ปราการ 5 ด่านของ Virtual Bank
ใช้ต่อกรมิจฉาชีพทางการเงินยุคใหม่
Lightnet-WeLab เผยนวัตกรรมด้านความปลอดภัยของ Virtual Bank เพื่อรับมือมิจฉาชีพออนไลน์ และปกป้องเงินในบัญชีของคุณ
ปัจจุบันปัญหาการฉ้อโกงออนไลน์ในประเทศไทยพุ่งทะยานขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ “บัญชีม้า” โดยนับตั้งแต่ปี 2565 มีรายงานการใช้บัญชีม้าโดยมิจฉาชีพกว่า 5 แสนบัญชี ที่สร้างความเสียหายมากมายรวมมูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท
บัญชีม้าเหล่านี้สร้างปัญหาให้กับเจ้าหน้ารัฐในการติดตามเงินที่ถูกขโมยและการสืบสวนหาตัวมิจฉาชีพ ทำให้ปัจจุบันปัญหาการการฉ้อโกงด้วยการเข้าควบคุมบัญชี (Account Takeover) กลายเป็นหนึ่งในวิธีการฉ้อโกงที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ในขณะที่มิจฉาชีพต่างสรรหารูปแบบกลโกงออนไลน์ใหม่ ๆ ออกมาอยู่ตลอด สถาบันทางการเงินรูปแบบใหม่อย่าง Virtual Bank ก็เริ่มมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเป็นแนวหน้าในการรับมือกับกลโกงออนไลน์เช่นกัน ซึ่งสอดคล้องกับความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการปฏิรูปกฎหมายเพื่อเสริมแกร่งการป้องกันอาชญากรรมการเงินทางไซเบอร์
ป้อมปราการดิจิทัล: ระบบป้องกันแบบหลายชั้น
โครงสร้างพื้นฐานของ Virtual Bank ถูกพัฒนาบนระบบคลาวด์ที่สามารถอัพเดตมาตรการความปลอดภัยได้แบบเรียลไทม์ ทั้งยังมีระบบความปลอดภัยแน่นหนาที่ฝังอยู่ในทุกขั้นตอนของการบริการ
หนึ่งในผู้บุกเบิกนวัตกรรมความปลอดภัยเหล่านี้คือกลุ่ม Lightnet-WeLab ที่กำลังยื่นขอใบอนุญาต Virtual Bank ในประเทศไทย
ด้วยการนำความสำเร็จของ WeLab ในการเป็นผู้ให้บริการ Virtual Bank ทั้งในฮ่องกงและอินโดนีเซีย มาผนวกกับความเชี่ยวชาญของ Lightnet ในด้านโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินระหว่างประเทศที่ทันสมัย ทำให้กลุ่ม Lightnet-WeLab พร้อมที่จะนำประสบการณ์การคุ้มครองผู้ใช้ที่มีมาตรฐานระดับโลกมาปรับใช้กับโจทย์ความท้าทายของประเทศไทย เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและธุรกิจในประเทศไทยจากการฉ้อโกงทางการเงินยุคใหม่
กลุ่ม Lightnet-WeLab มีระบบตรวจจับการฉ้อโกงออนไลน์ 5 ขั้นตอนที่ทำงานอย่างพร้อมเพรียงกันเพื่อปกป้องผู้ใช้บริการในทุกจุดเสี่ยง (touchpoints) โดยผสานระบบคัดกรองความเสี่ยงอัตโนมัติ เทคโนโลยี Machine Learning และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) แบบ Reinforcement Learning ที่ทำให้กลุ่ม Lightnet-WeLab สามารถสร้างระบบป้องกันการฉ้อโกงที่ครบวงจรและสามารถปรับตัวให้เข้ากับภัยคุกคามทางดิจิทัลรูปแบบใหม่ได้อย่างรวดเร็ว
และนี่คือ 5 เทคโนโลยี ที่ Virtual Bank ของ กลุ่ม Lightnet-WeLab ใช้ต่อกรกับภัยมิจฉาชีพออนไลน์:
- อัศวินด่านหน้า: ระบบยืนยันตัวตนอัจฉริยะ
ระบบจดจำใบหน้าอัจฉริยะถือเป็นด่านแรกของการป้องกัน โดยทำหน้าที่ตรวจจับภาพ Deepfake ที่แม้แต่มนุษย์เองอาจแยกไม่ออก เมื่อผู้ใช้ถ่ายเซลฟี่เพื่อยืนยันตัวตน ระบบจะสแกนรูปอย่างละเอียด ทำให้มั่นใจได้ว่าคนที่ใช้งานคือเจ้าของภาพตัวจริง ไม่ใช่ภาพหรือวิดีโอที่ถูกปลอมแปลงมา
ในปี 2566 ระบบตรวจสอบใบหน้าของ WeLab Virtual Bank ในฮ่องกงสามารถตรวจจับได้ว่ามีคนใช้ภาพ Deepfake สมัครเพื่อกู้เงิน ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถเปิดโปงเครือข่ายมิจฉาชีพที่ร่วมกันนำบัตรประชาชนที่ถูกขโมยจำนวน 8 ใบ ไปยื่นกู้เงินถึง 90 ครั้งในสถาบันการเงิน 20 แห่งทั่วฮ่องกง ด้วยเหตุนี้ เจ้าหน้าที่จึงสามารถจับกุมผู้ต้องหา 6 คนก่อนที่พวกเขาจะนำเงิน 200,000 ดอลลาร์ฮ่องกง (ประมาณ 900,000 บาท) ที่โกงมาได้ไปใช้
- หอคอยเฝ้าระวัง: จับตาความเคลื่อนไหวของธุรกรรมตลอด 24 ชม.
