มองการเมือง+เศรษฐกิจโลก
แล้วย้อนมาดู “ไทย” ในปีหน้า (1)
แผนยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศของ “ชาติมหาอำนาจ” ไม่ว่าจะเป็นยุทธศาสตร์ทางการทหาร ยุทธศาสตร์ทางการเมือง และยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ มักจะหล่อหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน แม้จะแยกกันเดิน…ในบางครั้ง ทว่าปลายสุดท้าย มักจะไหลไปรวมกันที่ “ผลประโยชน์” ของชาติตัวเองเป็นสำคัญ
จากบันทึกหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลายครั้งที่พบว่า…เบื้องหลังของสงคราม ทั้งทางด้านการทหาร ด้านการเมือง และ/หรือ ด้านเศรษฐกิจ มักจะมีความเชื่อและความศรัทธาคอย “บงการ” อยู่เบื้องหลัง
ไม่แปลก! หากทีมข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าว ThaiBCC.news จะย้ำอีกครั้งว่า…ศาสนาและการเมือง หลายครั้งที่เป็นเรื่องเดียวกัน
ตราบใดที่ประเทศไทย…ยังคงเป็นหนึ่งในแผนภูมิ “ภูมิศาสตร์ทางการทหาร” (ฟากฝั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ที่สำคัญจุดหนึ่งของโลก แน่นอนว่า…รัฐบาลไทยย่อมต้องถูกจับจ้อง เกาะติด และกดดันจากมหาอำนาจเหล่านั้น ดังนั้น การที่รัฐบาลไทย…ขยับขับเคลื่อนตัวในเวทีโลกไปในทิศทางใด
ย่อมส่งผลกระทบต่อทั้ง…ประเทศไทย รัฐบาลไทย ธุรกิจไทย และคนไทย อย่างยากจะหลีกเลี่ยงได้เช่นกัน
การแสดงความไม่เห็นด้วยกับนโยบายด้านการประเทศของทางการสหรัฐฯ กรณีรัฐบาลไทย โดยกระทรวงการต่างประเทศ ลงคะแนนในที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ร่วมกับอีก 127 ประเทศ สนับสนุนร่างมติเรียกร้องให้สหรัฐอเมริกา เพิกถอนการรับรองนครเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล ก่อนหน้านี้
สร้างความเดือดดาลใจต่อรัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ อย่างมาก
ทั้งที่ความเป็นจริง ประเทศเล็กๆ แต่อยู่ในจุดยุทธศาสตร์ทางด้าน “ภูมิศาสตร์ทางการทหาร” ที่สำคัญของโลก อย่างประเทศไทย ควรจะวางตัวเป็นกลางในเรื่องนี้ ด้วยการ “งดออกเสียง (Abstention)” เหมือนกับอีก 35 ประเทศ ซึ่งมี แคนาดา และเม็กซิโก ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีพรมแดนติดกับสหรัฐฯ รวมอยู่ด้วย
นั่นเพราะว่า…รัฐบาลไทย ภายใต้การนำของ คสช. ถูกกดดันและชี้นำจากกลุ่มศาสนาที่เปิดหน้าต่อต้านการที่รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศสนับสนุนและให้การรับรองนครเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล
ถึงได้ย้ำว่า…การเมืองกับศาสนา บางครั้งก็เป็นเรื่องเดียวกันที่ยากจะแยกออกจากกัน
หลายคนอาจมีคำถามทำนอง…กลุ่มก้อนของคนที่นับถือศาสนาอิสลามเพียง 60 กว่าคนใน สนช.ทั้งหมด 250 คน จะไปมีอิทธิพลอะไรเหนือ สนช.และรัฐบาล คสช.?
