พม.จับมือ ม.มหิดล นำดนตรีบำบัด พัฒนาสุขภาวะผู้สูงวัย​

พม.จับมือ ม.มหิดล นำดนตรีบำบัด พัฒนาสุขภาวะผู้สูงวัย​

พม.จับมือ ม.มหิดล นำดนตรีบำบัด

พัฒนาสุขภาวะผู้สูงวัย​

   นายอุดม​ โปร่งฟ้า ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานงานดนตรีบำบัดสำหรับการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงวัย Music​ Therapy for the Elderly​  โดยมี นายอนันต์ ดนตรี​ รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าววัตถุประสงค์​การจัดงาน​ พร้อมด้วย​ นางอภิญญา​ เอี่ยมอำภา​ รองผู้ว่าราชการ​ จังหวัดสุพรรณบุรี นางพรนิภา มาสิลีรังสี รองอธิบดีกรมกิจการ​ผู้สูงอายุ​ นายณรงค์​ ปรางค์​เจริญ​ คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์​  และคณะจากมหาวิทยาลัยมหิดล​ ผู้บริหาร​กระทรวง​ พม. ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ​ ภาคเอกชน​ ภาคประชาสังคม และผู้สูงอายุ​ในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี​  เข้าร่วมงาน ณ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก​จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

นายอุดม​​​ กล่าวว่า​ การจัดงานดนตรีบำบัดสำหรับการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงวัย Music Therapy for the Elderly ในวันนี้​ เกิดจากความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการพัฒนาด้านดนตรีบำบัดสำหรับประชาชนคนช่วงวัย ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล​ กับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดตัวกิจกรรมด้านดนตรีบำบัดสำหรับการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงวัย เพื่อการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านดนตรีบำบัดให้กับกลุ่มผู้สูงอายุและประชาชนทุกช่วงวัย และส่งมอบกิจกรรมด้านดนตรีบำบัดในการเป็นเครื่องมือในการศึกษาและขยายผลให้กับกลุ่มเป้าหมาย โรงเรียนผู้สูงอายุ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) และ ประชาชนทุกช่วงวัย ซึ่งจังหวัดแรกที่จัดกิจกรรมคือ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยจะจัดใน 10 อำเภอ  จากนั้นจะขยายผลไปจังหวัดนครปฐม จังหวัดอยุธยา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นพื้นที่จังหวัดนำร่อง

นายอุดม​ กล่าวเพิ่มเติมว่า​ ​กิจกรรมดนตรีบำบัดสำหรับการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงวัย Music Therapy for the Elderly นับเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มเป้าหมายของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งตอบสนองและสอดคล้องกับข้อเสนอเชิงนโยบายวิกฤตประชากร ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ท่านวราวุธ ศิลปอาชา) ประกอบด้วย 5 ข้อเสนอ ข้อเสนอละ 5 มาตรการ โดยมีความเชื่อมโยงและเกี่ยวข้องในประเด็นข้อเสนอที่ 3 สร้างพลังผู้สูงอายุ ผ่อนหนักให้เป็นเบา พลิกวิกฤตทางประชากรให้เป็นโอกาส และมีมาตรการสำคัญเร่งด่วน คือ การมุ่งการป้องกันโรคมากกว่ารักษาโรคเสริมการมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุ

นายอุดม​ กล่าวต่อไปว่า​ ดนตรีบำบัด (Music Therapy) สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการบำบัดทั้งทางกายภาพและทางจิตใจ​ สำหรับทางกายภาพ​  คือ การเคลื่อนไหวตามจังหวะ ดนตรี การเล่นเครื่องดนตรี หรือการร้องเพลง เป็นการตอบสนองของร่างกายที่ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ถูกกระตุ้น เช่น อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น​ ทำให้มีการสูบฉีดเลือดดีขึ้น ดนตรีบำบัดจึงสามารถช่วยฟื้นฟูอาการ ของโรคต่าง ๆ ได้ และการใช้ดนตรีบำบัดทางจิตใจ คือ การฟัง จะทำให้สภาวะทางอารมณ์ดีขึ้น เสียงของดนตรีบำบัดสามารถทำให้รู้สึกผ่อนคลาย มีประสิทธิภาพราวกับการทำสมาธิ ซึ่งสามารถช่วยฟื้นฟูโรคสมาธิสั้น (ADHD) และยังกระตุ้นการทำงานของสมองให้หลั่งสารเอ็นโดนฟิน (Endorphin) ที่ทำให้มีความสุข ช่วยลดความวิตกกังวล ความเครียดได้อีกด้วย

ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยมหิดล  สำหรับความร่วมมือและให้ความสำคัญในการใช้ดนตรีบำบัดในกลุ่มผู้สูงอายุและประชาชนทุกช่วงวัย ซึ่งดนตรีบำบัดเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างยิ่ง​ ในการช่วยส่งเสริมการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม สำหรับประชาชนทุกช่วงวัย

You may also like

คปภ.เดินหน้า! เปิดเวทีสัมมนาวิชาการด้านประกันภัย ประจำปี 2567 “Thailand Insurance Symposium 2024”

 นายชูฉั