“จุรินทร์”เร่งเครื่อง! โหม17 มาตรการช่วยผลไม้ระยะยาว

“จุรินทร์”เร่งเครื่อง! โหม17 มาตรการช่วยผลไม้ระยะยาว

“จุรินทร์”เร่งเครื่อง!

โหม17 มาตรการช่วยผลไม้ระยะยาว

               “จุรินทร์”ลุย”ออนทัวร์ ภาคตะวันออก” รุดถกดรีมทีม ปชป.เมืองจันท์  เพื่อเตรียมพร้อมการเลือกตั้งครั้งหน้า ซึ่งจังหวัดจันทบุรี พรรคได้ประกาศ “ดรีมทีม” ของพรรค ครบทั้ง 3 เขตไปแล้ว นอกจากนั้นที่จังหวัดตราดก็มีตัวบุคคลที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งแล้ว และจะได้มีการประชุมแกนนำทั้งหมดเพื่อซักซ้อมเตรียมการร่วมกัน

                สิ่งสำคัญที่ นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์นำไปให้ชาวสวนผลไม้ในพื้นที่จันทบุรี และแถบตะวันออก ก็คือ จัดประชุมเตรียมการดูแลผลไม้ปี 2565 โดยเป็นการกำหนดมาตรการเพื่อบริหารจัดการผลไม้ล่วงหน้าทั้งระบบ

                การประชุมหารือได้สรุปผลของการแก้ไขปัญหาปี 2564 และที่ผ่านมาและได้เตรียมการแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้เปิดเวทีรับฟังปัญหาของเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องจากนั้นแถลงสรุปมาตรการ โดยนายจุรินทร์ กล่าวว่า วันนี้ตนมาประชุมร่วมกับตัวแทนเกษตรกร ตัวแทน SMEs แปรรูปผลไม้ ล้ง ผู้ประกอบการ ส่วนราชการจังหวัดและกระทรวงพาณิชย์ รวมทั้งหน่วยงานราชการทั้งหมด ในจังหวัดจันทบุรี ระยองและตราด เพื่อกำหนดแนวทางในการเตรียมการมาตรการรองรับผลไม้ ปี2565 ที่จะออกไตรมาสแรกและไตรมาสสองของปีหน้า

                ซึ่งจะมีการกำหนดมาตรการล่วงหน้าก่อน 6 เดือน โดยมาตรการผลไม้เชิงรุกมี 17 ข้อคือ 1.เร่งรัดตรวจและรับรอง GAP ซึ่งมีเป้าหมายในปี 2565  ไม่ต่ำกว่า 120,000 แปลง  2.ช่วยผู้ประกอบการหรือเกษตรกรหรือล้งกระจายผลผลิตผลไม้ออกนอกแหล่งผลิต กิโลกรัมละ 3 บาท ปริมาณ 80,000 ตัน  3.เสริมสภาพคล่องให้ผู้ส่งออกโดยจะช่วยเหลือดอกเบี้ยร้อยละ 3 และช่วยผู้ส่งออกที่ส่งออกผลไม้อีกกิโลกรัมละ 5 บาท ปริมาณ 60,000 ตัน 4. สนับสนุนให้มีการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้านผลไม้  5.ส่งเสริมการบริโภคผลไม้ในประเทศ ขอให้สายการบินต่างๆ เปิดโอกาสให้โหลดผลไม้ขึ้นเครื่องบินในประเทศไทยฟรี 25 กิโลกรัม ตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2565 เป็นต้นไป  6.ช่วยสนับสนุนกล่อง พร้อมค่าจัดส่งผลไม้ที่ขายตรงจากเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ไปยังผู้บริโภคโดยตรง  7.ในช่วงที่ผลไม้ออกเยอะ จะสนับสนุนให้มีรถเร่ รถโมบาย ไปรับซื้อผลไม้และนำออกจำหน่ายสู่ผู้บริโภคโดยตรง  8.ประสานงานกับห้างท้องถิ่นและปั๊มน้ำมันต่างๆ เปิดพื้นที่ระบายผลไม้

                9.จะทำเซลล์โปรโมชั่นส่งเสริมการขายผลไม้ในต่างประเทศในชื่อโครงการ Thai Fruits Golden Months ดำเนินการในตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่ 12 เมือง  10.จัดการเจรจาจับคู่ซื้อขายผลไม้ทางธุรกิจในระบบออนไลน์หรือที่เรียกว่า OBM มุ่งเน้นตลาดใหม่ เช่น อินเดียและรัสเซียเป็นต้น  11.จะส่งเสริมการขายผลไม้ในต่างประเทศในรูปแบบ THAIFEX – Anuga Asia 12.เร่งจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผลไม้ไทยไปในประเทศต่างๆทั่วโลกเป็น 5 ภาษา เพื่อประชาสัมพันธ์ผลไม้ไทย  13.จัดอบรมให้ความรู้เกษตรกรกลุ่มเกษตรกรในเรื่องของการค้าออนไลน์เพื่อขายตรงให้กับผู้บริโภค  พร้อมหลักสูตรการส่งออกเบื้องต้น  14.แก้ปัญหาคนงานเก็บผลไม้ ให้สามารถเคลื่อนย้ายแรงงานนอกพื้นที่ได้  15.ในบางช่วงที่ขาดแคลนแรงงาน ให้ กอ.รมน.ส่งกำลังพลเข้ามาช่วยเก็บเกี่ยวและขนย้ายผลไม้  16.กระทรวงพาณิชย์ จะเน้นทุกทีมเซลล์แมนช่วยระบายผลไม้ของเกษตรกรทั้งตลาดทั้งในและต่าง  และ 17 จะบังคับใช้กฎหมายโดยเคร่งครัด เพื่อให้เกษตรกรสามารถขายผลไม้ที่มีคุณภาพ และได้ราคาดีไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ โดยบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ กฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้าและกฎหมายชั่งตวงวัดโดยเคร่งครัดต่อไป

                " โดยภาพรวมผลไม้ จะมีผลผลิตเพิ่มขึ้นป็น 3,500,000 ตัน และเพิ่มขึ้นประมาณ 8% มาตรการเชิงรุกจึงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นเพราะหมายถึงซัพพลายจะเพิ่มขึ้นมากกว่าปี 2564 แน่นอน”นายจุรินทร์ทิ้งท้าย

 

You may also like

“มนพร”หารือ ก.คลัง-กรมธนารักษ์ หาแนวทางเพิ่มรายได้กรมท่าอากาศยาน

“ม