ระบบติดตามและตรวจสอบธุรกรรมแบบเรียลไทม์ของกลุ่ม Lightnet-WeLab ช่วยจับสัญญาณพิรุธต่าง ๆ เช่น การการโอนเงินไปหลายบัญชีในเวลาผิดปกติ การทำธุรกรรมพร้อมกันจำนวนมาก ซึ่งมักเกี่ยวพันกับการพนันหรือการเทรดคริปโต โดยหากพบว่าบัญชีถูกแฮกและควบคุมโดยมิจฉาชีพ ระบบจะทำการระงับบัญชีหรืออายัติธุรกรรมในทันที เพื่อหยุดกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการผิดกฎหมาย
- เกราะป้องกันอัจฉริยะ: ระบบยืนยันตัวตนที่ปรับตัวตามความเสี่ยง
ด่านที่สามเป็นระบบป้องกันพิเศษที่จะขอให้ผู้ใช้ยืนยันตนเองก็ต่อเมื่อมีการตรวจพบ “สัญญาณผิดปกติ” เช่น การเปลี่ยนอุปกรณ์สื่อสารกะทันหัน การโอนเงินจำนวนมากผิดปกติ หรือการจ่ายเงินถี่ ๆ ให้ผู้รับเงินรายใหม่ ๆ โดยระบบจะไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้บริการธนาคารปกติของผู้ใช้งานส่วนใหญ่
รู้หรือไม่? ว่าพฤติกรรมของบัญชีม้านั้นต่างจากบัญชีปกติอย่างเห็นได้ชัด โดยบัญชีเหล่านี้มักใช้งานผ่านหลายอุปกรณ์สื่อสาร ซึ่งมากกว่าบัญชีปกติ 2.3 เท่า ทั้งยังมีการลงชื่อเข้าใช้จากหลายสถานที่มากกว่าบัญชีปกติ 3 เท่า และใช้งานบัญชีระหว่างคุยโทรศัพท์มากกว่าถึง 34 เท่าเลยทีเดียว บัญชีม้าส่วนใหญ่จะมีลักษณะเด่นคือ มีการทำธุรกรรมแบบฉับพลันในเวลาอันรวดเร็ว ในขณะที่ “บัญชีม้าแอบแฝง” จะหลับใหลเงียบเชียบเป็นเดือน ๆ ก่อนจะตื่นขึ้นมาทำธุรกรรมจำนวนมากแบบกะทันหัน
- สายสืบดิจิทัล: เชื่อมต่อจิ๊กซอว์ด้วยการวิเคราะห์เครือข่ายและการสร้างโมเดลตรวจจับการทุจริต
ระบบป้องกันด่านที่สี่จะช่วยปะติดปะต่อความเชื่อมโยงระหว่างบัญชีที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกัน และสามารถตรวจจับแก๊งมิจฉาชีพที่ใช้บัญชีหลายบัญชีบนอุปกรณ์เดียวกันผ่าน GPS ตำแหน่งเดียวกัน หรือ IP Address เดียวกันได้
เทคโนโลยีวิเคราะห์เครือข่ายของ WeLab ในอินโดนีเซีย เคยเปิดโปงแก๊งมิจฉาชีพที่อาศัยช่องโหว่ในโปรโมชั่นเพื่อนชวนเพื่อน โดยระบบสามารถตรวจจับสิ่งผิดปกติได้จากการเปิดบัญชีหลายบัญชี การใช้อุปกรณ์สื่อสารแบบเดียวกัน และการใช้ฉากหลังเซลฟี่ที่มีลักษณะเป็นหมู่บ้านชนบทที่คล้าย ๆ กัน
บัญชีที่มีลักษณะความเชื่อมโยงที่น่าสงสัยเหล่านี้จะถูกระบบจัดไว้ในกลุ่มเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกใช้เป็นบัญชีม้าสำหรับฟอกเงินหรือกิจกรรมผิดกฎหมายอื่น ๆ เช่น การพนันออนไลน์
- แนวร่วมต่อกรทุจริต: เครือข่ายสืบสวนและแบ่งปันข้อมูลข่าวกรอง
ประเทศไทยกำลังเสริมแกร่งด้านความปลอดภัยดิจิทัล โดยรัฐบาลได้ออก พ.ร.ก. ป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์ที่กำหนด “ความรับผิดชอบร่วม” ให้แก่ธนาคาร บริษัทโทรคมนาคม และแพลตฟอร์มออนไลน์ในด้านอาชญากรรมไซเบอร์
