คลอดแล้ว!ผลประเมิน “โปร่งใส”ภาครัฐ ITA ระดับต่ำกว่ากรม “เขตภาษีเจริญ-สน.ท่าข้าม-อ.พิบูลมังสาหาร”ได้คะแนนสูงสุด

คลอดแล้ว!ผลประเมิน “โปร่งใส”ภาครัฐ ITA ระดับต่ำกว่ากรม “เขตภาษีเจริญ-สน.ท่าข้าม-อ.พิบูลมังสาหาร”ได้คะแนนสูงสุด

คลอดแล้ว!ผลประเมิน “โปร่งใส”ภาครัฐ ITA ระดับต่ำกว่ากรม

“เขตภาษีเจริญ-สน.ท่าข้าม-อ.พิบูลมังสาหาร”ได้คะแนนสูงสุด

            สำนักงาน ป.ป.ช. แถลงประกาศผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ของหน่วยงานระดับต่ำกว่ากรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (สำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร สถานีตำรวจนครบาล และอำเภอ)

                สำนักงาน ป.ป.ช. โดยสำนักประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส จัดงานประกาศผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ของหน่วยงานระดับต่ำกว่ากรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 (สำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร สถานีตำรวจนครบาล และอำเภอ) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแถลงประกาศผลและมอบรางวัล ITA AWARDS การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment: ITA) ของหน่วยงานระดับต่ำกว่ากรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (สำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร สถานีตำรวจนครบาล และอำเภอ) และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กลไกการขับเคลื่อนการประเมิน  ของแต่ละประเภทหน่วยงานให้ประสบผลสำเร็จ ในวันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 2565 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ ห้องนนทบุรี 1 ชั้น 3 อาคาร 4 สำนักงาน ป.ป.ช.

                การแถลงประกาศผลการประเมิน ITA ของหน่วยงานระดับต่ำกว่ากรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 (สำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร สถานีตำรวจนครบาล และอำเภอ) ในครั้งนี้ สำนักงาน ป.ป.ช. ได้รับเกียรติ จากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้แทน บัญชาการตำรวจนครบาล หรือผู้แทน อธิบดีกรมการปกครอง หรือผู้แทน และนายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. เข้าร่วมเสวนา ในหัวข้อ “การขับเคลื่อนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment: ITA) ของสำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร สถานีตำรวจนครบาล และอำเภอ” ดำเนินรายการโดย นายสืบสกุล พันธ์ดี ผู้ประกาศข่าว ThairathTV

                นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการ ป.ป.ช.แถลงผลและมอบ ITA AWARDS การประเมิน ITA ของหน่วยงานระดับต่ำกว่ากรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 (สำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร สถานีตำรวจนครบาล และอำเภอ) โดยมีผลการประเมินตามลำดับประเภทหน่วยงานดังนี้

1.            สำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร

                สำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ มาต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ย 90.99 คะแนน หรืออยู่ในระดับ A โดยสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมาถึง 10.24 คะแนน โดยมีรายละเอียดดังนี้

                – สำนักงานเขตภาษีเจริญ มีผลคะแนนการประเมินสูงสุด 98.60 คะแนน หรืออยู่ในระดับ AA

                – สำนักงานเขตหนองแขม มีผลคะแนนการประเมินต่ำสุด 75.23 คะแนน หรืออยู่ในระดับ B

                – มีสำนักงานเขต ผ่านเกณฑ์การประเมิน 47 แห่ง ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน 3 แห่ง

                – สำนักงานเขต มีผลการประเมินใน ระดับ AA 10 แห่ง ระดับ A 37 แห่ง และระดับ B 3 แห่ง

                – ตัวชี้วัดที่มีผลคะแนนสูงสุด ได้แก่ การเปิดเผยข้อมูล 94.87 คะแนน และตัวชี้วัดที่มีผลคะแนนต่ำสุด ได้แก่ การใช้งบประมาณ 84.80 คะแนน

                – กลุ่มเขตที่มีการขับเคลื่อน ส่งเสริม สนับสนุน ITA จนมีค่าเฉลี่ย ITA สูงสุด ได้แก่ กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง มีคะแนนเฉลี่ย 93.04  และกลุ่มเขตที่มีค่าเฉลี่ย ITA ต่ำสุด ได้แก่ กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก มีคะแนนเฉลี่ย 88.39 คะแนน

