ผลสำรวจผู้บริหารโลจิสติกส์ของอจิลิตี้เผย
เศรษฐกิจโลกจะเติบโต ผ่านพ้นภาวะยุ่งเหยิงด้านซัพพลายเชนไปได้
…………………………………………………….
เหล่าผู้บริหารมีมุมมองบวกเกี่ยวกับปี 2565 แม้โรคระบาดได้นำไปสู่ภาวะชะงักงันและอัตราค่าระวางระดับสูงเป็นประวัติการณ์
………………………………………………….
ผู้บริหารในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวในระดับปานกลางไปจนถึงแข็งแกร่งและแทบจะไม่มีโอกาสเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี 2565 แม้ปัญหาด้านซัพพลายเชนและอัตราค่าระวางเรือและเครื่องบินระดับสูงจากผลพวงของการระบาดของโรคโควิด-19 จะยังไม่คลี่คลายลงในทันที
ซึ่งผู้บริหารประมาณ 2 ใน 3 จากทั้งหมด 756 คนในผลสำรวจดัชนีโลจิสติกส์ในตลาดเกิดใหม่ของอจิลิตี้ (Agility) ประจำปี 2565 เชื่อว่า บรรดาบริษัทขนส่งสินค้าจะเห็นอัตราค่าขนส่งสินค้าลดลงภายในสิ้นปีนี้ โดย 80% คาดการณ์ว่าปัญหาคอขวดบริเวณท่าขนส่ง การขาดแคลนด้านขีดความสามารถทางอากาศ และปัญหาเกี่ยวกับการขนส่งด้วยรถบรรทุกจะคลี่คลายลงภายในสิ้นปีนี้
"มุมมองบวกของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์สะท้อนข้อเท็จจริงว่า ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่มีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้นและค้นพบวิธีการเอาตัวรอดจากภาวะชะงักงันด้านห่วงโซ่อุปทาน" คุณทาเรค สุลต่าน (Tarek Sultan) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทอจิลิตี้ กล่าว "หากตลาดเกิดใหม่เข้าถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้ดียิ่งขึ้นและมีการส่งเสริมธุรกิจรายย่อยเล็กน้อย ก็จะช่วยหนุนนำการฟื้นตัวโลกอย่างเป็นวงกว้างและต่อเนื่อง"
ผลสำรวจชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของดัชนีโลจิสติกส์ตลาดเกิดใหม่ของอจิลิตี้ประจำปี 2565 ซึ่งเป็นการสรุปทัศนะอุตสาหกรรมและจัดอันดับตลาดเกิดใหม่ชั้นนำ 50 แห่งของโลกประจำปีครั้งที่ 13 ของอจิลิตี้ ดัชนีดังกล่าวจัดอันดับประเทศต่าง ๆ ในด้านความสามารถในการแข่งขันโดยรวม อิงจากความแข็งแกร่งด้านโลจิสติกส์ สิ่งแวดล้อมทางธุรกิจ และเป็นครั้งแรกที่นำเรื่องความพร้อมด้านดิจิทัลเข้ามาใช้เป็นเกณฑ์ด้วย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทำให้ดึงดูดบริษัทโลจิสติกส์ บริษัทขนส่งระหว่างประเทศ สายการบินและสายเรือ ผู้กระจายสินค้าและนักลงทุนได้
จีนและอินเดีย ซึ่งเป็น 2 ประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก รั้งอันดับ 1 และ 2 ในการจัดอันดับโดยรวม ขณะที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) มาเลเซีย อินโดนีเซีย ซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ ไทย เม็กซิโก และตุรกีติด 10 อันดับแรก ส่วนเวียดนาม ซึ่งรั้งอันดับ 8 ในปี 2564 หล่นไปอยู่อันดับ 11 ซึ่งสลับกับไทย ด้านแอฟริกาใต้ติดอันดับ 24 ซึ่งสูงสุดในกลุ่มประเทศแอฟริกาทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา
เหล่าประเทศอ่าวอาหรับทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมอีกครั้งในด้านความมิตรต่อธุรกิจมากที่สุด โดยมีถึง 5 ประเทศที่ติด 6 อันดับแรก โดยประเทศที่ติด 10 อันดับแรกในด้านปัจจัยพื้นฐานทางธุรกิจได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มาเลเซีย ซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ บาห์เรน โอมาน ชิลี จีน โมร็อกโก และจอร์แดน ส่วนคูเวต ซึ่งเป็นอีกประเทศในอ่าวอาหรับ รั้งอันดับ 12
จีน อินเดีย และเม็กซิโก ซึ่งเป็นมหาอำนาจด้านการส่งออก ติด 3 อันดับแรกในด้านโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ โดยจีน อินเดีย และอินโดนีเซียครองหัวกระดานในด้านโลจิสติกส์ภายในประเทศ
เป็นครั้งแรกที่ดัชนีโลจิสติกส์ของอจิลิตี้วัดความพร้อมด้านดิจิทัลของประเทศต่าง ๆ โดยประกอบด้วยทักษะดิจิทัล การฝึกฝน การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต การเติบโตด้านอีคอมเมิร์ซ สิ่งแวดล้อมด้านการลงทุน และความสามารถในการส่งเสริมสตาร์ทอัพ ตลอดจนปัจจัยด้านความยั่งยืนต่าง ๆ เช่น การผสมผสานพลังงานหมุนเวียน การลดความเข้มข้นในการปล่อยมลพิษ และความริเริ่มด้านสิ่งแวดล้อม
ประเทศที่มีความพร้อมด้านดิจิทัลมากที่สุด ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มาเลเซีย จีน ซาอุดีอาระเบีย อินเดีย ไทย กาตาร์ อินโดนีเซีย ชิลี และฟิลิปปินส์ ส่วนประเทศที่มีความพร้อมด้านดิจิทัลมากที่สุดในแอฟริกาทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาราได้แก่ เคนยา ที่อันดับ 17
