ธปท.รายงาน…
Insight การปรับราคาสินค้าและบริการ
จากผลสำรวจภาคธุรกิจ
▪ในปี2564 ต้นทุนสินค้าและบริการของธุรกิจส่วนใหญ่ปรับสูงขึ้น จากสาเหตุส าคัญ ได้แก่ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ค่าขนส่งทางเรือที่ปรับสูงขึ้นจากปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ปัญหา Globalsupply disruption รวมทั้งต้นทุนทางสาธารณสุข ส่งผลให้สัดส่วนของธุรกิจที่มีต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยสูงขึ้นปรับเพิ่มขึ้นมากในเกือบทุกภาคธุรกิจเมื่อเทียบกับช่วง 3 ปีก่อนหน้า (2561-2563) ยกเว้นในภาคบริการที่สัดส่วนใกล้เคียงเดิม
▪พตติกรรมการตั้งราคาของผู้ประกอบการไทยที่พบจากการส ารวจในปี2561 คือ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ตั้งราคาสินค้าและบริการโดยพิจารณาจากต้นทุนและก าไรเป็นหลัก ดังนั้น เมื่อต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยปรับสูงขึ้น ผู้ประกอบการจึงน่าจะมีแนวโน้มจะตัดสินใจปรับขึ้นราคาเพื่อรักษาอัตราก าไรไว้ แต่ในความเป็นจริง ภาคธุรกิจอาจปรับราคาได้ไม่ง่ายนัก
▪ผลสำรวจล่าสุดของ ธปท. พบว่าตั้งแต่ปี 2564-ก.พ. 2565 ซึ่งเป็นช่วงที่ต้นทุนของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่ธุรกิจในภาคการผลิต และภาคบริการส่วนใหญ่ยังไม่มีการปรับราคาสินค้า ขณะที่ธุรกิจภาคการค้ามีสัดส่วนผู้ที่ปรับราคาไปแล้วและมีแนวโน้มจะปรับราคามากกว่าภาคการผลิตและภาคบริการ หากพิจารณาในเชิงขนาดของธุรกิจกลับพบว่าผลไม่ต่างกันอย่างมีนัย คือ มากกว่าครึ่งหนึ่งของธุรกิจทั้งขนาดใหญ่และ SME ไม่มีการปรับราคาและไม่มีแนวโน้มจะปรับใน 12 เดือนข้างหน้า สาเหตุส าคัญมาจากการแข่งขันที่สูงและก าลังซื้อที่อยู่ในระดับต่ า ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจสาเหตุที่ยังไม่มีการปรับราคาในปี 2561
▪การสัมภาษณ์ผู้ประกอบการในปี 2564 ได้ข้อสรุปที่คล้ายกันว่าผู้ประกอบการไม่สามารถส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไปยังราคาสินค้าได้ทันทีหรือทั้งหมด โดยส่วนใหญ่สามารถปรับราคาสินค้าได้เพียงบางส่วน โดยเฉพาะธุรกิจในภาคบริการที่ร้อยละ 65 เห็นว่าไม่สามารถปรับเพิ่มราคาได้ เนื่องจากก าลังซื้อที่ลดลงมาก อาทิ ธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร ขณะที่ธุรกิจภาคการผลิตและภาคการค้าทยอยปรับราคาได้ตามรอบสัญญาซื้อขายและการเจรจาต่อรองกับลูกค้า และบางธุรกิจปรับได้เร็วตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น
▪ ผลสำรวจพตติกรรมการตั้งราคาในปี2561 อธิบายได้ว่าการปรับราคาของผู้ประกอบการไทยค่อนข้างมีความหนืด (Price stickiness) โดยการตัดสินใจปรับร า ค า แต่ ล ะ ค รั้ ง น อ ก จ า ก ส่ ว น ใ ห ญ่ จ ะ พิ จ า ร ณ า ร า ค า ข อ ง คู่ แข่ง(Coordination failure) และต้นทุน (Cost-based pricing) แล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องค านึงถึงด้วย เช่น การตกลงราคาซื้อขายกับลูกค้าไว้ล่วงหน้า(Explicit contracts) รวมถึงการบริหารความคาดหวังของลูกค้าที่ไม่ต้องการให้ปรับราคา (Implicit contracts) ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ท าให้การปรับราคาของธุรกิจท าไม่ได้ทันทีและบ่อยนัก อีกทั้งบางธุรกิจอาจเลือกใช้วิธีอื่นเพื่อรักษา Profit marginแทนการปรับราคาด้วย เช่น เพิ่มการผลิต ลดคุณภาพลดระยะเวลาการรับประกันสินค้า เป็นต้น