                – สำนักงานเขต ที่มีผลการประเมินสูงสุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ ภาษีเจริญ ยานนาวา ห้วยขวาง ทวีวัฒนา และพระโขนง

                – สำนักงานเขต ที่มีผลการประเมินต่ำสุด 5 ลำดับท้าย ได้แก่ หนองแขม ลาดกระบัง ดินแดง วัฒนา และจอมทอง

                จากผลการเปรียบเทียบผลการประเมิน ของสำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และ 2565 พบว่ามีผลการประเมินสูงขึ้นทั้ง 10 ตัวชี้วัด ซึ่งเป็นผลมากจากการที่สำนักงาน ป.ป.ช. ได้ร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร ให้ความสำคัญในการยกระดับผลคะแนนในแต่ละตัวชี้วัดด้วยการมีกิจกรรม คลินิก ITA อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งพัฒนาแนวทางการประยุกต์กรอบการประเมิน สู่การพัฒนาระบบงาน และปรับระบบนิเวศขององค์กร ในด้านต่าง ๆ ให้เอื้อต่อการยกระดับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ

                2. สถานีตำรวจนครบาล

                สถานีตำรวจนครบาล ได้ดำเนินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ เป็นปีแรก มีคะแนนเฉลี่ย 89.07 คะแนน หรืออยู่ในระดับ A โดยมีรายละเอียดดังนี้

                – สถานีตำรวจนครบาลท่าข้าม มีผลคะแนนการประเมินสูงสุด 99.05 คะแนน หรืออยู่ในระดับ AA

                – สถานีตำรวจนครบาลทุ่งสองห้อง มีผลคะแนนการประเมินต่ำสุด 63.62 คะแนน หรืออยู่ในระดับ D

                – มีสถานีตำรวจนครบาล ผ่านเกณฑ์การประเมิน 70 แห่ง ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน 18 แห่ง

                – สถานีตำรวจนครบาล มีผลการประเมินใน ระดับ AA 13 แห่ง ระดับ A 57 แห่ง ระดับ B 16 แห่ง ระดับ C 1 แห่ง และระดับ D 1 แห่ง

                – ตัวชี้วัดที่มีผลคะแนนสูงสุด ได้แก่ การปฏิบัติหน้าที่ 92.32 คะแนน และตัวชี้วัดที่มีผลคะแนนต่ำสุด ได้แก่ การใช้งบประมาณ 77.95 คะแนน

                – กองบังคับการมีการขับเคลื่อน ส่งเสริม สนับสนุน ITA จนมีค่าเฉลี่ย ITA สูงสุด ได้แก่ กองบังคับการตำรวจนครบาล 6  93.58 คะแนน และ กองบังคับการที่มีค่าเฉลี่ย ITA ต่ำสุด ได้แก่ กองบังคับการตำรวจนครบาล 2  84.33 คะแนน

                – สถานีตำรวจนครบาล ที่มีผลการประเมินสูงสุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ ท่าข้าม วังทองหลาง ธรรมศาลา บางมด และพญาไท

                – สถานีตำรวจนครบาล ที่มีผลการประเมินต่ำสุด 5 ลำดับท้าย ได้แก่ ทุ่งสองห้อง ท่าเรือ ประเวศ บางเขน และทุ่งมหาเมฆ

                ในประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ของสถานีตำรวจนครบาล ซึ่งเป็นการดำเนินการในปีแรกพบว่า เป็นการประเมินที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ โดยมุ่งประเมินไปที่งานบริการโดยตรง ทั้งงานอำนวยการ งานป้องกันปราบปราม งานจราจร งานสืบสวน งานสอบสวน ก่อให้เกิดการพัฒนางานบริการของตำรวจ ทั้งในแง่มุม ของ มาตรฐาน ความเป็นธรรมในการให้บริการ รวมถึงต่อยอดนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนางาน อาทิ การรับแจ้งความ online รวมไปจนถึงเกิดการพัฒนากระบวนการและกลไกการเปิดเผยข้อมูลการบริหารงานตำรวจอย่างไม่เคยมีมาก่อน อาทิ การพัฒนา website ที่ครบถ้วน ทั้ง 88 สถานี การวางระบบการเปิดเผยข้อมูลตามภารกิจเพื่อให้พี่น้องประชาชนได้รับรู้การดำเนินการในเชิงพื้นที่ และได้รับทราบผลงานทั้งในมิติการอำนวยความยุติธรรม การดูแลและเสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

