และผู้ไกล่เกลี่ยฯ ที่เข้าร่วมสัมมนาได้ร่วมกันจัดกิจกรรม CSR ณ วัดราษฎร์เจริญธรรม (วัดสุน) โดยบำเพ็ญประโยชน์ด้วยการทำความสะอาดลานวัด และร่วมกันทำบุญถวายสังฆทานเพื่อเป็นศิริมงคลด้วย

เลขาธิการ คปภ. กล่าวด้วยว่า การดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัยโดยผู้ชำนาญการ นับตั้งแต่เปิดศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัยมาเป็นเวลาเกือบ 7 ปี มีเรื่องร้องเรียนที่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย โดยผู้ชำนาญการทั้งสิ้น 1,565 เรื่อง โดยไกล่เกลี่ยสำเร็จเป็นจำนวน 1,227 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 78.40 ซึ่งถือว่าเป็นสถิติที่ดีพอสมควร และหากได้มีการถอดบทเรียนเพื่อรับทราบประเด็นปัญหาและอุปสรรคในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในทุก ๆ ปี และได้หาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขอย่างเป็นระบบก็จะทำให้การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสัมฤทธิ์ผลและมีสถิติเรื่องร้องเรียนที่สามารถยุติประเด็นข้อพิพาทได้มากยิ่งขึ้น

ผู้ไกล่เกลี่ย ชุดที่ 4 จำนวน 80 คน ได้รับการขึ้นทะเบียนรายชื่อฯ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 ประกอบด้วยกลุ่มผู้ไกล่เกลี่ยเดิมที่มีประสบการณ์การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัยมาแล้ว และกลุ่มผู้ไกล่เกลี่ยใหม่ที่ยังไม่เคยเป็นผู้ไกล่เกลี่ยของสำนักงาน คปภ. มาก่อน โดยในปัจจุบันกลุ่มผู้ไกล่เกลี่ยใหม่หลายท่านได้รับเรื่องไกล่เกลี่ยจากสำนักงาน คปภ. ไปบ้างแล้ว ซึ่งผู้ไกล่เกลี่ยแต่ละท่านอาจใช้เทคนิคหรือวิธีการในการไกล่เกลี่ยที่แตกต่างกัน และอาจพบปัญหาหรืออุปสรรคในการไกล่เกลี่ยที่แตกต่างกัน ดังนั้นเวทีการสัมมนาในครั้งนี้จึงเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการทำหน้าที่ของผู้ไกล่เกลี่ยให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลผู้ไกล่เกลี่ยฯ เกี่ยวกับทิศทางและนโยบายในการดำเนินงานของสำนักงาน คปภ. ในปี 2566 โดยสำนักงาน คปภ. จะปรับทิศทางในการกำกับดูแลอย่างรอบด้าน จากที่เคยอยู่ในสถานะของการตั้งรับและเรียนรู้สถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อเข้าสู่โหมดการฟื้นฟูความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบประกันภัยและเดินทางไปสู่การสร้างสมดุลของระบบประกันภัย ควบคู่กับการเสริมสร้างความทนทาน มั่นคง และยืดหยุ่นให้กับระบบประกันภัย ประกอบกับในปี 2566 เป็นปีสุดท้ายของการดำเนินการขับเคลื่อนภายใต้แผนยุทธศาสตร์ สำนักงาน คปภ. ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2564 – 2566) จึงจำเป็นต้องเร่งดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์และผลลัพธ์ที่คาดหวังให้ระบบประกันภัยไทยมีความมั่นคง ยั่งยืน และแข่งขันได้ในเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากระบบประกันภัยได้อย่างเหมาะสมและเพียงพอ

สำหรับการจัดอบรมความรู้เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัยและการดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสัญจร ในปี 2566 ได้มอบหมายให้สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ประสานการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และขยายพื้นที่ในการดำเนินการให้มากยิ่งขึ้น โดยในปีนี้จะขยายการดำเนินการไปยังสำนักงาน คปภ. ภาค ที่ไกลขึ้น หรือเป็นพื้นที่ที่เป็นสถานที่ทำการอนุญาโตตุลาการ เช่น สำนักงาน คปภ. ภาค 1 (เชียงใหม่) หรือสำนักงาน คปภ. ภาค 9 (สงขลา) เพื่อจะได้เป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกันกับกลุ่มอนุญาโตตุลาการ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของผู้ไกล่เกลี่ยและพนักงานที่เกี่ยวข้อง

การนำกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยผู้ชำนาญการมาช่วยแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนด้านการประกันภัย ถือเป็นการเพิ่มทางเลือกอีกทางหนึ่งให้กับประชาชนในการระงับข้อพิพาทด้านการประกันภัย โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ประชาชนด้านการประกันภัยด้วย ซึ่งจากการดำเนินการที่ผ่านมาพิสูจน์แล้วว่าเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. จะได้นำข้อเสนอแนะที่ได้จากการถอดบทเรียนในการสัมมนาครั้งนี้ไปปรับปรุงการทำงานของศูนย์ไกล่เกลี่ยฯ สำนักงาน คปภ. ให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย

You may also like

“เฉลิมชัย-ประชาธิปัตย์“ห่วงปัญหาเหลื่อมล้ำ จัดเวทีนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจเดโมแครต ฟอรั่ม” ขจัดการผูกขาด: ลดเหลื่อมล้ำแก้จน”

“เ