“ชาไทย”สุดฮอต!
จับตาแบรนด์ไหนดัง ปังส่งท้ายปี
ชาไทย เครื่องดื่มรสชาติหวานหอมกลมกล่อมเป็นที่นิยมแพร่หลายในหมู่ชาวไทย และมีชื่อเสียงโด่งดังในหมู่ชาวต่างชาติ โดยได้รับการจัดอันดับจากเว็บไซต์ “TasteAtlas” ให้เป็น 1 ใน 10 เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ที่ดีที่สุดในโลก ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งเมนูเครื่องดื่มแบบไทยๆ ในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารที่รัฐบาลไทยมีนโยบายผลักดันเป็น Soft Power ไม่แพ้อาหารไทยอย่าง ต้มยำกุ้ง หรือ ผัดไทย
และจากกระแสความนิยมของเครื่องดื่มสีส้มนี้ บริษัท ดาต้าเซ็ต จึงได้นำเครื่องมือ DXT360 เพื่อฟังเสียงในสังคมออนไลน์ (Social listening) และนำมาวิเคราะห์เพื่อเจาะตลาดของ “ชาไทย” ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา (1- 30 พฤศจิกายน 2566) โดยจากการสำรวจข้อมูล Social media พบว่า ในกลุ่มประเทศ South East Asia มีการพูดถึง “Thai Tea” หรือ “Thai Milk Tea” ได้รับ Engagement (แบบรวมยอด view) จำนวน 2.25 ล้านครั้ง โดยประเทศที่มีการพูดถึงชาไทยมากที่สุด คือ อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นการรีวิวเครื่องดื่มชาไทยตามแหล่งสถานที่ต่างๆ ในรูปแบบคลิปวิดีโอสั้น และ การสอนวิธีทำเครื่องดื่มชาไทยด้วยตัวเอง
นอกจากนี้ ผลจากการเก็บข้อมูลพบว่าคนไทยส่วนใหญ่นิยมเรียก “ชาไทย” ว่า ชาไทย มากที่สุด รองลงมา คือ ชาเย็น , ชานม , ชานมเย็น ตามลำดับ
ชาไทยช่วงนี้แบรนด์ไหนปัง
ในตลาดเครื่องดื่ม หลายเจ้าได้ให้ความสนใจในการดึงชาไทยเข้ามาเป็นตัวชูโรง หรือ เครื่องตัวช่วยในเพื่อการดึงดูดผู้ที่ชื่นชอบเครื่องดื่มชาไทยให้เข้ามาลองรสชาติใหม่ๆ โดยแบรนด์ที่ได้รับการกล่าวถึงสูงสุดใน Social media ในช่วงเดือน พ.ย. คือ ชาตรามือ 14.6% รองลงมา อินทนิล คอฟฟี่ และ Karun (การัน) ตามลำดับ
ส่วนแบรนด์ที่มี Engagement หรือการมีส่วนร่วมสูงสุด คือ ชาตรามือ เช่นเดียวกัน โดยมี Engagement สูงถึง 35.4 % รองลงมา อินทนิล คอฟฟี่ และ ทรู คอฟฟี่ ตามลำดับ
Brand Mention
1.ชาตรามือ 14.6%
- Inthanin 12.2%
- Karun 12.1%
- FukuMatcha 7.6%
- TrueCoffee 7.5%
- Kudsan 3.2%
- Dakasi 3.2%
- ฉันจะกินชาเย็นทุกวัน 3.1%
- อื่น ๆ 36.5%
Brand Engagement
- ชาตรามือ 35.4 %
- Inthanin 21.8 %
- TrueCoffee 7.6 %
- Chongdee 6.1 %
- Karun 4.6 %
- Kudsan 3.2%
- เต่าบิน 2.9%
- อื่น ๆ 18.4%
ชาไทยถูกนำไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อะไรบ้าง?
โดยชาตรามือนับว่ามีการต่อยอดธุรกิจจากผู้จำหน่ายวัตถุดิบชา ก้าวสู่ผู้ผลิต และจัดจำหน่ายชาของตัวเองในด้านของผลตอบรับของผู้บริโภคจากการดู brand ที่ได้รับ Engagement พบว่าก็ยังคงเป็นชาตรามือที่ได้รับความสนใจเพราะมีการโปรโมททั้ง Drive-thu ที่จังหวัดเชียงใหม่ , การทำไอศกรีมรสชาติชาไทย จึงเป็นที่น่าศึกษาต่อไปว่าในวันนี้ชาไทยถูกนำเสนอในรูปแบบเมนูใหม่ๆ อย่างไรบ้าง
Product Beverage 75.3%
- Iced 40.2%
- Slushy 17.7%
- เกล็ดหิมะ 11.4%
- เวย์โปรตีน 3.7%
- บรรจุขวด 2.3%
Dessert 24.2%
- Ice cream 8.5%
- สังขยา 5.8%
- บิงซู 5.2%
- ชิฟฟ่อน 0.8%
- เอแคลร์ 0.81%
- อื่นๆ 3.1%
Food Coloring 0.5 %
5 ท้อปปิ้ง ชาไทยสุดฮิต
โดยในกลุ่มชาไทยแบบเย็นพบว่ามีการเพิ่มลูกเล่นให้กับเครื่องดื่มของแต่ละแบรนด์โดย topping ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดจากการลงโปรโมทของ Influencer/KOL สายกินคือ
- ไข่มุก
- ครีมนมสด
- ปาท่องโก๋
- ครีมชีส
- วิปครีม
ตลาดชาไทยที่พบใน Social Media ทำให้พบว่าวงการเครื่องดื่มอย่างชาไทย ไม่ได้หยุดอยู่แค่เพียงการพัฒนารสชาติ หรือบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะกับยุคสมัยเท่านั้น แต่ได้มีการสร้างสรรค์เมนู เพื่อเพิ่มความแปลกใหม่ และเพิ่มกลยุทธ์ดึงดูดลูกค้าให้กับธุรกิจของแต่ละผู้ประกอบการมากขึ้น
ทั้งหมดนี้คือภาพรวม Insight ของเครื่องดื่มชาไทยสุดฮิตที่เราได้เห็นการนำเสนอของร้านค้าต่างๆ โดยการประยุกต์ ตั้งแต่การเพิ่ม Topping , ทำเป็น Slushy หรือ เพิ่มความสะดวกสบายด้วยการทำเป็นบรรจุภัณฑ์แบบขวด
ในอนาคตเราจะได้ชิมชาไทยรูปแบบใหม่ หรือ แบรนด์ใดที่จะตอบโจทย์ความกลมกล่อม หอม หวานลงตัว..เหล่าสาวกชาไทยก็คงต้องรอติดตามกันต่อไป
ข้อมูลทั้งหมดที่นำมาวิเคราะห์หา Insight รวบรวมผ่าน DXT360 แพลตฟอร์มติดตามข่าวสารและเสียงของผู้บริโภค (Social Listening) ของบริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด (dataxet:infoquest) โดยเก็บข้อมูลระหว่าง 1 พ.ย. – 30 พ.ย. 66
Social Links