นักวิทยาศาสตร์เตือนไม่ให้ใช้นิวเคลียร์ ญี่ปุ่นโดนทิ้งระเบิดหลังเยอรมันแพ้แล้ว สหรัฐเป็นมหาอำนาจหลังสงครามโลก จะมีการใช้ระเบิดนิวเคลียร์อีกหรือไม่?

นักวิทยาศาสตร์เตือนไม่ให้ใช้นิวเคลียร์ ญี่ปุ่นโดนทิ้งระเบิดหลังเยอรมันแพ้แล้ว สหรัฐเป็นมหาอำนาจหลังสงครามโลก จะมีการใช้ระเบิดนิวเคลียร์อีกหรือไม่?

นักวิทยาศาสตร์เตือนไม่ให้ใช้นิวเคลียร์

ญี่ปุ่นโดนทิ้งระเบิดหลังเยอรมันแพ้แล้ว

สหรัฐเป็นมหาอำนาจหลังสงครามโลก

จะมีการใช้ระเบิดนิวเคลียร์อีกหรือไม่?

สุทธิชัย ทักษนันต์

หนังเรื่อง “ออพเพนไฮเมอร์” ของ คริสโตเฟอร์ โนแลน เกี่ยวกับการคิดค้นและสร้างระเบิดปรมาณู ทำให้คนย้อนคิดถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 กันอีกครั้ง

มีการเปรียบเทียบถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยี AI ที่อาจเป็นภัยคุกคามมนุษยชาติ และรวมถึงความขัดแย้งระดับชาติที่อาจนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 3

ในเดือนพฤษภาคม 1945 เยอรมัน ซึ่งอยู่ฝ่ายอักษะได้ยอมแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว แม้ว่าสถานการณ์ต่างๆจะไม่ค่อยดี แต่ ญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ฝ่ายอักษะเช่นกัน ยังไม่ยอมแพ้

Atomic Bomb หรือ ระเบิดปรมณู มีการคิดค้นขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นาซีเยอรมันมีโครงการ Uranium Club แต่ทำไม่สำเร็จ ส่วนฝ่ายสัมพันธมิตร สหรัฐอเมริกามี Manhattan Project ทำได้สำเร็จ

นักวิทยาศาสตร์หลายคนใน Manhattan Project เป็นคนยิว และคงมีความตั้งใจหลักอยากให้มีการใช้อาวุธทำลายล้างนี้กับ เยอรมัน มากกว่าจะเป็น ญี่ปุ่น

เยอรมัน ประกาศยอมแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 1945 แต่ระเบิดปรมณูสร้างได้สำเร็จจริงในเดือน กรกฎาคม 1945 หลังจากที่ เยอรมัน ยอมแพ้แล้ว แต่ ญี่ปุ่น ยังไม่ยอมแพ้

ระเบิดปรมณูสร้างเสร็จแล้ว มันต้องมีการใช้งาน นอกจากจะหยุดสงครามโลกได้เร็วขึ้น มันยังเป็นการประกาศความยิ่งใหญ่ของประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาด้วย

วันที่ 17 กรกฎาคม 1945 นักวิทยาศาสตร์ 70 คน จาก Manhattan Project ซึ่งรวมถึง J. Robert Oppenheimer ผู้อำนวยการโครงการนี้ ได้ร่วมกันลงชื่อ และส่งหนังสือคำร้องถึงประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา Harry S. Truman เรียกร้องให้ละเว้นการใช้ระเบิดปรมาณูกับญี่ปุ่น

ข้อเรียกร้องของนักวิทยาศาสตร์ใน Manhattan Project ไม่เป็นผล สหรัฐฯทิ้งระเบิดปรมาณูที่ ฮิโรชิมะ วันที่ 6 สิงหาคม 1945 และ นางาซากิ วันที่ 9 สิงหาคม 1945 มีคนตายทันทีและตายหลังจากนั้นรวมกันมากกว่า 200,000 คน

การเรียกร้องของนักวิทยาศาสตร์ผู้สร้างระเบิดปรมณู ทำให้คิดถึงการเรียกร้องของ อีลอน มัสก์ และผู้นำทางด้านเทคโนโลยีมากกว่า 1,000 คนซึ่งรวมถึงผู้สร้าง AI จำนวนมาก เรียกร้องให้ภาครัฐหยุดการพัฒนา AI ที่เหนือกว่า GPT-4 เอาไว้ก่อน แล้วมาออกกฎที่รัดกุมมากขึ้น

คริสโตเฟอร์ โนแลน ผู้กำกับหนัง “ออพเพนไฮเมอร์” เคยให้สัมภาษณ์ว่าหนังเรื่องนี้ต้องการเตือนสตินักเทคโนโลยีและนักวิทยาศาสตร์ในการคิดค้นอะไรที่อาจเป็นภัยต่อมนุษยชาติ

สรุปแล้ว สงครามโลกครั้งที่ 2 มีทหารและพลเรือนเสียชีวิตประมาณ 60 – 85 ล้านคน

สงคราม รัสเซีย – ยูเครน ในปัจจุบัน อาจเป็นชนวนที่นำไปสู่สงครามที่ใหญ่ขึ้น

ความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจสองประเทศ อเมริกา กับ จีน ก็เป็นที่กังวลของผู้คนจำนวนมาก

ไม่มีใครยืนยันได้ว่า จะไม่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 3

การใช้ระเบิดนิวเคลียร์ในการทำลายล้างผู้คน ก็เป็นเรื่องที่มีโอกาสเกิดขึ้นอีกครั้งเช่นกัน

………………………………..

(ภาพประกอบจาก Wikipedia: หนังสือเรียกร้องจากนักวิทยาศาสตร์ Manhattan Project, ภาพระเบิดปรมณูเมือง ฮิโรชิมะ และ นางาซากิ)    

You may also like

TQM ร่วมกับ MSIG ส่งความสุขท้ายปี มอบฟรี “ประกันภัยรถยนต์ตามคน” ขับคันไหนก็คุ้มครอง

TQM ร่วม