“ดร.มนพร”เผย“คมนาคม”เทงบร่วม 8 หมื่นล้าน  สร้างโครงข่ายคมนาคมชายแดนอีสานเชื่อมลาว

“ดร.มนพร”เผย“คมนาคม”เทงบร่วม 8 หมื่นล้าน  สร้างโครงข่ายคมนาคมชายแดนอีสานเชื่อมลาว

“ดร.มนพร”เผย“คมนาคม”เทงบร่วม 8 หมื่นล้าน 

สร้างโครงข่ายคมนาคมชายแดนอีสานเชื่อมลาว

กระทรวงคมนาคม ทุ่มงบ 79,590 ล้าน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ชายแดนอีสาน สกลนคร-นครพนม-มุกดาหาร-บึงกาฬ  เชื่อมโยง เส้นทางเศรษฐกิจ ประเทศเพื่อนบ้าน มั่นใจสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 5 บึงกาฬ เสร็จทันปลายปีนี้ รองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจการค้า-ลงทุน-ท่องเที่ยว เพิ่มหลายเท่าตัว

ดร.มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมรัฐเปิดเผยว่า ได้รับมอบกมายจาก นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นำเจ้าหน่าที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นภาครัฐ เอกชน และประชาชน 4 จังหวัดภาคอีสาน ได้แก่ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร และบึงกาฬ จัดโดยคณะกรรมาธิการ การเงิน การคลัง สถาบันการเงินและตลาดการเงิน สภาผู้แทน มีนายอภิชาติ ตรีสวัสดิชัย ส.ส.สกลนคร เป็นรองประธานคณะกรรมาธิการ ประสานงานจัดสัมมนา เป็นประธานการสัมมนา ณ หอประชุมมหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ทั้งนี้ ส.ส.เดือน-ดร.มนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม เปิดเผยอีกว่า การเข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้ เป็นโอกาสที่กระทรวงคมนาคมจะได้ทำความเข้าใจและชี้แจงถึงการขับเคลื่อนงบประมาณของประเทศในส่วนของกระทวงคมนาคมที่มีโครงการสำคัญที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างทั้งรถไฟทางคู่และโครงข่ายทางถนน งบลงทุนกว่า 72,340 ล้านบาท การบริหารงบประมาณประจำปี 2567 อีกกว่า 1,605 ล้านบาท และโครงการสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของพื้นที่ที่อยู่ระหว่างขอรับการจัดสรรงบประมาณในปี 2568 อีกว่า 5,645 ล้านบาท ให้มีความเจริญเติบโตและส่งเสริมความยั่งยืนทางการคลัง กับเจ้าหน้าที่ ข้าราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมจังหวัด และหอการค้าจังหวัดในพื้นที่ เพื่อให้งบประมาณของประเทศได้มีการใช้จ่ายงบประมาณลงไปยังประชาชนได้อย่างทั่วถึงและสร้างประโยชน์ให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ การลงทุน  และการท่องเที่ยว

รมช.คมนาคม กล่าวต่อว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเจริญเติบโตแบบยั่งยืน โดยเฉพาะ 4 จังหวัดภาคอีสานที่มีพื้นที่ติดกับ สปป. ลาว และสะพานมิตรภาพเชื่อมต่อกันถึง 2 แห่ง ที่นครพนมและบึงกาฬ เป็นเขตเศรษฐกิจที่มีความพร้อมในการพัฒนาและมีศักยภาพสูง กระทรวงคมนาคมจึงเร่งพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อม 4 จังหวัด ทั้งการเดินทางขนส่งเชื่อมโยงภายในประเทศและ สปป.ลาว – เวียดนาม – จีน โดยมีโครงการขนาดใหญ่ในพื้นที่ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ได้แก่ โครงการรถไฟทางคู่เส้นทาง บ้านไผ่ – มุกดาหาร – นครพนม งบประมาณ 66,785.53 ล้านบาท โครงการก่อสร้างทล.2032 งบประมาณ 979.4 ล้านบาท โครงการก่อสร้างถนน 4 ช่องจราจร ทล.212 งบประมาณ 669.4 ล้านบาท และโครงการสะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 5 จังหวัดบึงกาฬ (บึงกาฬ – ปากซัน) งบประมาณ 3,906 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2567 ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จจะทำให้เกิดผลดีต่อการค้า การลงทุน การจ้างงาน รวมถึงภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจการขนส่งของทั้งสองประเทศ ทำให้ประชาชนเดินทางได้สะดวกรวดเร็ว ลดระยะเวลาการเดินทาง ส่งผลไปถึงการเชื่อมต่อและพัฒนาการท่องเที่ยวระหว่างประเทศไทย เวียดนาม และสาธารณรัฐประชาชนจีนทางตอนใต้ ส่งผลต่อการขยายตัวของเมืองยกระดับจากเมืองรองให้เป็นเมืองท่องเที่ยวหลักได้

สำหรับในปีงบประมาณ 2567 กระทรวงคมนาคมได้รับการจัดสรรงบประมาณสำหรับพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม วงเงิน 1,605 ล้านบาท ได้แก่ โครงการขยายถนน ทล.212 ตอน อำเภอปากคาด – หอคำ เป็น 4 ช่องจราจร โครงการขยายถนน ทล.22 ตอน สูงเนิน – ท่าแร่ จาก 4 ช่องจราจร เป็น 8 ช่องจราจร และโครงการก่อสร้างถนนเลียบแม่น้ำโขงนาคาวิถี ช่วงสะพานมิตรภาพไทย – ลาว (แห่งที่ 2) – พระธาตุพนม และอยู่ระหว่างขอรับงบประมาณปี 2568 และโครงการในอนาคตอีกหลายโครงการ เช่น การขยายทางหลวงเป็น 4 ช่องจราจร บน ทล.222 ตอน อำเภอวานรนิวาส – อำเภอคำตากล้า ทล.22 ตอน อำเภอนาแก่ – บ้านต้อง ทล.212 บึงโขงหลง – อ.บ้านแพ รวมถึงโครงการถนนเลียบแม่น้ำโขงนาคาวิถี เฟส 2 และโครงการก่อสร้างถนนสาย นพ.2010 รวมถึงการพัฒนาขยายขีดความสามารถของท่าอากาศยานภูมิภาคเพื่อรองรับการเติบโตด้านการขนส่งทางอากาศในพื้นที่ เป็นต้น

โดยการผลักดันโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาลและกระทรวงคมนาคมลงสู่พื้นที่จังหวัดสกลนคร นครพนม มุกดาหาร และบึงกาฬ จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อพี่น้องประชาชนในการเข้าถึงการคมนาคมที่สะดวก ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะช่วยเชื่อมโยงการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน เพิ่มโอกาสการเติบโตและพัฒนาทางเศรษฐกิจและการพาณิชย์ของประเทศต่างๆ ในภูมิภาค และส่งเสริมการค้า การจ้างงาน การลงทุนและการท่องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังจะเอื้ออำนวยต่อการที่ไทยจะเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงอนุภูมิภาค แม่น้ำโขงและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้ากับจีนและเอเชียใต้ต่อไปด้วย

 

You may also like

มาสเตอร์การ์ดเปิดตัว Pay Local เพิ่มช่องทางผู้ให้บริการกระเป๋าเงินดิจิทัลในเอเชีย รับชำระเงินจากผู้ถือบัตรมาสเตอร์การ์ดกว่า 2 พันล้านราย

มาสเตอร์