▪กลุ่มผู้ประกอบการที่คาดว่าจะทยอยปรับราคาได้ตั้งแต่ช่วง 3 เดือนข้างหน้าไปจนถึงปลายปี 2565 ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจ SME ที่แบกรับต้นทุนได้น้อยกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ซึ่ง SME ส่วนมากคาดว่าจะแบกรับต้นทุนโดยไม่ปรับราคาได้อีกเพียง 3-6 เดือนเท่านั้น โดยปัจจัยส าคัญที่กดดันให้ต้องปรับราคา คือต้นทุนวัตถุดิบ และต้นทุนขนส่ง หากประเมินจากประเภทธุรกิจ พบว่าธุรกิจในภาคการผลิตและการค้ามีโอกาสปรับราคาได้มากกว่าภาค บริการซึ่งสอดคล้องกับผลส ารวจพตติกรรมการตั้งราคาในปี 2561 ที่สะท้อนว่าภาคการผลิตและภาคการค้าสามารถปรับราคาสินค้าได้ถี่กว่า อาทิ ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ ปิโตรเลียมและพลาสติกซึ่งสินค้ามีความเกี่ยวเนื่องกับสินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่ปรับราคาได้เป็นรายเดือน ผู้ผลิตอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงภาคการค้า ส่วนใหญ่ปรับราคาได้เป็นรายไตรมาสถึงครึ่งปี ในขณะที่ธุรกิจภาคบริการ อาทิ ก่อสร้างและอสังหาฯ โรงแรม ร้านอาหารและขนส่งมีความถี่ในการปรับราคาสินค้าและบริการเป็นรายปี
▪แม้ว่าในช่วงต้นปี 2565 ที่ผ่านมาธุรกิจส่วนใหญ่คาดว่าจะยังไม่ปรับราคาสินค้าและบริการ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความสามารถในการแบกรับต้นทุนได้มากกว่า และใช้วิธีอื่นแทนการปรับราคา เช่นลดโปรโมชั่น เป็นต้น แต่ความขัดแย้งของรัสเซียและยูเครน ที่ส่งผลให้ราคาพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อาจกดดันให้ผู้ประกอบการปรับเพิ่มราคาสินค้าเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะกลุ่มปิโตรเคมี พลาสติกกลุ่มผู้ผลิตอาหาร รวมถึงชิ้นส่วนยานยนต์และภาคการค้า
▪ ผลสำรวจพฤติกรรมการตั้งราคาในปี2561 อธิบายได้ว่าการปรับราคาของผู้ประกอบการไทยค่อนข้างมีความหนืด (Price stickiness) โดยการตัดสินใจปรับรา ค า แต่ ล ะ ค รั้ ง น อ ก จ า ก ส่ ว น ใ ห ญ่ จ ะ พิ จ า ร ณ า ร า ค า ข อ ง คู่ แข่ ง(Coordination failure) และต้นทุน (Cost-based pricing) แล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องค านึงถึงด้วย เช่น การตกลงราคาซื้อขายกับลูกค้าไว้ล่วงหน้า(Explicit contracts) รวมถึงการบริหารความคาดหวังของลูกค้าที่ไม่ต้องการให้ปรับราคา (Implicit contracts) ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ท าให้การปรับราคาของธุรกิจท าไม่ได้ทันทีและบ่อยนัก อีกทั้งบางธุรกิจอาจเลือกใช้วิธีอื่นเพื่อรักษา Profit marginแทนการปรับราคาด้วย เช่น เพิ่มการผลิต ลดคุณภาพ ลดระยะเวลาการรับประกันสินค้า เป็นต้น
▪กลุ่มผู้ประกอบการที่คาดว่าจะทยอยปรับราคาได้ตั้งแต่ช่วง 3 เดือนข้างหน้าไปจนถึงปลายปี 2565 ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจ SME ที่แบกรับต้นทุนได้น้อยกว่า ธุรกิจขนาดใหญ่ซึ่ง SME ส่วนมากคาดว่าจะแบกรับต้นทุนโดยไม่ปรับราคาได้อีกเพียง 3-6 เดือนเท่านั้น โดยปัจจัยส าคัญที่กดดันให้ต้องปรับราคา คือต้นทุนวัตถุดิบ และต้นทุนขนส่ง หากประเมินจากประเภทธุรกิจ พบว่าธุรกิจในภาคการผลิตและการค้ามีโอกาสปรับราคาได้มากกว่าภาค บริการซึ่งสอดคล้องกับผลส ารวจพตติกรรมการตั้งราคาในปี 2561 ที่สะท้อนว่าภาคการผลิตและภาคการค้าสามารถปรับราคาสินค้าได้ถี่กว่า อาทิ ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ ปิโตรเลียมและพลาสติกซึ่งสินค้ามีความเกี่ยวเนื่องกับสินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่ปรับราคาได้เป็นรายเดือน ผู้ผลิตอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงภาคการค้า ส่วนใหญ่ปรับราคาได้เป็นรายไตรมาสถึงครึ่งปี ในขณะที่ธุรกิจภาคบริการ อาทิ ก่อสร้างและอสังหาฯ โรงแรมร้านอาหารและขนส่งมีความถี่ในการปรับราคาสินค้าและบริการเป็นรายปี
▪แม้ว่าในช่วงต้นปี 2565 ที่ผ่านมาธุรกิจส่วนใหญ่คาดว่าจะยังไม่ปรับราคาสินค้าและบริการ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความสามารถในการแบกรับต้นทุนได้มากกว่า และใช้วิธีอื่นแทนการปรับราคา เช่น ลดโปรโมชั่น เป็นต้น แต่ความขัดแย้งของรัสเซียและยูเครน ที่ส่งผลให้ราคาพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อาจกดดันให้ผู้ประกอบการปรับเพิ่มราคาสินค้าเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะกลุ่มปิโตรเคมี พลาสติก กลุ่มผู้ผลิตอาหาร รวมถึงชิ้นส่วนยานยนต์และภาคการค้า
Social Links