จีนเข้ม!ยกระดับฟาดฟันโควิด

จีนเข้ม!ยกระดับฟาดฟันโควิด

จีนเข้ม!ยกระดับฟาดฟันโควิด

จีนทำงานแข่งกับเวลาในการพัฒนายารักษาโรคโควิด-19 พร้อม ๆ ไปกับการสนับสนุนให้ประชาชนฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ปกป้องตัวเองและคนรอบข้าง

นอกจากมาตรการควบคุมโควิด-19 ที่เข้มงวดในช่วงสามปีที่ผ่านมาจะช่วยให้จีนหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ที่เป็นอันตรายร้ายแรงมากกว่าสายพันธุ์โอมิครอน และป้องกันการเสียชีวิตได้เป็นจำนวนมากแล้ว จีนยังเดินหน้าพัฒนาวิธีการรักษาโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพเพื่อขยายการป้องกันโรคไปยังผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว

จีนริเริ่มพัฒนายารักษาโรคโควิด-19 จากสามแนวทางหลักมาตั้งแต่เริ่มเกิดการระบาดใหญ่ แนวทางทั้งสามนี้ประกอบด้วย การยับยั้งกลไกการจำลองตัวเองของไวรัส ขัดขวางไวรัสไม่ให้เข้าสู่เซลล์เป้าหมาย และควบคุมการตอบสนองไวเกินของระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์

ยาแอนติบอดีสำหรับรักษาโรคโควิด-19 ตัวแรกของจีน เป็นแอนติบอดีค็อกเทล หรือยาแอนติบอดีแบบผสม ประกอบไปด้วยโมโนโคลนอลแอนติบอดีสองชนิด ได้แก่ อะมูบาร์วิแมบ (amubarvimab) และรอมลูเซวิแมบ (romlusevimab) และได้รับการอนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินโดยหน่วยงานกำกับดูแลยาของประเทศเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2564

การรักษาใช้วิธีฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ และการทดลองทางคลินิกแบบสุ่มในหลายประเทศพบว่า ยาดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการลดการรักษาตัวในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตในกลุ่มเสี่ยงสูงได้ 80%

นอกจากนี้ แอนติบอดีที่ใช้ในการรักษายังได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นแอนติบอดีที่มีฤทธิ์กว้างทำให้ไวรัสหมดฤทธิ์ได้ (broadly neutralizing antibody: bnAb) โดยสามารถกำหนดเป้าหมายไปยังตำแหน่งต่าง ๆ ของไวรัส ตามข้อมูลที่ได้รับการเปิดเผยโดยศาสตราจารย์จาง หลินฉี (Zhang Linqi) แห่งโรงเรียนแพทย์ มหาวิทยาลัยชิงหวา ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำที่มีส่วนร่วมในการรักษาโควิด-19 ด้วยยาแอนติบอดี

“ยาแอนติบอดีและวัคซีนเป็นส่วนเสริมซึ่งกันและกัน โดยต่างมีบทบาทในการป้องกันและรักษาโรค” ศ.จางกล่าวระหว่างการให้สัมภาษณ์กับ The Paper สำนักข่าวดิจิทัลของจีน เมื่อเดือนธันวาคม 2564

นอกเหนือจากการรักษาด้วยแอนติบอดีค็อกเทลนี้แล้ว จีนยังมีความก้าวหน้าในการพัฒนายาโควิด-19 ตลอดช่วงสามปีที่ผ่านมา โดยยาตัวล่าสุดคือ F61 ซึ่งเป็นยาโมโนโคลนอลแอนติบอดีในรูปแบบสเปรย์พ่นจมูก

F61 พัฒนาโดยซิโนฟาร์ม (Sinopharm) บริษัทเภสัชกรรมของจีนซึ่งรับผิดชอบในการผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิดเชื้อตาย โดย F61 ได้รับการอนุมัติสำหรับการทดลองทางคลินิกเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน นอกจากนี้ F61 ยังเป็นแอนติบอดีชนิด bnAb ที่มีการตอบสนองต่อสายพันธุ์โอมิครอนในระดับสูง

You may also like

“บี.กริม เพาเวอร์”เดินหน้าเชิงพาณิชย์  เริ่มที่โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ 14 MW ในญี่ปุ่น พร้อมขยายพอร์ตพลังงานทดแทนทุกภูมิภาคทั่วโลก

“บี.กริม