“ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน กับวิกฤติอาหารโลก”

“ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน กับวิกฤติอาหารโลก”

“ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน กับวิกฤติอาหารโลก”

ดร.กฤษฎา พรหมเวค

คณะรัฐศาสตร์ ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทย

                สงครามระหว่างรัสเซีย – ยูเครนนอกจากจะส่งผลกระทบทางด้านวิกฤติพลังงานแล้วยังส่งผลกระทบทางด้านวิกฤติอาหารโลกด้วย โดยนายอันโตนิโอ กูเตเรสเลขาธิการองค์การสหประชาชาติได้ออกมาเตือนถึงผลกระทบความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย – ยูเครนต่อความมั่นคงทางด้านอาหาร พลังงานและการเงิน ในการประชุมเกี่ยวกับวิกฤติการณ์ด้านอาหารโลกเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ปีค.ศ. 2022 ที่ผ่านมาว่าสงครามระหว่างรัสเซีย ยูเครนเสี่ยงต่อการเกิดระลอกคลื่นของความหิวโหยและความยากจนอย่างไม่เคยเกิดมาก่อน การประชุมเป็นไปด้วยความดุเดือดเมื่อนายชาร์ล มีแชล (Charles Yves Jean Ghislaine Michel) ประธานคณะมนตรียุโรปลุกขึ้นกล่าวประณามกล่าวโทษว่าการรุกรานยูเครนตามคำสั่งของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินนั้นเป็นต้นตอของวิกฤติอาหารโลกในครั้งนี้ รัสเซียได้ใช้อาหารโลกเป็นขีปนาวุธล่องหนยิงไปยังประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ ผลกระทบทำให้ราคาอาหารสูงขึ้นและคนยากจนลงส่งผลถึงเสถียรภาพของคนภายในภูมิภาค จนทำให้นายวาซิลี เนเบนเซีย (Василий Алексеевич Небензя) เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรของรัสเซียประจำองค์การสหประชาชาติวอล์คเอาท์ออกจากที่ประชุม

                ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินได้ออกมาชี้แจงถึงวิกฤติอาหารโลกที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นในตอนที่รัสเซียบุกยูเครน แต่เกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว โดยกินระยะเวลามาไม่ต่ำกว่า 3 ปี แต่ก็ออกมายอมรับว่าสงครามระหว่างรัสเซีย ยูเครนเป็นสาเหตุหนึ่งของวิกฤติการณ์อาหาร แต่ยังมีสาเหตุที่สำคัญอื่น ๆ ประกอบอีกหลายประการ ประกอบด้วย