                3. อำเภอ

                อำเภอ ได้ดำเนินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ เป็นปีแรก เป็นการประเมินที่ครอบคลุมถึงส่วนราชการประจำอำเภอ ได้แก่ ที่ทำการปกครองอำเภอ สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ สำนักงานประมงอำเภอ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สำนักงานที่ดินอำเภอ (ไม่รวมสำนักงานที่ดินจังหวัด สาขา) มีคะแนนเฉลี่ย 88.93 คะแนน หรืออยู่ในระดับ A โดยมีรายละเอียดดังนี้

                – อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี มีผลคะแนนการประเมินสูงสุด 99.85 คะแนน หรืออยู่ในระดับ AA

                – อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี มีผลคะแนนการประเมินต่ำสุด 48.78 คะแนน หรืออยู่ในระดับ F

                – มีอำเภอ ผ่านเกณฑ์การประเมิน 705 แห่ง ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน 173 แห่ง

                – อำเภอ มีผลการประเมินใน ระดับ AA 143 แห่ง ระดับ A 562 แห่ง ระดับ B 137 แห่ง ระดับ C

27 แห่ง ระดับ D  5 แห่ง ระดับ E 3 แห่ง และระดับ F 1 แห่ง

                – ตัวชี้วัดที่มีผลคะแนนสูงสุด ได้แก่ การป้องกันการทุจริต 95.28 คะแนน และตัวชี้วัดที่มีผลคะแนนต่ำสุด ได้แก่ การใช้อำนาจ  81.92 คะแนน

                – จังหวัดที่มีการขับเคลื่อน ส่งเสริม สนับสนุน ITA จนมีค่าเฉลี่ย ITA ของอำเภอ ในเขตจังหวัด สูงสุด  3 ลำดับแรก ได้แก่

                – จังหวัดนครสวรรค์ มีคะแนนเฉลี่ย 95.81 คะแนน

                – จังหวัดแพร่ มีคะแนนเฉลี่ย 95.75 คะแนน

                – และจังหวัดสิงห์บุรี มีคะแนนเฉลี่ย 95.30 คะแนน

                ในประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ของอำเภอ ซึ่งเป็นการดำเนินการในปีแรก ได้มีการสร้างองค์ความรู้    ผ่านคลินิก ITA และมีการร่วมกำกับติดตามในพื้นที่ ถอดบทเรียน จัดทำคู่มือ แนวทางการพัฒนาการเปิดเผยข้อมูลในมิติของส่วนราชการประจำอำเภอ พร้อมทั้งพัฒนาต่อยอด Platform อำเภอดอทคอม ที่เปรียบเสมือน Website ของอำเภอ ให้เป็นเครื่องมือในการเปิดเผยข้อมูลของอำเภออย่างมีประสิทธิภาพ

                สำหรับในปี 2565 มีหน่วยงานระดับต่ำกว่ากรมเข้าร่วมการประเมินฯ ทั้งสิ้น 1,016 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร จำนาน 50 หน่วยงาน สถานีตำรวจนครบาล จำนวน 88 หน่วยงาน และอำเภอ จำนวน 878 หน่วยงาน โดยมีบุคลากรภาครัฐ ตลอดจนประชาชนที่เคยติดต่อหรือรับบริการ      จากหน่วยงานภาครัฐ เข้ามามีส่วนร่วมกับการประเมินฯ รวมจำนวนทั้งสิ้น 714,312 คน แบ่งเป็นบุคลากรภาครัฐที่ปฏิบัติงานให้แก่หน่วยงานภาครัฐ จำนวน 190,335 คน และที่เคยติดต่อหรือรับบริการจากหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 524,037 คน

You may also like

มาสเตอร์การ์ดเปิดตัว Pay Local เพิ่มช่องทางผู้ให้บริการกระเป๋าเงินดิจิทัลในเอเชีย รับชำระเงินจากผู้ถือบัตรมาสเตอร์การ์ดกว่า 2 พันล้านราย

มาสเตอร์