จับตานโยบายทรัมป์ ชะลอขึ้นภาษีนำเข้า วันสาบานตน ส่งผลดอลลาร์ฯ อ่อนค่า

จับตานโยบายทรัมป์ ชะลอขึ้นภาษีนำเข้า วันสาบานตน ส่งผลดอลลาร์ฯ อ่อนค่า

จับตานโยบายทรัมป์

ชะลอขึ้นภาษีนำเข้า วันสาบานตน

ส่งผลดอลลาร์ฯ อ่อนค่า

โดนัลด์ ทรัมป์ สาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ สมัยที่ 2 อย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา โดยทรัมป์ระบุว่าจะมีการเดินหน้านโยบายหลักต่างๆ ที่เคยหาเสียงไว้ ดังต่อไปนี้

  • ด้านนโยบายพลังงานและสิ่งแวดล้อม: ลงนามคำสั่งฝ่ายบริหาร (Executive Order) ถอนสหรัฐฯ ออกจากความตกลงปารีส (Paris Agreement) ว่าด้วยการการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านพลังงานเพื่อเพิ่มการผลิตน้ำมันและก๊าซในประเทศ และเพื่อลดราคาพลังงานในประเทศ รวมถึงยกเลิกข้อตกลงสีเขียว (Green New Deal) สมัยอดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดน
  • ด้านนโยบายตรวจคนเข้าเมือง: ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินระดับชาติที่พรมแดนทางตอนใต้ เนรเทศผู้อพยพผิดกฎหมาย ส่งทหารไปยังพรมแดนใต้เพื่อป้องกันการเข้ามาของผู้อพยพ สร้างส่วนเพิ่มเติมของกำแพงชายแดน และยกเลิกการให้สัญชาติอัตโนมัติแก่ผู้ที่เกิดในอเมริกา
  • ด้านเงินช่วยเหลือองค์กรระหว่างประเทศ: ลงนามคำสั่งฝ่ายบริหาร (executive order) ถอนสหรัฐฯ ออกจากองค์การอนามัยโลก (WHO) โดยระบุว่าในช่วงที่ผ่านมาสหรัฐฯ ต้องจ่ายเงินสนับสนุนที่มากเกินไปอย่างไม่เป็นธรรมให้กับ WHO
  • ด้านมาตรการลดค่าครองชีพ: สั่งให้หน่วยงานรัฐบาลกลางดำเนินการเพื่อมุ่งลดต้นทุนค่าครองชีพสำหรับผู้บริโภคชาวอเมริกัน แต่ยังไม่มีการระบุรายละเอียด

O ในด้านนโยบายการปรับขึ้นภาษีนำเข้า ทรัมป์ยังไม่มีการปรับขึ้นภาษีนำเข้าในทันที เพื่อสอบสวนความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและความมั่นคงแห่งชาติจากการขาดดุลการค้าที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการค้าที่ไม่เป็นธรรม และการจัดการสกุลเงิน (currency manipulation) ของประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับจีน แคนาดา และเม็กซิโก ซึ่งทรัมป์ระบุว่าสหรัฐฯ เตรียมเรียกเก็บภาษีนำเข้า 25% กับสินค้าจากแคนาดาและเม็กซิโกอย่างเร็วสุดในวันที่ 1 ก.พ. 2568 นี้ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความตึงเครียดทางการค้าระหว่างประเทศที่ลงนามในข้อตกลงสหรัฐฯ-เม็กซิโก-แคนาดา (USMCA)

O การปรับขึ้นภาษีนำเข้ากับแคนาดา และเม็กซิโก อาจส่งผลกระทบต่อภาคพลังงานและยานยนต์ของสหรัฐฯ เนื่องจากสหรัฐฯ มีการพึ่งพิงการนำเข้าและขาดดุลการค้าด้านพลังงานกับแคนาดา และด้านยานยนต์กับเม็กซิโกสูง (รูปที่ 1) ซึ่งแม้สหรัฐฯ มีนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศ แต่อาจไม่เพียงพอกับอุปสงค์ในประเทศ เนื่องจากการปรับเปลี่ยนซัพพลายเชนต้องใช้ระยะเวลา ดังนั้น การปรับขึ้นภาษีนำเข้ากับแคนาดาและเม็กซิโก อาจส่งผลกระทบต่อซัพพลายเชนอุตสาหกรรมพลังงานและยานยนต์ของสหรัฐฯ และอาจส่งผลเพิ่มแรงกดดันด้านเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ได้ ในประเด็นนี้อาจเป็นการเพิ่มโอกาสให้แก่การส่งออกไทยไปยังสหรัฐฯ มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน

O ในระยะข้างหน้า ความไม่แน่นอนจากนโยบายของสหรัฐฯ ยังมีอยู่สูง และมีความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯ จะพิจารณาเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากจีนเพิ่มเติม รวมถึงอาจมีการเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากอาเซียนและไทย ผลกระทบต่อเศรษฐกิจคงขึ้นอยู่กับจังหวะการปรับขึ้นภาษีนำเข้า สินค้าที่ถูกเรียกเก็บภาษี รวมถึงการเจรจาของแต่ละประเทศคู่ค้าของสหรัฐฯ ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่ามีความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯ อาจเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าบางรายการจากไทยในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับไทยสูง รวมถึงสินค้าที่ไทยมีความเกี่ยวเนื่องกับห่วงโซ่อุปทานของจีน ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้การส่งออกไทยลดลงที่ราว 0.5% และกระทบต่ออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่ราว 0.3% ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้คำถึงผลกระทบดังกล่าวไว้ในประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2568 ที่ 2.4% แล้ว

O ทั้งนี้ หลังการเข้ารับตำแหน่งของทรัมป์ฯ ค่าเงินดอลลาร์ฯ อ่อนค่าลงจากการชะลอแผนปรับขึ้นภาษีนำเข้า ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่ามาเข้าใกล้ระดับ 34.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ซึ่งเป็นระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 2 สัปดาห์ ขณะที่ตลาดหุ้นเอเซียเปิดบวกทั้งดัชนี Nikkei ของญี่ปุ่น ดัชนี CSI 300 ของจีน รวมถึงดัชนี SET index ของไทย

You may also like

ถอดบทเรียนการศึกษา ดร.รัตนา แซ่เล้า ใช้พลังบวก การปรับตัว เน้นผู้เรียนเป็นหลัก พัฒนาไทยให้เติบโต

ถอดบทเรี