การกำหนดกรอบความร่วมมือนี้ช่วยสร้างเครือข่ายป้องกันภัยมิจฉาชีพออนไลน์ที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น และแก้ไขจุดอ่อนสำคัญที่เหล่ามิจฉาชีพเคยใช้ประโยชน์จากระบบการเงินไทยมาอย่างยาวนาน ในขณะเดียวกัน การแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่าง กลุ่ม Lightnet-WeLab กับภาคเอกชน และกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ก็เป็นหนึ่งในความริเริ่มสำคัญเพื่อเสริมสร้างแนวร่วมในการต่อกรกับมิจฉาชีพ
3 วิธีเซฟตัวเองจากภัยมิจฉาชีพออนไลน์
แม้ในปัจจุบันเทคโนโลยีสมัยใหม่จะช่วยปกป้องเงินของเราได้มากขึ้น แต่ตัวเราเองก็สามารถป้องกันและเป็นหูเป็นตา เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้เช่นกัน:
- ปกป้องข้อมูลธนาคารและจับสัญญาณอันตราย: อย่าให้คนอื่นใช้บัญชีของคุณเด็ดขาด และระวังการถูกขอให้แชร์ข้อมูลธนาคาร บัตร ATM รหัส OTP หรือรหัส PIN มิจฉาชีพสมัยนี้มักใช้เทคนิคต่าง ๆ เพื่อที่จะเข้าควบคุมบัญชีธนาคารของคุณ แก๊งมิจฉาชีพมักหาเหยื่อจากกลุ่มเปราะบางในสังคม โดยหลอกล่อผ่านข้อเสนอให้ทำประกัน บริการคืนภาษี หรือโปรโมชั่น “รวยทางลัด” ต่าง ๆ เพื่อขอข้อมูลบัญชีจากคุณ
- ตรวจสอบให้แน่ใจก่อนเชื่อข้อเสนอที่ดีเกินจริง: มิจฉาชีพมักอำพรางตัวในคราบเจ้าหน้าที่รัฐ หรือเสนอดีลที่น่าตื่นตาตื่นใจเกินปกติ ผู้ที่ได้รับข้อเสนอเหล่านี้ควรตั้งสติ และใช้เวลาตรวจสอบรายละเอียดของข้อเสนอเหล่านี้อย่างละเอียดก่อนแชร์ข้อมูลส่วนตัวออกไป อย่าลืมว่า การให้ข้อมูลส่วนบุคคลของเรากับมิจฉาชีอาจนำไปสู่ผลร้ายแรง เช่น การถูกฮุบบัญชีหรือการถูกใช้เป็นบัญชีม้าโดยไม่รู้ตัว
- รายงานกิจกรรมที่น่าสงสัยทันที: หากคุณพบเจอการกระทำผิดกฎหมาย ให้บันทึกรายละเอียดที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเกี่ยวกับการหลอกลวง ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ วันที่ วิธีการติดต่อ หรือเอกสารที่ได้รับ และติดต่อสายด่วนฉุกเฉินของธนาคารเพื่ออายัดบัญชีที่อาจถูกคุกคามสำหรับการแจ้งความอาชญากรรมทางการเงิน คุณสามารถแจ้งความออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (https://thaipoliceonline.com) หรือโทรแจ้งเหตุที่เบอร์ 1599 การแจ้งเหตุที่ทันท่วงทีสามารถตัดไฟแต่ต้นลมไม่ให้ความเสียหายลุกลามบานปลาย
ในขณะที่ประเทศไทยกำลังเร่งเสริมสร้างความปลอดภัยทางไซเบอร์เพื่อรับมือกับภัยคุกคามทางการเงินแบบใหม่ ทั้งด้านกฎหมาย และ การพัฒนาแนวทางการป้องกันขั้นสูง เพื่อยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภคให้ดียิ่งขึ้น ธนาคารดิจิทัล เช่น Virtual Bank ของกลุ่ม Lightnet-WeLab (หากได้รับใบอนุญาตเพื่อให้บริการในประเทศไทย) จะมีบทบาทอย่างมากในการสร้างระบบการเงินที่ปลอดภัยและมีความน่าเชื่อถือ ด้วยป้อมปราการดิจิทัลหลายชั้นที่พร้อมป้องกันและปรับตัวต่อกลโกงรูปแบบใหม่
การแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างกลุ่ม Lightnet-WeLab และ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB)
…………………………………….
