“จินตนาการ”สำคัญกว่า“ความรู้” คนต้องพัฒนาสมองซีกขวามากขึ้น   

“จินตนาการ”สำคัญกว่า“ความรู้” คนต้องพัฒนาสมองซีกขวามากขึ้น   

จินตนาการ”สำคัญกว่า“ความรู้”

คนต้องพัฒนาสมองซีกขวามากขึ้น   

สุทธิชัย ทักษนันต์

“Imagination is more important than knowledge” เป็นโค้ดคำพูดดังของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ซึ่งมีชีวิตในช่วงปี 1879 – 1955

ที่บอกว่า “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” ไอน์สไตน์ไม่มีเจตนาจะไม่ให้ความสำคัญกับความรู้ แต่เขาบอกว่าความรู้มีขีดจำกัด ในขณะที่จินตนาการนั้นไร้ขีดจำกัด และนำไปสู่การค้นพบใหม่ๆและการทำความเข้าใจมากมาย

จินตนาการเปรียบเสมือนเป้าหมายที่ต้องพยายามทำให้สำเร็จ

โทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เน็ต การท่องอวกาศ เมื่อร้อยปีก่อนเป็นเพียงแค่จินตนาการที่เพ้อฝัน แต่ก็มีการค้นพบและต่อยอดความรู้มาอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดจินตนการก็กลายเป็นความจริง

AI ในปัจจุบันเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญที่สุด ข้อมูลที่ใช้ฝึกฝน GPT-4 ซึ่งใช้กับ ChatGPT หากให้คนอ่านทั้งหมดต้องใช้เวลาหลายแสนปี อ่านแล้วคนก็ไม่สามารถทำความเข้าใจได้หมด หรือลืมเมื่ออ่านเสร็จ

ในขณะที่ AI แม้จะมีข้อมูลเยอะ มันจดจำได้เสมอ รู้ว่าข้อมูลอยู่ที่ไหน ประมวลผลเป็น วิเคราะห์แยกแยะได้ และสามารถเรียกออกมาใช้งานได้อย่างรวดเร็ว

ระบบการศึกษาในปัจจุบันที่เน้นเรื่องการให้ความรู้ เป็นแนวทางที่ล้าสมัย และจะต้องมีการปรับระบบใหม่โดยเร็วที่สุด

ขณะนี้สถาบันการศึกษาทั่วโลก กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านที่ต้องปรับเปลี่ยนระบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับยุค AI ที่ความรู้เป็นประชาธิปไตยสำหรับทุกคน ใครๆก็สามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้ที่มีคุณภาพสูงได้

ยังไม่รู้แน่ชัดว่า ระบบการศึกษาทั่วโลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร แต่ที่เด่นชัดที่สุดในตอนนี้ คือ การสร้างคนที่มีจินตนาการ มีความคิดสร้างสรรค์

Right Hemisphere หรือ สมองซีกขวา จะมีความสำคัญมากขึ้น เพราะเกี่ยวข้องกับงานที่สร้างสรรค์ ใช้สัญชาตญาณ คิดแบบองค์รวม และ จินตนาการ

กิจกรรมที่ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการซึ่งเป็นไปตามงานวิจัยหลายชิ้น เช่น การฟังดนตรีที่หลากหลาย งานศิลปะ การเขียน การฝึกฝนคิดแบบจำลองเป็นภาพ การมีสติ การทำสมาธิ การเล่น อารมณ์ขัน การเรียนรู้ภาษาใหม่ การเต้นรำ การฝันกลางวันปล่อยจิตใจล่องลอย ฯลฯ

Imagination ยังทำให้มนุษย์เหนือกว่า AI …. แต่ยังไม่แน่ชัดว่า จะเหนือกว่ามันได้นานแค่ไหน?

เรารู้ว่าจะฝึกฝนพัฒนาคนให้มีจินตนาการมากขึ้นได้อย่างไร ซึ่งก็เป็นสิ่งที่สามารถฝึกฝนพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ได้เช่นกัน!!!

 

You may also like

คปภ.เดินหน้า! เปิดเวทีสัมมนาวิชาการด้านประกันภัย ประจำปี 2567 “Thailand Insurance Symposium 2024”

 นายชูฉั