"การเชื่อมโยงระหว่างความสามารถด้านดิจิทัลและโอกาสด้านการเติบโตของประเทศหนึ่งถือเป็นสิ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้" คุณสุลต่านกล่าว "ความสามารถในการแข่งขันของประเทศตลาดเกิดใหม่จะพิจารณาจากความสามารถในการพัฒนาธุรกิจที่ใช้ทักษะด้านดิจิทัลและกลุ่มคนมีความสามารถ รวมถึงการแสวงหาวิธีลดการปล่อยมลพิษ ที่ช่วยส่งเสริมการเติบโต มิใช่การเสียสละในด้านการเติบโตเพื่อลดการปล่อยมลพิษ"
ความสำคัญของความพร้อมด้านดิจิทัลปรากฎเด่นชัดในการสำรวจ ผู้บริหารด้านโลจิสติกส์ระบุว่า การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ถือเป็นตัวขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและธุรกิจสำหรับตลาดเกิดใหม่ สิ่งที่บริษัทของพวกเขาให้ความสนใจหลัก ๆ ได้แก่ เทคโนโลยีและความยั่งยืน
ไฮไลท์ของดัชนีประจำปี 2565:
การจัดอันดับโดยรวมในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ: สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (3), ซาอุดีอาระเบีย (6), กาตาร์ (7), ตุรกี (10), โอมาน (14), บาห์เรน (15), คูเวต (17), จอร์แดน (19), โมร็อกโก (20), อียิปต์ (21), อิหร่าน (30), เลบานอน (35), ตูนิเซีย (36), แอลจีเรีย (37), ลิเบีย (50)
การจัดอันดับในกลุ่มประเทศเอเชีย: จีน (1), อินเดีย (2), มาเลเซีย (4), อินโดนีเซีย (5), ไทย (8), เวียดนาม (11), ฟิลิปปินส์ (18), คาซัคสถาน (22), ปากีสถาน (27), ศรีลังกา (33), บังกลาเทศ (39), กัมพูชา (40), เมียนมาร์ (49)
การจัดอันดับดัชนีโดยรวมในกลุ่มประเทศละตินอเมริกา: เม็กซิโก (9), ชิลี (12), บราซิล (16), อุรุกวัย (23), โคลอมเบีย (25), เปรู (26), อาร์เจนตินา (31), เอกวาดอร์ (38), ปารากวัย (41), โบลิเวีย (44), เวเนซุเอลา (48)
การจัดอันดับดัชนีสำหรับกลุ่มประเทศแอฟริกาทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา: แอฟริกาใต้ (24), เคนยา (28), กานา (32), ไนจีเรีย (34), แทนซาเนีย (42), ยูกันดา (43), เอธิโอเปีย (45), โมซัมบิก (46), แองโกลา (47)
ทรานสปอร์ต อินเทลลิเจนซ์ (Transport Intelligence หรือ Ti) บริษัทวิเคราะห์และวิจัยชั้นนำสำหรับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ เป็นผู้จัดทำดัชนีดังกล่าว
จอห์น แมนเนอร์ส-เบลล์ (John Manners-Bell) ประธานบริหารของทรานสปอร์ต อินเทลลิเจนซ์ กล่าวว่า "การที่ตลาดเกิดใหม่ฟื้นตัวได้อย่างเร็วจากวิกฤตในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานั้น อาศัยความรวดเร็วในการดำเนินการฉีดวัคซีน ตลอดจนมุมมองการเป็นหนึ่งเดียวกันทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ขณะเดียวกัน จำเป็นต้องนำความเชื่อมโยงที่เชื่อมเศรษฐกิจเหล่านี้กับตลาดตะวันตกกลับมาอีกครั้ง หากผู้ขนส่งสินค้าต้องการผนวกกลับเข้าสู่ระบบการค้าทั่วโลก การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หมายถึงการจัดส่งที่มีราคาแพงขึ้น ซับซ้อน และช้าลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง การพลิกโฉมทางดิจิทัลจะมีบทบาทสำคัญต่อการเอื้อความสะดวกสำหรับการเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนที่ราบรื่น แต่ในระยะยาว ตลาดเกิดใหม่จะได้รับประโยชน์จากโลกาภิวัตน์ ก็ต่อเมื่อห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ยืดหยุ่นได้มากขึ้นเมื่อเผชิญกับวิกฤตในอนาคต"
ดูดัชนีผลสำรวจโลจิสติกส์ในตลาดเกิดใหม่ประจำปี 2565 ของอจิลิตี้ได้ที่ www.agility.com/2022index
………………………………………
เกี่ยวกับอจิลิตี้
อจิลิตี้ (Agility) เป็นบริษัทซัพพลายเชนระดับโลก และเป็นผู้นำและผู้ลงทุนในเทคโนโลยีเพื่อยกระดับประสิทธิภาพของซัพพลายเชนและความยั่งยืน บริษัทเป็นผู้บุกเบิกในตลาดเกิดใหม่ รวมทั้งเป็นหนึ่งในบริษัทเอกชนรายใหญ่ที่สุดที่เป็นเจ้าของและผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมเบาและคลังสินค้าในตะวันออกกลาง แอฟริกา และเอเชีย บริษัทในเครือของอจิลิตี้ ส่งมอบบริการสนามบิน การสนับสนุนด้านอีคอมเมิร์ซ ดิจิทัลโลจิสติกส์ ระบบศุลกากรดิจิทัล บริการโครงสร้างพื้นฐานทางไกล บริการขนส่งเชื้อเพลิง และการจัดการอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์และสถานประกอบการ
Social Links