เกี่ยวกับ Lightnet
Lightnet Group ซึ่งเป็นบริษัทฟินเทคระดับโลกจากประเทศไทย ได้มุ่งมั่นที่จะใช้เทคโนโลยีในการส่งเสริมการเข้าถึงและส่งเสริมประสิทธิภาพบริการด้านการเงิน เพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมทางการเงินระดับโลกในอนาคต ภายหลังจากที่ได้รับใบอนุญาตที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารกลางอีก 4 แห่งในเอเชียและยุโรป Lightnet Group ได้ดำเนินธุรกรรมการเงินให้กับลูกค้ารวมมูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3.6 แสนล้านบาท) บาทต่อปี รวมทั้งนำเสนอโซลูชั่นบริการการชำระเงินหลากหลายรูปแบบในกว่า 150 ประเทศทั่วโลก Lightnet Group ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันลงทุนผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียง เช่น UOB Venture Management, Seven Bank, Hanwha Investment & Securities, Uni-President และ Raffles Family Office
Lightnet Group ผสานความรู้ความเข้าใจตลาดท้องถิ่นเข้ากับประสบการณ์ความเชี่ยวชาญระดับโลก Lightnet ก่อตั้งโดยนายชัชวาลย์ เจียรวนนท์ ซึ่งเป็นผู้นำองค์กรแถวหน้าอย่าง บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ และ ฟินันเซีย ไซรัส ได้นำเอาประสบการณ์ความรู้ในแวดวงการเงินกว่า 30 ปี ซึ่งรวมถึงการเข้าซื้อกิจการต่างประเทศอย่างนิตยสาร Fortune
เกี่ยวกับ WeLab
WeLab คือแพลตฟอร์มฟินเทคชั้นนำของเอเชีย ให้บริการธนาคารดิจิทัลสองแห่ง รวมถึงนำเสนอบริการทางการเงินออนไลน์ที่หลากหลาย เป็นแพลตฟอร์มชั้นนำในฮ่องกง จีน และอินโดนีเซีย ให้บริการแก่ลูกค้าบุคคลมากกว่า 70 ล้านรายและลูกค้าองค์กรกว่า 700 ราย ด้วยเทคโนโลยีที่เข้ามาพลิกโฉมแวดวงการเงินและช่วยประเมินคะแนนเครดิตให้กับลูกค้า ประหยัดค่าใช้จ่าย และสร้างประสบการณ์ในการใช้งานที่ดี
ด้วยเทคโนโลยีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ WeLab เป็นเจ้าของสิทธิบัตร เทคนิคการประมวลผลด้านความเป็นส่วนตัว และศักยภาพเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ล้ำสมัย WeLab นำเสนอโซลูชั่นบริการดิจิทัลแบงก์กิ้งสำหรับลูกค้าบุคคล และโซลูชั่นเทคโนโลยีสำหรับลูกค้าองค์กร
WeLab ดำเนินธุรกิจใน 3 ประเทศภายใต้แบรนด์ชั้นนำ ได้แก่ WeLend และ WeLab Bank ในฮ่องกง และ Bank Saqu ในอินโดนีเซีย รวมถึงอีกหลากหลายธุรกิจทางการเงินในจีน
WeLab ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการลงทุนที่มีชื่อเสียง อาทิ Allianz, China Construction
Social Links