คำตอบของคำถามนี้ ก็คือ ปรากฏการณ์ที่รัฐบาลไทย ได้ประกาศให้ชาวโลกรับรู้ ถึงจุดยืนที่ว่า…ประเทศไทยจะยืนเคียงข้าง…มติสหประชาชาติที่ต้องการให้สหรัฐอเมริกา เพิกถอนการรับรองนครเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล
จนกลายเป็น “จุดเสี่ยง” ต่อการพุ่งเป้าโจมตีจากฝ่ายที่สูญเสียผลประโยชน์
ทั้งที่ความเป็นจริง…รัฐบาล คสช. น่าจะวางตัวเป็นกลางในเรื่องนี้ ด้วยการ “งดออกเสียง” อย่างที่เกริ่นในตอนต้น
ทีมข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าว ThaiBCC.news ไม่รู้สึกหวาดหวั่นกับคำขู่การจะตัดความช่วยเหลือด้านการเงินกับประเทศที่สนับสนุนร่างมติดังกล่าว ของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งประกาศว่า…
“พวกเขาเอาเงินไปเป็นร้อยล้านพันล้าน จากนั้นก็ลงคะแนนต่อต้านเรา…ให้เขาลงคะแนนต่อต้านเราไปเลย เราจะประหยัดเงินได้อีกมาก เราไม่ใส่ใจ”
หรือแม้แต่ประโยคคำพูดของ นางนิกกี เฮลีย์ ทุตสหรัฐฯ ประจำยูเอ็น ที่ระบุว่า “สหรัฐฯ จะจดจำวันนี้ ซึ่งสหรัฐฯ ถูกโจมตีเพียงประเทศเดียวในที่ประชุมสมัชชาใหญ่ จากการใช้สิทธิ์ที่รัฐเอกราชพึงมี”
จุดยืนของสหรัฐฯ หลังจากนี้ ต่อกลุ่มประเทศที่ต่อต้านพวกเขา คือ จดจำและตัดความช่วยเหลือในทุกๆ ด้านที่เคยมี
สำหรับประเทศไทย ก่อนหน้าจะมีการทำรัฐประหาร 22 พ.ค.57 ทางการสหรัฐฯ เคยให้ความช่วยเหลือทางด้านการทหารและความมั่นคงแก่รัฐบาลไทย ราว 10.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 343 ล้านบาทต่อปี โดยในทุกๆ ปี ก็จะร่วมทำการฝึกซ้อมทางทหารร่วมกัน ภายใต้รหัส “คอบร้าโกลด์” ในประเทศไทย
แต่หลังจากมีรัฐบาล คสช. ทางการสหรัฐฯ ได้ตัดความช่วยเหลือในส่วนนี้ออกไป เหลือเพียงปีละ 4.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 153 ล้านบาทต่อปีแทน
ไม่เพียงตัดงบช่วยเหลือทางด้านการทหารและความมั่นคง รัฐบาลสหรัฐฯ ยังจะเรียกร้องให้ประเทศไทยหวนกลับคืนสู่วิถีทางแห่งประชาธิปไตยโดยเร็วอีกด้วย
อย่างที่บอก…เราไม่ได้เป็นห่วงเรื่องที่ทางการสหรัฐฯ จะตัดความช่วยเหลือด้านงบประมาณทางการทหารและความมั่นคง เพราะเงินในส่วนนี้…แทบไม่มีผลกระทบเชิงบวกใดๆ ต่อระบบเศรษฐกิจไทย
ครั้น ทางการสหรัฐฯ จะไม่สานต่อความสัมพันธ์ทางการทูตในระดับปกติ รวมถึงยังจะคงมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัฐบาล คสช.ต่อไป สิ่งเหล่านี้…ก็ไม่ได้ทำระบบเศรษฐกิจของไทย ดีขึ้นกว่าช่วงหลังมีการทำรัฐบาลเมื่อปี 57
แต่สิ่งที่ ทีมข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าว ThaiBCC.news ห่วงมากกว่านั้น คือ….
(อ่านต่อ…ตอนที่ 2)
ทีมข่าวเศรษฐกิจ
สำนักข่าว ThaiBCC.news
Social Links