ปรับเพื่อรอดในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล New Normal ของผู้ให้บริการโซลูชันเทคโนโลยี

ปรับเพื่อรอดในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล New Normal ของผู้ให้บริการโซลูชันเทคโนโลยี

ปรับเพื่อรอดในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

New Normal ของผู้ให้บริการโซลูชันเทคโนโลยี

โดย นางสาวสิรินันท์ จิรดิลก ผู้อำนวยการอาวุโส Digital Engagement & FinTech Innovation ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย

                สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) คาดว่าอุตสาหกรรมดิจิทัลของประเทศไทยจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นสองหลักในปีนี้ จากแรงหนุนของภาคบริการด้านดิจิทัลที่แข็งแกร่ง สะท้อนพฤติกรรมผู้บริโภคสู่ยุค new normal ที่ใช้บริการดิจิทัลมากขึ้น โดยในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา จำนวนผู้บริโภคที่ใช้อีคอมเมิร์ซเพิ่มขึ้นร้อยละ 35 ส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปเพราะจำเป็นต้องปรับตัวกับการซื้อของใช้ประจำวันและสินค้าอื่น ๆ ผ่านทางออนไลน์แทน เมื่อต้องเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลให้เกิดการล็อกดาวน์ และการเว้นระยะห่างทางสังคม

                การเติบโตอย่างก้าวกระโดดนี้มีนัยสำคัญต่อผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มอี (SMEs) อย่างไร เมื่อลูกค้าใช้บริการออนไลน์มากขึ้น SMEs ย่อมต้องปรับใช้เทคโนโลยี เพื่อรักษาศักยภาพการแข่งขันและการเติบโตทางธุรกิจในระยะยาว จากผลสำรวจของ depa แม้ว่าธุรกิจ SMEs ส่วนใหญ่ยังอยู่ในยุค 1.0-2.0 แต่อัตราการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกลับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามาเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจโลกสอดคล้องกับผลสำรวจ “UOB ASEAN SME Transformation”  ที่พบว่า ประมาณสามในสี่ของเอสเอ็มอีในประเทศไทย (ร้อยละ 71) ให้ความสำคัญกับการลงทุนในเทคโนโลยีเป็นอันดับแรก ซึ่งสูงที่สุดในบรรดาประเทศในกลุ่มอาเซียน

                นายฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการใหญ่ depa กล่าวว่า การส่งเสริมและสนับสนุนให้ SMEs ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในธุรกิจ เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่างๆ จะพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น เพื่อเพิ่มความสามารถในการเติบโตอย่างยั่งยืน และยังเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลในภาพรวม depa ไม่เพียงแต่จะช่วยธุรกิจแสวงหาและเชื่อมต่อเข้ากับผู้ให้บริการเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้โซลูชันเท่านั้น แต่ยังสนับสนุนเงินทุนแก่ SMEs เพื่อเอาชนะความท้าทายและเพิ่มพูนทักษะด้านดิจิทัลอีกด้วย

                สิ่งนี้สร้างโอกาสมากมายในการผนึกกำลังทางธุรกิจระหว่าง SMEs และผู้ให้บริการโซลูชันเทคโนโลยี ธนาคารยูโอบี และ เดอะ ฟินแล็บ สนับสนุน SMEs และผู้ให้บริการโซลูชันเทคโนโลยี ในการปรับองค์กรสู่ดิจิทัลมาอย่างต่อเนื่องตลอดหลายปีที่ผ่านมา เช่น โครงการ Smart Business Transformation Program (SBTP) ริเริ่มโดยธนาคารยูโอบี ประเทศไทย และ เดอะ ฟินแล็บ ได้จับคู่ SMEs เข้ากับผู้ให้บริการโซลูชันด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อตอบสนองความต้องการด้านดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้ที่ได้เข้าร่วมโครงการ SBTP เมื่อเร็วๆ นี้ เราได้ค้นพบข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีการปรับตัวของผู้ให้บริการโซลูชันเทคโนโลยีไทยให้เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

สร้างโอกาสทางธุรกิจ ด้วยการยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง

                นายจอห์น แพร์ซัน CEOและผู้ก่อตั้งบริษัท Zaviago บริษัทผู้พัฒนาแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซและเว็บไซต์ กล่าวว่า การแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสระลอกแรกส่งผลกระทบทั่วโลก เราส่วนใหญ่ต่างไม่ได้เตรียมตัวและป้องกันใดๆ และในช่วงแรกของสถานการณ์ความไม่แน่นอนนั้น บริษัทของเราเลือกดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความเห็นผู้บริโภค โดยมุ่งหาแนวทางการพัฒนาแพลตฟอร์มที่ตอบสนองต่อความเหมาะสมของตลาด ผลิตภัณฑ์ (product-market fit) และกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

                “สิ่งสำคัญ คือการพัฒนาแพลตฟอร์มของเราต้องตอบโจทย์ความต้องการทางการตลาดของผู้ประกอบการ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ต้องมีความยืดหยุ่นเชิงพาณิชย์ ทีมงานของเราเติบโตเกินความคาดหมายภายในระยะเวลาเพียง 4 เดือน เหนือกว่าคู่แข่งแพลตฟอร์มเว็บไซต์รายอื่นในประเทศไทย มี SMEsและผู้ใช้งานมากกว่า 3,400 ราย เข้าโปรแกรมทดลองใช้ฟรีตั้งแต่เริ่มก่อตั้งแพลตฟอร์ม  นอกจากนั้น ยังมี SMEs เข้าลงทะเบียนประมาณ 40 รายต่อวัน หรือมากถึง 1,000 รายต่อเดือน และในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ฐานผู้บริโภคของเราเพิ่มขึ้นถึง 500 เปอร์เซ็นต์”

