ปัญหาสิ่งแวดล้อมครั้งใหญ่/ครั้งใหม่โลก อาจมาจากดาวเทียมที่เผาไหม้ในอวกาศ 

ปัญหาสิ่งแวดล้อมครั้งใหญ่/ครั้งใหม่โลก อาจมาจากดาวเทียมที่เผาไหม้ในอวกาศ 

ปัญหาสิ่งแวดล้อมครั้งใหญ่/ครั้งใหม่โลก

อาจมาจากดาวเทียมที่เผาไหม้ในอวกาศ 

สุทธิชัย ทักษนันต์

มลพิษจากอวกาศ อาจเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมครั้งใหญ่ที่กำลังจะมีตามมา

จากดาวเทียม 1,000 ดวงเมื่อ 15 ปีก่อน วันนี้มีมากถึง 10,000 ดวง และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 10 เท่าภายในสิ้นทศวรรษนี้!

เพื่อลดขยะอวกาศ บริษัทผู้ผลิตดาวเทียมจึงส่งยานกลับมาเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศโลก แต่นักวิทยาศาสตร์เริ่มกังวลถึงผลกระทบระยะยาว:

  • เถ้าจากดาวเทียมมีสารที่ทำลายโอโซน
  • อะลูมินาที่เกิดจากการเผาไหม้อะลูมิเนียมสะท้อนแสงอาทิตย์ ส่งผลต่ออุณหภูมิชั้นบรรยากาศ
  • คลื่นช็อกจากความเร็วสูงทำให้ไนโตรเจนทำปฏิกิริยากับออกซิเจน สร้างไนโตรเจนออกไซด์ที่ทำลายโอโซน

ปี 2019 มีดาวเทียม 115 ดวงเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศ แต่ปี 2024 ตัวเลขพุ่งสูงถึง 950 ดวง! คาดว่าภายในปี 2033 จะมีขยะอวกาศเผาไหม้ถึง 4,000 ตันต่อปี

ปัจจุบันผลกระทบต่อการทำลายชั้นโอโซนอยู่ที่ 0.1% แต่นักวิจัยเตือนว่าอาจเกิดผลกระทบระยะยาวเหมือนกรณี CFC ที่ใช้เวลา 40 ปีกว่าจะพบว่าทำลายชั้นโอโซน

กิจกรรมมนุษย์ในอวกาศใหญ่พอที่จะส่งผลต่อสภาพแวดล้อมแล้ว เหมือนที่เราทำกับมหาสมุทร ปัญหาคือเรากำลังเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ โดยไม่เข้าใจจริงๆ ว่าการเปลี่ยนแปลงจะน่ากังวลเมื่อไหร่” – Jonathan McDowell นักดาราศาสตร์จาก Harvard-Smithsonian

แนวทางการจัดการกับปัญหาจากผู้ทำการวิจัย คือ

-การตัดสินใจเชิงนโยบาย: Connor Barker นักวิจัยได้กล่าวว่า สังคมต้องตัดสินใจว่าจะให้ความสำคัญกับอะไรมากกว่าระหว่าง “การลดการจราจรในอวกาศ” และ “การลดการปล่อยมลพิษ”

-การศึกษาวิจัยเพิ่มเติม: มีการทำแคมเปญสังเกตการณ์การกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของดาวเทียม Cluster Salsa เพื่อเก็บข้อมูลทางวิทยาศาสตร์

นักวิจัยกำลังพยายามทำความเข้าใจผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการปล่อยมลพิษเหล่านี้ เพื่อหาแนวทางที่ดีที่สุดในการจัดการกับวัตถุในอวกาศ

ขยะอวกาศที่เคยได้เห็นในหนังวิทยาศาสตร์โลกอนาคตหลายเรื่อง วันนี้เป็นเรื่องจริงแล้ว และเป็นความท้าทายใหม่ที่ยังต้องการการศึกษา และหาแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมต่อไป…

You may also like

“อลงกรณ์”หนุน”พีระพันธุ์”ขจัดผูกขาดพลังงาน ”คุณไม่ได้เดินเดียวดายคนเดียว” You will never walk alone

“อลงกรณ์