  1. ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทั่วทั้งโลก ไม่ว่าจะเป็นในละตินอเมริกา ที่เผชิญกับปัญหาน้ำท่วม ดินถล่ม ออสเตรเลีย ยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งจงอยของแอฟริกาที่ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล และแห้งแล้งติดต่อกันมาเป็นปีที่ 5 จนไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้ ทำให้ผลผลิตทางด้านการเกษตรได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย
  2. ปัญหาเรื่องการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ส่งผลทำให้การผลิตและการค้าระหว่างประเทศไม่สามารถดำเนินการได้ตามปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของแรงงานข้ามชาติที่ต้องส่งกลับแรงงานต่างด้าวเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ส่งผลทำให้เกิดการขาดแคลนแรงงานในการเพาะปลูก นอกจากนั้นมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ในประเทศต่าง ๆ ที่ห้ามหรือปฏิเสธการนำเข้าอาหารจากประเทศต่าง ๆ เนื่องจากตรวจพบการปนเปื้อนเชื้อโรคโควิด – 19 ในอาหารที่ส่งออก
  3. เรื่องของเทรนด์หรือแนวโน้มของการเกษตรแบบอินทรีย์หรือออแกนิกส์ในช่วง  2 – 3 ปีที่ผ่านมาที่ปฏิเสธการใช้ปุ๋ยหรือสารเคมีในการผลิต ส่งผลให้โรงงานผลิตปุ๋ยหรือสารเคมีหลายแห่งต้องปิดตัวลงหรือลดการผลิตลง โลกเริ่มมีการแบนการใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมีในการผลิต ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ถูกรบกวนโดยวัชพืชและแมลงศัตรูพืช
  4. สถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซีย – ยูเครนเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อวิกฤติการณ์ด้านอาหาร เนื่องจากยูเครนได้ชื่อว่า “ตะกร้าขนมปังของยุโรป” และรัสเซียเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีและธัญพืชรายใหญ่ของโลก เมื่อสงครามเกิดขึ้นแน่นอนทางรัสเซียต้องสำรองอาหารไว้ให้ประชาชนภายในประเทศก่อน ในขณะที่ยูเครนถูกปิดกั้นท่าเรือทำให้การส่งออกไม่สามารถดำเนินการได้ ยุโรปที่เคยต้องพึ่งพาอาหารจากรัสเซียและยูเครนเลยไม่สามารถทำได้ ที่แย่ไปกว่านั้นก็คือมาตรการการคว่ำบาตรรอบที่ 5 ที่ทางสหรัฐฯและสหภาพยุโรปประกาศห้ามเรือสัญชาติรัสเซียและเรือบรรทุกสินค้าที่ติดธงรัสเซียห้ามจอดเทียบท่าในท่าเรือของประเทศต่าง ๆ ในยุโรป ทำให้รัสเซียไม่สามารถส่งออกอาหารไปยุโรปได้ ทั้งนี้ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินได้ออกมากล่าวว่ารัสเซียพร้อมที่จะส่งออกอาหารไปยังยุโรปแต่ไม่สามารถทำได้เนื่องจากทางยุโรปไม่ให้เรือของรัสเซียเทียบท่า โดยประเทศต่าง ๆ ต้องยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรดังกล่าวต่อรัสเซียก่อน

                นายไซริล รามาโฟซา (Cyril Ramaphosa)ประธานาธิบดีของแอฟริกาใต้และนายแมกกี้ ซอลล์ (Macky Sall) ประธานาธิบดีเซเนกัลดำรงตำแหน่งประธานสหภาพแอฟริกาได้เข้าพบประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินที่เมืองโซชิริมฝั่งทะเลดำเมื่อวันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน ปี ค.ศ. 2022 ที่ผ่านมา เพื่อหารือเกี่ยวกับสงครามในยูเครนและผลกระทบต่อแอฟริกา โดยมองว่าการงดการส่งออกธัญพืชของรัสเซียและยูเครนจะเพิ่มความไม่มั่นคงทางด้านอาหารให้แก่หลายประเทศในแอฟริกาโดยทำให้ชาวแอฟริกันหลายล้านคนหิวโหย ทั้งนี้ก่อนเกิดสงครามภูมิภาคแอฟริกาะนำเข้าข้าวสาลีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ประมาณ 30 ล้านตันจากรัสเซียและยูเครนทุกปี สงครามได้ลดการส่งออกอย่างมากและจุดประกายให้ราคาอาหารและเชื้อเพลิงทั่วโลกเพิ่มขึ้น

                ทั้งนี้รัสเซียเข้าใจและตะหนักถึงปัญหาดังกล่าวและแสดงความจริงใจในการเดินหน้าแก้ไขปัญหาดังกล่าว เห็นได้จากการที่นายเซอร์เกร์ ลาฟรอฟ(Сергей Викторович Лавров) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียเดินทางไปเข้าพบและหารือกับนายเมฟลุต คาวูโซกลู (Mevlüt  Çavuşoğlu) รัฐมนตรีต่างประเทศตุรกีในการพร้อมที่จะส่งออกอาหารไปยังแอฟริกา โดยตุรเคียพร้อมที่จะให้การคุ้มกันเรือบรรทุกสินค้ารัสเซียที่จะออกทะเลดำผ่านช่องแคบบอสฟอรัสผ่านทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปยังแอฟริกา ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะสามารถแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์ด้านอาหารโลกได้หรือไม่ต้องคอยติดตามกันต่อไปอย่างใกล้ชิด.

You may also like

TQM ร่วมกับ MSIG ส่งความสุขท้ายปี มอบฟรี “ประกันภัยรถยนต์ตามคน” ขับคันไหนก็คุ้มครอง

TQM ร่วม