สร้างความได้เปรียบทางธุรกิจด้วย Business Ecosystem

                นายจุติพันธุ์ มงคลสุธี CEO บริษัท โกไฟฟ์ บริษัทซอฟต์แวร์ที่ให้บริการโซลูชันการบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) ภายใต้แบรนด์ Venio กล่าวว่า “Pain Point อันดับต้นๆ ของผู้ให้บริการโซลูชันเทคโนโลยี คือการทำให้โซลูชันดิจิทัลของพวกเขาเป็นที่รู้จักและเลือกใช้บริการของลูกค้า

                “การเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่าย depa และการเข้าร่วมโครงการ SBTP ในฐานะธุรกิจโซลูชันดิจิทัล ทำให้เราได้รู้จักกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ Venio โซลูชันด้าน CRM ของเราเริ่มเป็นที่รู้จัก มองเห็น และน่าเชื่อถือในกลุ่ม SMEs โดยมี SMEs ที่ใช้บริการโซลูชันของเราเพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงก่อนที่เราจะเข้าร่วมโครงการ”

                “เราได้ถ่ายทอดประสบการณ์ตรงผ่านเครือข่ายของ depa และโครงการ SBTP เพื่อช่วยให้ SMEs เข้าใจถึงความสำคัญของระบบ CRM และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าทางออนไลน์ ปัจจุบัน Venio ให้การสนับสนุน SMEs ที่เข้าร่วมโครงการ SBTP มากกว่า 50 ราย ในการจัดการข้อมูลลูกค้าอย่างเป็นระบบ ทำให้สามารถวางแผน บันทึก และติดตามสถานะของลูกค้าแต่ละรายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

เร่งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีผ่านการทดลองใช้

                นายชนกานต์ ชินชัชวาล CEO บริษัท Robolingo ผู้พัฒนา Zwiz.AI  แชทบอท AI และเครื่องมือวิเคราะห์สำหรับธุรกิจ เห็นด้วยกับแนวคิดการเพิ่มความน่าเชื่อถือผ่านการจัดระบบนิเวศทางธุรกิจที่เหมาะสม เขายังเน้นย้ำถึงความสำคัญของโอกาสที่ SMEs จะเข้าถึงโซลูชันได้ด้วย

                “การได้รับเลือกให้เป็นผู้ให้บริการโซลูชันเทคโนโลยีภายใต้เครือข่ายของ depa และ SBTP จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการ SMEs ในด้านความน่าเชื่อถือ ศักยภาพในการดำเนินธุรกิจด้านดิจิทัล และการตอบโจทย์ความต้องการทางธุรกิจ เราได้ร่วมสัมมนาออนไลน์กับ SBTP มาแล้วหลายครั้ง ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่ได้แนะนำบริษัท โซลูชัน และบริการของเรา ให้แก่ SMEs อย่างไรก็ตาม เราตระหนักว่า หลายธุรกิจ SMEs ยังลังเลที่จะนำโซลูชันไปใช้ เนื่องจากข้อจำกัดทางการเงิน นั่นคือเหตุผลที่ทำให้เราเสนอให้ธุรกิจทดลองใช้งานระบบโดยไม่มีค่าใช้จ่าย และเมื่อพวกเขาได้ลองใช้ผลิตภัณฑ์ของเราและพบว่าผลิตภัณฑ์นั้น ตรงกับความต้องการของธุรกิจ พวกเขาก็จะยินดีที่จะใช้บริการต่อไป”

                มี SMEs ใช้งานโซลูชันแชทบอทของ Zwiz.AI เพิ่มขึ้น 100 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนเข้าร่วมโครงการ SBTP ในปี 2020

                ในการสนับสนุน SMEs และผู้ให้บริการโซลูชันเทคโนโลยี ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้จัดการอบรมออนไลน์โดยไม่มีค่าใช้จ่ายจำนวนหลายหลักสูตร เพื่อช่วยให้ SMEs ได้รับความรู้ในการเลือกใช้โซลูชันดิจิทัล การฝึกอบรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ SBTP ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มโดย ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย และเดอะ ฟินแล็บ โดยความร่วมมือกับ depa สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) ซึ่ง SMEs จะได้รับประโยชน์จากผู้ให้บริการโซลูชันเทคโนโลยีมากมายในการเข้าร่วมสัมมนาแต่ละครั้ง รวมถึงได้ทดลองใช้โซลูชันเทคโนโลยีฟรีสูงสุด 6 เดือน

                การอบรมครั้งล่าสุดจัดขึ้นในวันที่ 14 ตุลาคม 2564 โดยบริษัทเทคโนโลยีของไทย 3 แห่ง ได้แก่ Zwiz.AI ผู้ให้บริการ Chatbot และเครื่องมือวิเคราะห์โซเชียลมีเดีย PEAK แพลตฟอร์มบัญชีออนไลน์ และ SmartUp แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ได้มานำเสนอบริการโซลูชันดิจิทัลที่สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs เพิ่มยอดขาย เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการบัญชี ปรับปรุงแบรนด์ และสร้างฐานลูกค้าด้วย

                สำหรับผู้ให้บริการโซลูชั่นเทคโนโลยีของไทยที่กำลังมองหาโอกาสทางธุรกิจหรือต้องการ ทำความรู้จักกับธุรกิจ SMEs อื่น สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/uob.th หรือ https://thefinlab.com/th/thailand 

 

You may also like

เปิดตัวดัชนีชี้วัดความปลอดภัยของเด็ก บนโลกออนไลน์ทั้งในระดับชาติและระดับโลก

เปิดตัวด